กรณีศึกษาของประเทศไทย
การนำเข้าใช้และเก็บ รักษาใยหินจะอยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยใยหินชนิดโครซิโดไลท์ได้ถูกสั่งห้ามนำเข้า เนื่องจากเป็นวัตถุที่มีอันตรายตาม พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังมีพรบ. คุ้มครองแรงงานของกระทรวงแรงงานอีกฉบับหนึ่งที่ควบคุมเกี่ยวกับใยหิน ซึ่งทั้งหมดแสดงว่าในประเทศไทยมีมาตรการและกำหนดมาตรฐานเพื่อคุ้มครอง สุขภาพของคนงาน
กฎหมายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหิน
1. กระทรวงอุตสาหกรรม
ข้อกฎหมายควบคุม
1.พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535, มาตรา 18 กำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ในการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
2.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2538
ได้กำหนดให้ แร่ใยหิน ประเภทไครโซไทล์ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3
3.ผู้ประกอบการในประเทศจะมีการแสดงเครื่องหมายที่เป็นสากลไว้ที่ภาชนะบรรจุ
Asbestos โดยใช้ตัวอักษร “a” สีขาวบนพื้นดำและมีข้อความ
“ฝุ่นที่หายใจเข้าไปจะมีอันตรายต่อสุขภาพ”
“ปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัย”
โดยใช้ตัวอักษร สีขาวหรือดำ บนพื้นแดง
4.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(ประเภททั่วไป) กับผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จำนวน 11 รายการ เช่น กระเบื้องซีเมนต์ใยหินแผ่นเรียบ ท่อซีเมนต์ใยหินสำหรับงานระบายน้ำ ข้อต่อซีเมนต์ใยหินชนิดทนความร้อน ฯลฯ โดยมีการ กำหนดเกี่ยวกับลักษณะการใช้งาน ความทนทาน ฯลฯ
2. กระทรวงแรงงาน
ข้อกฎหมายควบคุม
1.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541, มาตรา 48
ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
2.กฏกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2541)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานผลิต หรือขนส่งสารก่อมะเร็งตามรายชื่อในบัญชีท้ายกฏกระทรวง
3.บัญชีท้ายกฏกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2541)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (3) มีรายชื่อแอสเบสตอส (Asbestos)
3. กระทรวงสาธารณสุข
ข้อกฎหมายควบคุม
1.พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535, มาตรา 31
– ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ กิจการใดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
– และในมาตรา 32 ให้อำนาจราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจออกข้อกำหนดให้ผู้ดำเนินกิจการปฏิบัติตาม และกรณีที่มีการดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการค้าต้องได้รับ อนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 5/ 2538
เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กำหนดให้ กิจการต่อไปนี้ เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
– ข้อ 7 (7) การอัดผ้าเบรค ผ้าคลัช
– ข้อ 11 (8) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรค ผ้าคลัช กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ ฯลฯ และ
– ข้อ 13 (9) การก่อสร้าง
4. กรมศุลกากร
ข้อกฎหมายควบคุม
1.พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530, มาตรา 4
กำหนดให้ของที่นำหรือพาเข้ามาในหรือส่งหรือพาออกไปนอำราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บและเสียอากรตามที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชบัญญัติ
2.พิกัดอัตราศุลกากร
พิกัดอัตราศุลกากร ของที่ใช้ในการต่อเชื่อมทำด้วยเส้นใยแอสเบสทอสอัดเป็นแผ่นบางหรือม้วนเสียภาษี 35% เส้นใยแอสเบสทอสที่จัดทำแล้ว ของผสมที่มีแอสเบสตอสเป็นหลัก หรือ
มีแอสเบสตอส กับแมกนีเซียมคาร์บอเนตเป็นหลัก รวมทั้งด้ายฯ ผ้าทอ หรือผ้าถักเสียภาษี 30%
5. กระทรวงมหาดไทย
ข้อกฎหมายควบคุม
1.ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง : ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี)
ข้อ 5 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณฝุ่นแร่ในบรรยากาศของการทำงาน ตลอดระยะเวลาการทำงานปกติ โดยเฉลี่ยเกินกว่าที่กำหนดไว้ในตารางหมายเลข 4
ข้อ 6 ภายในสถานที่ที่มีการใช้สารเคมีซึ่งสภาพของการใช้อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หรือผู้อยู่ใกล้เคียง ให้จัดห้องหรืออาคารสำหรับการใช้สารเคมีไว้โดยเฉพาะ
ข้อ 7 กรณีที่ภายในสถานที่ประกอบการที่มีสารเคมีหรือฝุ่นแร่ฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศ ของการทำงานเกินกว่าที่กำหนดให้นายจ้างดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงหากการดำเนิน การดังกล่าวไม่ได้ จะต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน
2.ตารางหมายเลข 4
กำหนดค่ามาตรฐานแร่ใยหินให้ปนเปื้อนในอากาศไม่เกิน 5 เส้นใย/อากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
6. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข้อกฎหมายควบคุม
ได้จัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของเคมีภัณฑ์รวมทั้ง Asbestos
โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอันตราย การเก็บรักษา การกำจัด ฯลฯ สำหรับใช้ในการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แต่ยังไม่มีกฏหมายที่ใช้กับ Asbestos