เหตุใดผลิตภัณฑ์จาก “แร่ใยหินไครโซไทล์” จึงใช้ได้อย่างปลอดภัย

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า แร่ใยหินเป็นชื่อสามัญสำหรับแร่ซิลิเกต มีชนิดที่แตกต่างกันถึง 6 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ เซอร์เพนทีน (ไครโซไทล์) และ แอมฟิโบล (คลอซิโดไลท์, อะโมไซท์, แอนโธฟิลไลท์, ทรีโมไลท์, และ แอคทิโนไลท์)

แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์มีเส้นใยที่ละเอียดอ่อน ยืดหยุ่น และแข็งแรงมาก สามารถพบได้ตามธรรมชาติเพราะเป็นชั้นหินที่อยู่บนพื้นผิวโลกของเรา สามารถละลายได้ในกรดไฮโดรคลอริก ทำให้ปลอดภัยในการนำมาใช้งานมากกว่า

แตกต่างจากแร่ใยหินแอมฟิโบลเป็นกลุ่มของไฮโดรซิลิเกตที่มีความซับซ้อนของแมกนีเซียม เหล็ก และแคลเซียม มีโครงสร้างของผลึกจับกันเป็นสายโซ่คู่ เป็นแท่งปริซึม เหมือนเข็ม ไม่มีความยืดหยุ่น ทนต่อการกัดกร่อนของกรด เมื่อมีการแตกตัวจะกลายเป็นเศษแหลม ๆ ก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันจึงได้มีการห้ามให้ใช้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ที่ตอนนี้จะใช้อยู่เพียงแค่ชนิดไครโซไทล์ที่สามรถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ และออกคำแนะนำให้ควบคุมความเข้มข้นของไครโซไทล์ที่ไม่เกิน 1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม.

บางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและไทย มีกฎหมายควบคุมความเข้มข้นของปริมาณใยหินอยู่ที่ไม่เกิน 0.1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ในสถานที่ที่คนงานต้องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง

ซึ่งจากการทดสอบการทำงานของคนงานก่อสร้างที่ต้องมีการสัมผัสกับแร่ไครโซไทล์พบว่า ปริมาณมากที่สุดที่พบมีแค่ 0.06 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ซึ่งต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และนับได้ว่าเป็นการทำงานอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์แห่งรัสเซีย สาขาทรัพยากรแร่ ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า แร่ใยหินไครโซไทล์มีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถละลายได้ในกรด จึงสามารถละลายได้ง่ายเมื่อเข้าไปในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ นอกจากนี้เส้นใยจะถูกขับออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และด้วยลักษณะเส้นใยที่เรียบ อ่อนนุ่ม และยืดหยุ่นของแร่ใยหินไครโซไทล์ ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อภาวะที่จะทำให้ปอดได้รับการบาดเจ็บ

จากทั้งผลการวิจัยของรัสเซียที่สรุปได้ว่าเส้นใยของแร่ไครโซไทล์สามารถละลายได้ในกรด ต่อให้เล็ดรอดเข้าสู่ร่างกายก็สามารรถละลายเองได้อย่างไม่เป็นอันตราย ขณะที่ในกระบวนยการติดตั้งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดฝุ่นที่เกิดกว่ามาตรฐาน และไม่มีฝุ่นเล็ดลอดออกมาจากผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาใช้งาน จึงทำให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ติดตามอ่านความรู้เรื่องแร่ไครโซไทล์ ได้ที่ https://www.facebook.com/ChrysotileThailand

กว่า 180 ประเทศยังใช้งานเส้นใยธรรมชาติไครโซไทล์อยู่

ทราบหรือไม่: มีประเทศที่ยังใช้งานเส้นใยธรรมชาติไครโซไทล์อยู่ กว่า 180 ประเทศ และมีเพียง 67 ประเทศ ที่ยกเลิกอย่างมีเงื่อนไข 

แผนที่โลกระบุประเทศที่ยังมีการใช้งานแร่ไครโซไทล์อยู่

ประเทศไทยมีการใช้งานแร่ไครโซไทล์มานานกว่า 80 ปีแล้ว ในผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันเช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแผ่นเรียบ ท่อซีเมนต์ และผ้าเบรก

ไขข้อกังวลแร่ไครโซไทล์ มหันตภัยร้ายจริงหรือ?

ไขข้อกังวลใจเกี่ยวกับปริมาณฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการติดตั้ง รื้อถอน กระเบื้องมุงหลังคาที่มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์ รวมถึงกรณีที่กระเบื้องแตกหัก หรือมีการทุบทำลาย

แร่ไครโซไทล์เป็นอันตรายจริงหรือไม่? สามารถหาคำตอบได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้

คนไทยไม่กลัว(แร่)ใยหิน

ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ เขียนจดหมายถึงบรรณาธิการวารสารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น ความว่า

ผมเคยเขียนบทความสั้นๆ เรื่อง “ใยหินไม่น่ากลัว” ลงพิมพ์ในธรรมศาสตร์เวชสารวารสาร(๑) เมื่อหลายปีมาแล้ว จากนั้นรู้สึกว่าบรรยากาศต่อต้านการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยแผ่วลง ประจวบกับจังหวะวิกฤติฝุ่น PM2.5 ในอากาศกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัด ทำให้นักวิชาการบางท่านสงสัยว่าฝุ่น PM2.5 อาจจะมีใยหินร่วมเป็นส่วนประกอบด้วยไหม  ท่านทั้งสอง(๒,๓)อ้างข้อมูลจากรายงานผลการตรวจพบเทห์ใยหินในปอดของคนไทยทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเหตุใยหินและไม่มีประวัติสัมผัสใยหินว่าพบเกิน ๑ ใน ๓ จากจำนวนคนที่ตรวจครั้งแรกโดยสมพงษ์ ศรีอำไพ พยาธิแพทย์ศิริราช เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว(๔) และการตรวจของพิมพิณ อินเจริญ พยาธิแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อสองสามปีที่แล้ว(๕)  ทั้งสองงานการศึกษานี้เกิดขึ้นจากการแนะนำของผู้เขียน จึงปรากฏชื่อผู้เขียนในทั้งสองรายงาน การให้ข้อคิดว่าใยหินในบรรยากาศเป็นผลจากการหลุดลอกของใยหินจากผลิตผลอุตสาหกรรมที่นำไปใช้เป็นเวลานานนั้น ขอเรียนว่าหากการหลุดล่วงของใยหินดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นวัฏจักรของสสารที่หวนกลับไปเป็นสินแร่ในดินตามเดิม

            ในบทความ “ใยหินไม่น่ากลัว” ของผู้เขียน ผู้เขียนอ้างเหตุผลจากข้อเท็จจริงว่า

  1. คนไทยเป็นโรคเหตุใยหินคนไทยน้อยมากๆ ทั้งที่การทำงานอาจสัมผัสใยหิน และพบว่าประชากรคนไทยทั่วไปสัมผัสฝุ่นใยหินในบรรยากาศแต่ไม่ปรากฏเป็นโรคเหตุใยหิน(๔,๕)
  2. อ้างข้อมูลในบทรายงานผลการศึกษาวิจัยอุบัติการโรคเหตุใยหินในคนงานที่มีโอกาสสัมผัสใยหินในสหรัฐฯของนายแพทย์ประธาน วาทีสาธกกิจ ขณะที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา  ที่ลงพิมพ์รายงานในวารสารทรวงอกสหรัฐฯ(๖) ได้พบผู้ป่วยโรคเหตุใยหินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีอุบัติการโรคในคนงานฝรั่งมากกว่าคนเอเซียและอัฟริกา ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ว่าคนไทยมีภูมิไวรับการเป็นโรคเหตุใยหินตฎ่มากหรือมีภูมิต้านทานการเป็นโรคเหตุใยหินสูงมาก
  3.  มีการศึกษาทางอณูเวชศาสตร์พบหน่วยพันธุกรรมไวรับ (susceptibility genes) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อเลื่อม(๗) ซึ่งถ้านำรูปแบบการศึกษามาศึกษาคนไทย น่าจะพบข้อมูลว่าคนไทยไม่มีหน่วยพันธุกรรมนี้
  4.  ผู้เขียนอ้างสาเหตุสำคัญที่ไม่พบผู้ที่ทำงานในสถานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้แร่ใยหินว่าเป็นเพราะโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้รับการควบคุมดูแลโดยฝ่านรัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณทั้งสองคุณหมอที่เป็นนักวิชาการที่นำข้อคิดเห็นไปลงพิมพ์ในวารสารวิชาการเพื่อรักการวิพากษ์เพื่อข้อเท็จจริง  ดีกว่าการเสนอเหตุผลฝ่ายเดียวในการประชุมลับที่ผู้รู้ไม่อาจเสนอข้อคิดเห็นที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ดี เมื่อมีข้อมูลเท็จจริงอย่างน้อย ๒ ข้อคือพบโรคเหตุใยหินน้อยมากๆในประเทศไทย ทั้งๆที่มีโอกาสสัมผัสใยหินจากการทำงาน   และจากฝุ่นใยหินในบรรยากาศทั่วไป ประกอบกับภูมิคุ้มกันทางเชื้อชาติและทางพันธุกรรม

แร่ใยหินกับคนไทย

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอนำความเห็นของศ.(เกียรติคุณ)ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต และอดีตหัวหน้าวิชาโรคระบบการหายใจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่กล่าวถึง “แร่ใยหิน” หนึ่งในประเด็นที่มีข้อถกเถียงกันว่าสมควรห้ามใช้อย่างเด็ดขาดในทุกกรณีหรือไม่ หลังมีข้อกังวลว่าอาจก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ มานำเสนอกับท่านผู้อ่าน ดังนี้

“ฝุ่นใยหินในอากาศ หรือที่เรียกว่ามลภาวะฝุ่นใยหินทางอากาศ”..จากผลงานของผมทั้ง 2 ครั้ง รวมถึงผลงานที่ฝรั่งทำไว้หลายครั้ง มันก็แสดงแล้วว่า ในบรรยากาศทั่วไปมีใยหิน มากน้อยแล้วแต่ว่าใกล้แหล่งที่มีใยหินหรือเปล่า ฉะนั้นการที่มันมีอยู่ในอากาศก็เหมือนฝุ่นธรรมดา“คุณหายใจฝุ่นซิลิก้า ฝุ่นแป้ง มันก็เป็นโรคได้ แต่ใยหินกลับแปลก ที่ในประเทศไทย หายใจเข้าไปแต่ก็ยังไม่เป็น…ไม่มีใครเป็น ที่รายงานไว้ 2 ราย มีแต่ประวัติและการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ แต่ไม่ได้มีการพบใยหิน” อาศัยเพียงแต่ประวัติอย่างเดียว ก็บอกว่าเป็นโรคเหตุใยหินไม่ได้

ที่บอกว่าพบผู้ป่วยเนื้องอกเยื่อหุ้มปอด จากรายงานในวารสาร รายนั้นคุณหมอยอมรับแล้วว่าเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติเท่านั้น ไม่ได้มีการตรวจโดยละเอียด ผมก็ไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่าเป็นโรคเหตุใยหิน พอได้ฟังได้เห็นข่าวนี้แล้ว ก็ดีใจถ้าเขาสามารถยืนยันโดยมีรายงานออกมาครบถ้วน เพราะผมไม่เห็น รายงานเพียงแต่กล่าวอ้างเฉยๆ ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่

ส่วนที่รายงานพบชาวอังกฤษ 1 ราย ป่วยเป็นโรคเหตุใยหิน เสียชีวิตที่เชียงราย รายนั้นผมก็เขียนโต้ในวารสารวิชาการแล้วว่า คนนั้นเป็นโรคเหตุใยหินจริงๆแต่เขาเป็นตั้งแต่อยู่เมืองนอก ไม่ได้มาเป็นในเมืองไทยในประวัติที่คุณหมอให้ไว้ก็ชัดเจนว่าคนนี้เพิ่งมาอยู่ไทยได้ 3-4 ปี ซึ่งโรคนั้นต้อง 20 ปี ถึงจะเป็นได้ เพราะฉะนั้นเขารับมาตั้งแต่ประเทศอังกฤษ ไม่เกี่ยวกับประเทศไทย

กรณีฐานข้อมูลของ Health Data Center ระบุพบผู้ป่วยโรคเหตุใยหิน 28 ราย เป็นมะเร็งเยื่อเลื่อม 26 รายเยื่อหุ้มปอดอักเสบ 2 ราย อันนี้ถ้าเป็นจริง อุบัติการณ์ของโรคก็ยังน้อยมาก ผมไม่เคยเห็นรายงานที่ว่ามีโรคเหตุใยหินในช่วงนี้ 28 ราย ยังไม่เห็นรายงาน ถึงอย่างไรก็ดีถ้ามี 28 ราย ในระยะนี้ผมก็ยังดีใจเพราะว่าโรคเหตุใยหินในเมืองไทยนี้มันมีน้อยเหลือเกิน ถ้าเปรียบกับโรคอื่นๆ ที่น่ากลัวมากกว่านี้ยังมีอีกเยอะ

สมัยอยู่ศิริราช 30 กว่าปี ให้พยาธิแพทย์ตรวจศพที่ตายในโรงพยาบาลโดยที่ศพไม่ได้เป็นโรคเหตุใยหิน 300 กว่าราย พบเทห์ใยหิน asbestos body พบเพียง1 ใน 3 หรือ 30% แต่ทุกรายเป็นโรคอื่นๆ ไม่ได้เป็นโรคใยหิน ตอนนั้นผมก็ยังไม่ได้สรุปว่าใยหินมาจากไหน 30 ปี ต่อมา 2 ปีที่แล้วผมก็ไปชวนหมอที่ รพ.รามาธิบดี ให้ทำการตรวจอีก ตรวจเสร็จก็พบ 33% พบมากกว่า 30 ปีที่แล้ว แต่ทุกรายก็เป็นโรคอื่นไม่ได้เป็นโรคเหตุใยหินเลยสักราย

เพราะฉะนั้นผมก็เริ่มมาสรุปว่า ใยหินในอากาศมาจากภูเขาไฟระเบิดก็ได้ มาจาก อุบัติภัย เช่น พายุน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม สามารถมีฝุ่นใยหินขึ้นมา ในอากาศได้บังเอิญผมไปพบรายงานของเมืองนอก คนที่เป็นโรคใยหิน ชาวเอเชียเป็นน้อยกว่าคนทางยุโรป อเมริกา แต่คนเอเชียไม่ค่อยเป็น มันมีภูมิต้านทาน หรือ มีภูมิไวรับไม่มีภูมิไวรับ เพราะฉะนั้นคนไทยก็เป็นคนเอเชีย ถึงจะได้หายใจเอาใยหินในอากาศก็ไม่เป็นโรคเหตุใยหิน เขาไม่ได้ทำในโรงงานนะ ทั้งสองรายงานไม่มีใครทำงานในโรงงานเลย

“เมื่อคนไข้ไม่สบายมา ถ้าทำงานโรงงานที่ใช้ใยหิน ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคเหตุใยหิน ก็ต้องตรวจวินิจฉัยไป ถ้ามีอาการโรคที่แสดงว่าตรงกับใยหินก็ต้องพิสูจน์ต่อไป ตรวจหาใยหิน ถ้าไม่พบใยหินก็ไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคเหตุใยหินได้ การวินิจฉัยโรคเหตุใยหิน ต้องดำเนินการเหมือนการวินิจฉัยโรคทั่วๆ ไป ดูประวัติว่าสัมผัสกับโรครึเปล่า จะเป็นเชื้อโรคจะเป็นใยหิน หรือจะเป็นอะไร เมื่อได้ประวัติแล้ว อาการของเขาหรือการตรวจต่างๆ เช่น เอกซเรย์ต่างๆมันเหมือนโรคใยหิน แต่พอไปตรวจชิ้นเนื้อมันไม่พบ เราก็บอกไม่ใช่โรคเหตุใยหิน

เขาจะอ้างจากประวัติคนงานอย่างเดียวเท่านั้นว่า ทำงานโรงงานใยหิน หน้าตาโรคคล้ายๆ โรคใยหินก็วินิจฉัยว่าเป็นโรคเหตุใยหิน แต่จริงๆ เขายังไม่ได้พบหลักฐานในรอยโรคของเขาว่าเป็นโรคเหตุใยหิน ไม่ใช่ว่าเขาวินิจฉัยไม่ละเอียดนะ เขาวินิจฉัยละเอียดแต่ลงความเห็นไม่ถูกต้อง เขาลงความเห็นจากประวัติเท่านั้นที่อาจจะสัมผัสใยหิน ทำงานโรงงานใยหินไม่จำเป็นต้องสัมผัสใยหิน แล้วก็เป็นโรคที่หน้าตาคล้ายโรคเหตุใยหิน แล้วเขาก็อ้างว่าเป็นโรคเหตุใยหิน ทั้งๆ ที่ชิ้นเนื้อก็ไม่ได้แสดง

แต่ตอนนี้ผมต้องพูดนิดหนึ่งว่า สมมุติถ้าคนไข้ของเขามีชิ้นเนื้อแสดงคือพบเทห์ใยหิน จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเหตุใยหินก็ยังก้ำกึ่งอยู่ เพราะคนธรรมดาก็พบได้ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเหตุใยหินถึงจะพบ การพบโรคใยหินก็มีแต่มีไม่กี่รายในประเทศไทย โดยมากยังไม่มีหลักฐานยืนยัน คือมีไม่กี่รายที่มีหลักฐานยืนยัน ส่วนใหญ่ไม่มี เพราะฉะนั้นการที่เราจะลงความเห็นมันต้องมีรายงานยืนยันชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช่พูดกันด้วยปาก”

ถ้าพูดถึงโรคเหตุใยหิน สำคัญที่สุดก็คือรัฐบาลต้องควบคุมโรงงานให้ดี ผมพูดในฐานะที่ผมเป็นหมอทุกวันผมใช้ยาให้คนไข้ยาทุกตัวมีพิษทั้งนั้น ถ้าใช้ไม่ถูกต้องเพราะฉะนั้น ถ้าใช้ให้ถูกต้องมันก็ไม่เป็นพิษเป็นภัย และประชาชนไม่น่าวิตก จากผลงานของผมตรวจพบเทห์ใยหินแต่ก็ไม่เห็นเป็นโรคใยหินเลย ก็ไม่น่าตกใจ และอีกอย่างไม่มีรายงานโรคเหตุใยหินจากโรงงานมากมาย นอกจาก2-3 ราย ที่มีคนเขารายงานไว้ เพราะฉะนั้นผมว่าอาจจะเป็นเพราะรัฐบาลควบคุมโรงงานให้ปลอดภัยคือมันไม่มีฝุ่นใยหินออกมากระทบกับคนงาน

อันที่สองอย่างที่กล่าวมาแล้วคือคนไทยเรามีภูมิต้านทานใยหินมากกว่าคนทางยุโรปหรือว่าอเมริกา เพราะฉะนั้นในเมืองไทยไม่น่ากลัวโรคเหตุใยหิน ถ้าโดยรายงานสองครั้งของผมและของต่างประเทศ เพราะว่าเรามีฝุ่นใยหินอยู่ในอากาศอยู่แล้ว และคนก็หายใจเข้าไป ผมก็ยืนยันชัดเจนแล้วว่า 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ มีใยหิน
ในปอดชัดเจนเลย แต่เขาก็ไม่เป็นโรคเหตุใยหิน แล้วคนไปทำงานโรงงานใยหินก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย

“เพราะฉะนั้นผมว่าจะไปกลัวอะไร ใยหินที่ใช้ปัจจุบันก็เป็นใยหินประเภทที่มีพิษน้อยมาก ไครโซไทล์มีพิษน้อยมาก โรงงานที่ใช้ใยหินในประเทศไทย คือใช้ไครโซไทล์นะเวลานี้ และอีกอย่างแพทย์ไทยก็เก่งสามารถวินิจฉัยโรคต่างๆ ได้ ไม่แพ้ฝรั่ง ก็ยังพบโรคเหตุใยหินไม่กี่ราย เพราะฉะนั้นเราจะไปกลัวอะไร ก็ไม่เห็นน่ากลัว ในอากาศก็มี ในโรงงานก็ควบคุมดี หายใจเข้าไปก็ไม่เห็นเป็นอะไร เพราะคนไทยเก่งสู้ใยหินได้”!!!

 

ที่มา: https://www.naewna.com/politic/columnist/41640

แร่ใยหิน-แนวหน้า 1

แร่ใยหิน-แนวหน้า 2

——————————————————————-
ติดตามอ่านความรู้เรื่องแร่ไครโซไทล์ แร่ใยหิน ได้ที่ www.chrysotile.co.th
#chrysotilesafeuse #แร่ใยหินไครโซไทล์ใช้ได้อย่างปลอดภัย
#ใยหิน #แร่ใยหิน #แร่ใยหินไครโซไทล์ #แร่ใยหินขาว #ไครโซไทล์
#แร่ใยหินไครโซไทล์ปลอดภัย #asbestos #chrysotileasbestos
#whiteasbestos #chrysotile #chrysotilesafeuseworks

ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ เจาะลึก สถานการณ์โรคเหตุใยหินในไทย

ขึ้นเว็บ

 

      เปิดบทสัมภาษณ์ ศ. เกียรติคุณ ดร. นพ. สมชัย บวรกิตติ สถานการณ์โรคเหตุใยหินในประเทศไทย ปี 2562 โรคเหตุใยหิน มีไม่กี่รายในประเทศไทย โดยมากยังไม่มีหลักฐานยืนยัน แพทย์ไทยเก่งไม่แพ้ฝรั่ง พบโรคเหตุใยหินไม่กี่ราย ถ้าเปรียบกับโรคอื่นๆ ที่น่ากลัวมากกว่านี้ยังมีอีกเยอะ
      จากกระแสการวิพากษ์เรื่องแร่ใยหินในประเทศไทย และการนำเสนอข้อมูลตัวเลขผู้ป่วยโรคเหตุใยหิน ที่ปรากฏอยู่ ณ ปัจจุบันนั้น ยังคงมีความไม่ชัดเจนหลายประการ และอาจสร้างความสับสนให้กับประชาชน ทั้งที่ผ่านมากว่า 70 ปี ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยโรคเหตุใยหินจำนวนมากตามที่เคยมีการกล่าวอ้าง

ฝุ่นใยหินในอากาศสามารถพบได้ทั่วไป

      ศ.เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต แห่งราชบัณฑิตยสภาแห่งประเทศไทย อดีตหัวหน้าวิชาโรคระบบการหายใจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นักวิชาการโรคเหตุใยหินของประเทศไทย เปิดว่า ฝุ่นใยหินในอากาศ หรือที่เราเรียกว่า มลภาวะฝุ่นใยหินทางอากาศ จริงๆ จากผลงานของผมทั้ง 2 ครั้ง รวมถึงผลงานที่ฝรั่งทำไว้หลายครั้ง มันก็แสดงแล้วว่า ในบรรยากาศทั่วไปมีใยหิน มากน้อยแล้วแต่ว่าใกล้แหล่งที่มีใยหินหรือเปล่า เพราะฉะนั้น การที่มันมีอยู่ในอากาศก็เหมือนฝุ่นธรรมดา คุณหายใจฝุ่นซิลิก้า ฝุ่นแป้ง มันก็เป็นโรค แต่ละโรคได้ แต่ ใยหินกลับแปลก ที่ในประเทศไทย หายใจเข้าไปแต่ก็ยังไม่เป็น
      เคยมีรายงานพบคนเป็นโรคเหตุใยหิน 5 ราย และเสียชีวิตแล้ว 2 รายนั้น ที่รายงานไว้ 2 ราย มีแต่ประวัติและการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ แต่ไม่ได้มีการพบใยหิน อาศัยเพียงแต่ประวัติอย่างเดียว ก็บอกว่าเป็นโรคเหตุใยหินไม่ได้ ส่วน พบผู้ป่วยเนื้องอกเยื่อหุ้มปอด จากรายงานในวารสาร รายนั้นคุณหมอ ยอมรับแล้วว่าเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติเท่านั้น ไม่ได้มีการตรวจโดยละเอียด ผมก็ไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่าเป็นโรคเหตุใยหิน
      ศ.เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ กล่าวต่อว่า รพ.แห่งหนึ่ง สรุปจำนวนโรคจากการทำงานพบ โรคปอดจากแร่ใยหิน 166 ราย ก็พอได้ฟังได้เห็นข่าวนี้แล้ว ก็ดีใจถ้าเขาสามารถยืนยันโดยมีรายงานออกมาครบถ้วน เพราะผมไม่เห็น รายงานเพียงแต่กล่าวอ้างเฉยๆ ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่ ส่วนการรายงานพบชาวอังกฤษ 1 ราย ป่วยเป็นโรคเหตุใยหิน เสียชีวิตที่เชียงราย รายนั้นผมก็เขียนโต้ในวารสารวิชาการแล้วว่า คนนั้นเป็นโรคเหตุใยหินจริงๆ แต่เขาเป็นตั้งแต่อยู่เมืองนอก ไม่ได้มาเป็นในเมืองไทย ในประวัติที่คุณหมอให้ไว้ก็ชัดเจนว่าคนนี้เพิ่งมาอยู่ไทยได้ 3-4 ปี ซึ่งโรคนั้นต้อง 20 ปี ถึงจะเป็นได้ เพราะฉะนั้นเขารับมาตั้งแต่ประเทศอังกฤษ ไม่เกี่ยวกับประเทศไทย ฐานข้อมูลของ Health Data Center ระบุพบผู้ป่วยโรคเหตุใยหิน 28 ราย เป็นมะเร็งเยื่อเลื่อม 26 ราย เยื่อหุ้มปอดอักเสบ 2 ราย อันนี้ถ้าเป็นจริง อุบัติการณ์ของโรคก็ยังน้อยมาก ผมไม่เคยเห็นรายงานที่ว่ามีโรคเหตุใยหินในช่วงนี้ 28 ราย ยังไม่เห็นรายงาน ถึงอย่างไรก็ดี ถ้ามี 28 รายในระยะนี้ผมก็ยังดีใจเพราะว่าโรคเหตุใยหินในเมืองไทยนี้มันมีน้อยเหลือเกิน ถ้าเปรียบกับโรคอื่นๆ ที่น่ากลัวมากกว่านี้ยังมีอีกเยอะ

ผลการวิจัยโรคเหตุใยหินในประเทศที่ห่างกันถึง 30 ปี ไม่พบคนตายจากโรคเหตุใยหิน

      สมัยอยู่ศิริราช 30 กว่าปี ให้พยาธิแพทย์ตรวจศพที่ตายในโรงพยาบาลโดยที่ศพไม่ได้เป็นโรคเหตุใยหิน 300 กว่าราย พบเทห์ใยหิน asbestos body พบเพียง 1 ใน 3 หรือ 30% แต่ทุกรายเป็นโรคอื่นๆ ไม่ได้เป็นโรคใยหิน ตอนนั้นผมก็ยังไม่ได้สรุปว่าใยหินมาจากไหน 30 ปี ต่อมา สองปีที่แล้วผมก็ไปชวนหมอที่โรงพยาบาลรามาให้ทำการตรวจอีก ตรวจเสร็จก็พบ 33% พบมากกว่า 30 ปีที่แล้ว แต่ทุกรายก็เป็นโรคอื่น ไม่ได้เป็นโรคเหตุใยหินเลยสักราย
      เพราะฉะนั้นผมก็เริ่มมาสรุปว่า ใยหินในอากาศมาจากภูเขาไฟระเบิดก็ได้ มาจาก อุบัติภัย เช่น พายุ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม สามารถมีฝุ่นใยหินขึ้นมา ในอากาศได้ บังเอิญผมไปพบรายงานของเมืองนอก คนที่เป็นโรคใยหิน ชาวเอเชียเป็นน้อยกว่าคนทางยุโรป อเมริกา แต่คนเอเชียไม่ค่อยเป็น มันมีภูมิต้านทาน หรือ มีภูมิไวรับไม่มีภูมิไวรับ เพราะฉะนั้นคนไทยก็เป็นคนเอเชีย ถึงจะได้หายใจเอาใยหินในอากาศก็ไม่เป็นโรคเหตุใยหิน เขาไม่ได้ทำในโรงงานนะ ทั้งสอง รายงาน ไม่มีใครทำงานในโรงงานเลย

หลักการวินิจฉัยโรคเหตุใยหิน

      ศ.เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ กล่าวต่อว่า เมื่อคนไข้ไม่สบายมา ถ้าทำงานโรงงานที่ใช้ใยหิน ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเขาอาจจะเป็นโรคเหตุใยหิน เราก็ต้องตรวจวินิจฉัยไป ถ้าเผื่อว่ามีอาการโรคที่แสดงว่าตรงกับใยหิน ก็ต้องพิสูจน์ต่อไป ตรวจหาใยหิน ถ้าไม่พบใยหินก็ไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคเหตุใยหินได้
      การวินิจฉัยโรคเหตุใยหิน ต้องดำเนินการเหมือนการวินิจฉัยโรคทั่วๆ ไป ดูประวัติว่าสัมผัสกับโรครึเปล่า จะเป็นเชื้อโรค จะเป็นใยหิน หรือจะเป็นอะไรที่เราจะวินิจฉัย เมื่อได้ประวัติแล้ว อาการของเขาหรือการตรวจต่างๆ เช่น เอ็กซ์เรย์ต่างๆ มันเหมือนโรคใยหิน แต่พอไปตรวจชิ้นเนื้อมันไม่พบ เราก็บอกไม่ใช่โรคเหตุใยหิน
      การวินิจฉัยโรคเหตุใยหินที่ผ่านมาเขาจะอ้างจากประวัติคนงาน คือเขาจะอ้างอย่างเดียวเท่านั้นว่า ทำงานโรงงานใยหิน หน้าตาโรคคล้ายๆ โรคใยหินก็วินิจฉัยว่าเป็นโรคเหตุใยหิน แต่จริงๆ เขายังไม่ได้พบหลักฐานในรอยโรคของเขาว่าเป็นโรคเหตุใยหิน ไม่ใช่ว่าเขาวินิจฉัยไม่ละเอียดนะ เขาวินิจฉัยละเอียดแต่ลงความเห็นไม่ถูกต้อง เขาลงความเห็นจากประวัติเท่านั้นที่อาจจะสัมผัสใยหิน ทำงานโรงงานใยหินไม่จำเป็นต้องสัมผัสใยหิน แล้วก็เป็นโรคที่หน้าตาคล้ายโรคเหตุใยหิน แล้วเขาก็อ้างว่าเป็นโรคเหตุใยหิน ทั้งๆ ที่ชิ้นเนื้อก็ไม่ได้แสดง แต่ตอนนี้ผมต้องพูดนิดนึงว่า สมมติถ้าคนไข้ของเขามีชิ้นเนื้อแสดงคือ พบเทห์ใยหิน จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเหตุใยหินก็ยังก้ำกึ่งอยู่ เพราะคนธรรมดาก็พบได้ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเหตุใยหินถึงจะพบ

การพบโรคใยหินในประเทศไทยมีมากน้อยแค่ไหน

      การพบโรคใยหินในประเทศไทยก็มีแต่มีไม่กี่รายในประเทศไทย โดยมากยังไม่มีหลักฐานยืนยัน คือมีไม่กี่รายที่มีหลักฐานยืนยัน ส่วนใหญ่ไม่มี เพราะฉะนั้นการที่เราจะลงความเห็นมันต้องมีรายงานยืนยันชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช่พูดกันด้วยปาก ถ้าพูดถึงโรคเหตุใยหิน สำคัญที่สุดก็คือรัฐบาลต้องควบคุมโรงงานให้ดี ผมพูดในฐานะที่ผมเป็นหมอ ทุกวันผมใช้ยาให้คนไข้ยาทุกตัวมีพิษทั้งนั้น ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ถ้าใช้ให้ถูกต้องมันก็ไม่เป็นพิษเป็นภัย

      “ไม่น่าวิตกถ้าจากผลงานของผม ตรวจพบเทห์ใยหินแต่ก็ไม่เห็นเป็นโรคใยหินเลย ก็ไม่น่าตกใจ และอีกอย่างไม่มีรายงานโรคเหตุใยหินจากโรงงานมากมาย นอกจาก 2-3 รายที่มีคนเขารายงานไว้ เพราะฉะนั้นผมว่าอาจจะเป็นเพราะรัฐบาลควบคุมโรงงานให้ปลอดภัย คือ หมายความว่ามันไม่มีฝุ่นใยหินออกมากระทบกับคนงาน เนื่องจากรัฐบาลควบคุมดี อันที่สองอย่างที่กล่าวมาแล้วคือคนไทยเรามีภูมิต้านทานใยหินมากกว่าคนทางยุโรปหรือว่าอเมริกา เพราะฉะนั้นในเมืองไทยไม่น่ากลัวโรคเหตุใยหิน” ศ.เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ กล่าว

      บทสรุปโรคเหตุใยหินในประเทศไทย ถ้าโดยรายงานสองครั้งของผมและของต่างประเทศ เพราะว่าเรามีฝุ่นใยหินอยู่ในอากาศอยู่แล้ว และคนก็หายใจเข้าไป ผมก็ยืนยันชัดเจนแล้วว่า 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ มีใยหินในปอดชัดเจนเลย แต่เขาก็ไม่เป็นโรคเหตุใยหิน แล้วคนไปทำงานโรงงานใยหินก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย เพราะฉะนั้นผมว่าจะไปกลัวอะไร ใยหินที่ใช้ปัจจุบันก็เป็นใยหินประเภทที่มีพิษน้อยมาก ไครโซไทล์มีพิษน้อยมาก โรงงานที่ใช้ใยหินในประเทศไทย คือ ใช้ไครโซไทล์นะเวลานี้ และอีกอย่าง แพทย์ไทยก็เก่งสามารถวินิจฉัยโรคต่างๆได้ ไม่แพ้ฝรั่ง ก็ยังพบโรคเหตุใยหินไม่กี่ราย เพราะฉะนั้นเราจะไปกลัวอะไร ก็ไม่เห็นน่ากลัว ในอากาศก็มี ในโรงงานก็ควบคุมดี หายใจเข้าไปก็ไม่เห็นเป็นอะไร เพราะคนไทยเก่งสู้ใยหินได้

 

 

 

ที่มา: https://www.banmuang.co.th/news/bangkok/164866?fbclid=IwAR3ixV79Qd6Ig1tSSIiRWDDR3-jaN-FsUAdPeUSkd_vV_aDU9zY5IP5lraA

บทความพิเศษในวารสารวิชาการด้านการแพทย์ของธรรมศาสตร์เกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์

บทความพิเศษในวารสารวิชาการด้านการแพทย์ของธรรมศาสตร์เกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์

วารสารวิชาการด้านการแพทย์ของธรรมศาสตร์ได้ตีพิมพ์บทความพิเศษเรื่อง “โรคที่เกี่ยวกับแอสเบสตอสในประเทศไทย ประสบการณ์ที่ผ่านมา มุมมองปัจจุบันและอนาคต” ลงในวารสารฉบับประจำเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2562 เขียนโดย สมชัย บวรกิตติ และมานพ พิทักษ์ภากร
บทความพิเศษดังกล่าวชี้ ไม่สามารถสรุปได้ชัดว่าแร่ใยหินเป็นสาเหตุของผู้ป่วยโรคเมโสเธลิโอมาในประเทศไทย โดยพบว่ามีเพียงร้อยละ 33 ที่มีการตรวจพบเส้นใยแอสเบสตอส และหลายรายในนั้น เป็นเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ ซึ่งไม่มีประวัติการทำงานในโรงงานที่มีการใช้แอสเบสตอส
จึงต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของแอสเบส-ตอสเพื่อใช้ระบุผู้ที่สัมผัสและการวินิจฉัยกรณีต่างๆ ของโรคที่เกี่ยวกับแอสเบสตอส และศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเลิกใช้แอสเบสตอสให้ชัดเจน

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://tinyurl.com/y5uevubg


——————————————————————-
#chrysotilesafeuse #แร่ใยหินไครโซไทล์ใช้ได้อย่างปลอดภัย
#ใยหิน #แร่ใยหิน #แร่ใยหินไครโซไทล์ #แร่ใยหินขาว #ไครโซไทล์
#แร่ใยหินไครโซไทล์ปลอดภัย #asbestos #chrysotileasbestos
#whiteasbestos #chrysotile #chrysotilesafeuseworks

Chrysotile asbestos remains a legal substance

ข่าวจาก Vientiane Times

Chrysotile Information Center – CIC ได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า การประชุม Rotterdam Convention ครั้งที่ 9 (RC COP-9) เมื่อวันที่ 29 เมษายน – 10 พฤษภาคม 2562 ณ กรุงเจนิวา มีมติไม่ให้เพิ่มแร่ใยหินไครโซไทล์เข้าไปในรายชื่อของสารที่มีการห้ามหรือควบคุมในภาคผนวก 3 ซึ่งนายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ประเทศไทย ได้ย้ำว่าการที่ที่ประชุมมีมติไม่ให้เพิ่มแร่ใยหินไครโซไทล์เข้าไปนั้น แสดงให้เห็นว่าการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์อย่างปลอดภัยนั้น เป็นความจริงไม่ใช่เรื่องโกหก

——————————————————————-
#chrysotilesafeuse #แร่ใยหินไครโซไทล์ใช้ได้อย่างปลอดภัย
#ใยหิน #แร่ใยหิน #แร่ใยหินไครโซไทล์ #แร่ใยหินขาว #ไครโซไทล์
#แร่ใยหินไครโซไทล์ปลอดภัย #asbestos #chrysotileasbestos
#whiteasbestos #chrysotile #chrysotilesafeuseworks

The Rotterdam Convention not listed chrysotile to Annex III

Mr. Maythee Utayopas, Chrysotile Information Center – CIC stated that the report on the ninth meeting of the Conference of the Parties to the Rotterdam Convention (RC COP-9) from 29 April to 10 May 2019, in Geneve – chrysotile is not listed in Annex III. This shown that chrysotile’s safe-use is a fact, not a myth. Science has also confirmed that there are huge differences between the amphibole and serpentine fibers. Chrysotile shouldn’t be banned but should be use with safe and responsible by the industry.

ายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า
เมื่อเร็วๆ นี้ จากรายงานการประชุม Rotterdam Convention ครั้งที่ 9 (RC COP-9) เมื่อวันที่ 29 เมษายน – 10 พฤษภาคม 2562 ณ กรุงเจนิวา ได้ผลสรุปว่า ในที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบให้นำไครโซไทล์เข้าไปอยู่ในภาคผนวก 3 Rotterdam Convention เนื่องจากหลักฐานความเป็นอันตรายไม่เพียงพอ ประกอบกับผลสรุปจากการประชุม ในทุกครั้งๆ ที่ผ่านมาไม่ได้รับฉันทามติ โดยล่าสุด มีการคัดค้านจากประเทศภาคี อาทิ รัสเซีย คาซัคสถาน ซีเรีย ซิมบับเว คีร์กีซสถาน เวเนซุเอลา ปากีสถาน คิวบา อินเดีย และอิหร่าน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะถูกเลื่อนออกไปสู่การประชุม COP ในเดือนพฤษภาคม 2564 ต่อไป

EPA อเมริกา ไฟเขียวให้ใช้ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์แร่ใยหิน

สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Environment Protection Agency: EPA) ประกาศกฎการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน โดยยืนยันว่าจะไม่มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ท่อซีเมนต์และ ซีเมนต์แผ่นเรียบภายใต้การควบคุมดูแลของ EPA ซึ่งการประกาศกฎใหม่นี้จะมีผลภายใน 60 วัน หรือ เริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 17 มิถุนายน 2562

นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้สมาคมไครโซไทล์นานาชาติ (International Chrysotile Association – ICA) ได้เผยแพร่ข่าวสำคัญ เรื่องการออกกฎการใช้ผลิตภัณฑ์แร่ใยหินในสหรัฐอเมริกา ออกโดย สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาหรือ EPA ซึ่งการประกาศกฎการใช้ใหม่เกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 นั้น จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ใยหินไครโซไทล์ถูกตัดออกจากกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารพิษชชุดเดิม และจะแยกออกไปอยู่ในรายการทำเนียบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบ โดยจะใช้เกณฑ์การควบคุมที่มีความเหมาะสมและอยู่ภายใต้การนำไปใช้อย่างปลอดภัย

ซึ่งก่อนหน้านี้ EPA ได้ออกประกาศเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แร่ใยหินไครโซไทล์ในสหรัฐอเมริกาว่า ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเข้ากลุ่มประเมินความเสี่ยงและไม่ต้องผ่านขั้นตอนพิธีการกฎระเบียบใดๆ ในผลิตภัณฑ์แร่ใยหินไครโซไทล์ที่ไม่ได้ผลิตเพื่อใช้ในสหรัฐอเมริกา หรือ ไม่ได้ถูกนำเข้าเพื่อใช้ในสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ จากการวิจัยอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริการวมถึงในประเทศต่างๆ และจากความร่วมมือในหลายๆหน่วยงานที่เกิดขึ้นใน สหรัฐอเมริกา EPA จึงได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่า ท่อซีเมนต์และแผ่นซีเมนต์แร่ใยหินไครโซไทล์ควรรวมอยู่ใน Final SNUR หรือ Significant New Use Rules หรือกฎการใช้ใหม่ที่สำคัญ ซึ่งเป็นกระบวนการภายใต้การทบทวนเพิ่มข้อกำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารพิษ (The Toxic Substance Control Act: TSCA)

โดยสาระสำคัญของ Final SNUR คือ

  • ไม่มีการห้ามใช้ท่อซีเมนต์และแผ่นซีเมนต์ใยหินไครโซไทล์ และ EPA จะติดตามการใช้ผลิตภัณฑ์งานในสหรัฐอเมริกา
  • ไม่มีการประเมินความเสี่ยงสำหรับท่อซีเมนต์และแผ่นซีเมนต์ใยหินไครโซไทล์
  • มีเพียงข้อกำหนดเดียวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีการพูดคุยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 คือ ในกรณีที่ต้องการจัดตั้งโรงงานผลิต หรือ การนำเข้าท่อซีเมนต์และแผ่นใยหินไครโซไทล์นั้น จะต้องได้รับอนุญาตจาก EPA

 

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจครั้งนี้ของ EPA ถือเป็นข่าวดีที่สอดรับกับนโยบายของ ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์และ สมาคมไครโซไทล์นานาชาติ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เส้นใยไครโซไทล์อย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ และเป็นประโยชน์สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีราคาไม่แพง แข็งแรง และที่สำคัญสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

_____________________________________________________________________________________________

EPA has just published a final rule that will become effective in 60 days or about June 17, 2019. This final rule states that NO ban of asbestos cement pipes and sheets will be pursued in the USA by EPA.

Mr. Maythee Utayopas, Chrysotile Information Center – CIC stated that the International Chrysotile Association (ICA) has recently announced good significant news on no ban of asbestos in USA published by Environmental Protection Agency – EPA who disclosed that when the proposed Significant New Use Rule (SNUR) was published on June 1, 2018, asbestos cement products were omitted from this document but were included in a separate list of asbestos products for risk evaluation and further regulation.

EPA had stated previously that asbestos products which were no longer manufactured for use in the USA or were not imported for use in the USA would be excluded from risk evaluation and no further regulatory action taken. Following extensive research within the USA and foreign parties and by interventions that occurred in the USA, EPA has now concluded that asbestos cement pipes and sheets should be included in the SNUR final rule which is a significant and positive outcome.

The essentials of the SNUR final rule are:

  • NO ban of asbestos cement pipes and sheets will be pursued in the USA by EPA.
  • NO risk evaluations will be pursued for asbestos cement pipes and sheets.
  • The only requirement in the future, which has been the case since 1991, is that to begin again the manufacture or import of asbestos pipes and sheets permission must be granted by EPA.

 

This EPA decision is good news align with CIC and ICA policy for safe and responsible use of chrysotile fibers, and for emerging countries that are in need for an affordable product that can be used safely.

_______________________________

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ (CIC Chrysotile Information Center)
เมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร
โทร. 089-816-4031 / E-mail: media@chrysotile-asia.com
เว็บไซต์: www.chrysotile.co.th , www.chrysotile-asia.com