Rotterdam Convention

ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ร่วมประชุมเตรียมงานระดับนานาชาติ “รอตเตอร์ดัม คอนเวนชั่น” ค้านนำแร่ใยหินไครโซไทล์เข้ากรอบสินค้าถูกควบคุม

 

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ นำโดยนายเมธี อุทโยภาส ได้มีโอกาสเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม workshop ก่อนการประชุม Rotterdam Convention ครั้งที่ 7 เพื่อรับฟังทิศทางการกำหนดกรอบแร่ใยหินไครโซ-ไทล์ในเวทีระดับโลก พร้อมเสนอความคิดเห็น แร่ใยหินไครโซไทล์ไม่ใช่ประเภทสารเคมีอันตรายที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญา รอตเตอร์ดัม หากต้องควบคุมการใช้ ควรนำข้อเท็จจริงมาหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในขณะที่กรมควบคุมมลพิษย้ำ หลักฐานความเป็นอันตรายของแร่ใยหินไครโซไทล์ไม่ชัดเจนเพียงพอ ล่าสุด…ผลสรุปจากการประชุม Rotterdam Convention ครั้งที่ 7 ในที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบให้นำไครโซไทล์เข้าไปอยู่ในภาคผนวก 3 Rotterdam Convention เนื่องจากหลักฐานความเป็นอันตรายไม่เพียงพอ ประกอบกับผลสรุปจากการประชุมในทุกครั้งๆ ที่ผ่านมาไม่ได้รับฉันทามติ มีการคัดค้านจากประเทศภาคี อาทิ รัสเซีย คาซัคสถาน บราซิล อินเดีย และ ซิมบับเว เนื่องจากยังไม่มีสารทดแทนใดที่สามารถทดแทนในด้านคุณภาพและราคา และยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าสารที่นำมาทดแทนนั้นปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริง

 Rotterdam Convention

อนุสัญญารอตเตอร์ดัม คืออะไร?

อนุสัญญารอตเตอร์ดัม (Rotterdam Convention) ชื่อเต็มคือ “อนุสัญญารอตเตอร์ดัม ว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ” เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติ 1 ใน 3 ฉบับที่ประเทศไทยเข้าร่วมในภาคีตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมารัฐภาคีได้มีการประชุมร่วมกันถึง 6 ครั้ง เพื่อพยายามที่จะผลักดันให้แร่ใยหินไครโซไทล์ (Chrysotile asbestos) เข้าไปอยู่ในภาคผนวก 3 ภายใต้การควบคุมตามอนุสัญญารอตเตอร์ดัม สืบเนื่องจากข้อมูลที่ให้ไว้โดย WHO ได้ระบุว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็งที่ไม่มีระดับปลอดภัยในการสัมผัส จึงต้องการให้มีการเลิกใช้ เพื่อบังคับประเทศที่ใช้แร่ใยหินต้องปฏิบัติตามภายใต้เงื่อนไขของอนุสัญญาดังกล่าวหากมีการผลักดันสำเร็จ

 

อย่างไรก็ตาม หลักสำคัญของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม แม้จะไม่ได้มีการห้ามใช้ แต่ต้องมีการบริหารจัดการ และควบคุมการนำเข้า-ส่งออก โดยกำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกแจ้งล่วงหน้าต่อประเทศผู้ที่นำเข้าว่า สารเคมีนี้คือสารอะไร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีนี้คืออะไร ประเทศที่จะนำเข้าเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรับเข้ามาหรือไม่ จึงไม่ถือว่าการห้ามนำเข้าหรือส่งออกสารเคมีแต่เรียกว่าเป็น Prior Informed Consent ซึ่งหากประเทศนั้นๆ  ยอมรับให้มีการนำเข้าสารเคมีอันตราย อนุสัญญาดังกล่าวก็ได้กำหนดมาตรการส่งเสริมให้ใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย อาทิ การใช้ฉลากมาตรฐาน การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค เป็นต้น  สำนักงานเลขาธิการอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ อยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง United Nations Environment Programme (UNEP) และ Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) กำหนดให้การประชุมรัฐภาคีของอนุสัญญาเป็นเวทีในการหาข้อตกลงร่วมกัน โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาทบทวนสารเคมี (Chemical Review Committee หรือ CRC) ซึ่งเป็นผู้แทนภูมิภาคต่างๆ ทั้ง 7 ภูมิภาค และคณะกรรมการ Compliance Committee เพื่อรองรับการดำเนินการตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ

 

สำหรับประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบและข้องเกี่ยวกับอนุสัญญาฉบับนี้อยู่ 4 หน่วยงาน ได้แก่

  • กรมควบคุมมลพิษ เป็นศูนย์ประสานงานและยังมีอีก 3 หน่วยงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายภายในประเทศด้วย คือ
    • กรมวิชาการเกษตร สำหรับสารเคมีอันตรายที่ใช้ในภาคการการเกษตร
    • กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับสารเคมีที่ใช้ในงานภาคอุตสาหกรรม
    • กระทรวงสาธารณสุข สำหรับสารเคมีบางประเภทที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ

 

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมศุลกากร  กรมองค์การระหว่างประเทศกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมการค้าต่างประเทศ กรมยุโรป การท่าเรือแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

บทสรุป

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า สารเคมีที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญาฯ ดังกล่าวนี้ ต้องเป็นสารเคมีชนิดอันตราย อาทิ สารเคมีป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ ในขณะที่แร่ใยหินไครโซไทล์ ไม่ใช่ แม้แต่ประเภทของสารเคมี การจัดกลุ่มควบคุมจึงดูจะผิดแปลกไปจากข้อกำหนดที่มีมาแต่เดิม และทำให้เกิดข้อสังเกตได้ว่า เหตุใดจึงมีความพยายามผลักดันให้แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ ซึ่งเป็นแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมสำคัญต่างๆ กลายมาเป็นสินค้าอันตรายต้องถูกควบคุมเชียวหรือ ?? ….ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือผลประโยชน์ทางการค้าใดก็ตาม ก็ดูจะไม่เป็นธรรมต่อแร่ใยหินไครโซไทล์เอาเสียเลย ทั้งที่ในประเทศไทยมีการใช้กันมากว่า 70 ปี ไม่เคยพบคนเสียชีวิตจากแร่ใยหินไครโซไทล์มาก่อน ยิ่งไปกว่านั้นจากข้อมูลของสหประชาชาติว่าด้วยการนำเข้า-ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมแร่ใยหิน ปีพ.ศ. 2556 พบว่า ประเทศที่ถูกอ้างว่ายกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์แล้วนั้น ยังมีตัวเลขการนำเข้าและมีการใช้กันแพร่หลายภายในประเทศ เพราะเป็นสินค้าที่มีความจำเป็น และมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม โดยเฉพาะนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ทนความร้อนสูงๆ ได้เป็นอย่างดี และยังไม่มีวัสดุใดที่มีคุณภาพเทียบเท่าหรือมาแทนที่แร่ใยหินไครโซไทล์ได้…ด้วยเหตุนี้นานาประเทศจึงคัดค้านและไม่ยอมให้แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ถูกบรรจุเข้าในภาคผนวก 3 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม อย่างไม่เป็นธรรม

 

*************************************************

Please follow and like us: