แนวคิดค่าเริ่มต้น…
งานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์มักอ้างอิงถึงระดับการสัมผัสที่ต่ากว่าระดับที่ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ นักรณรงค์การห้ามใช้แร่ใยหินบางคนปฏิเสธที่รับรู้ข้อเท็จจริงนี้ และไม่ยอมรับความจริงเรื่องระดับความเข้มข้นและชนิดของแร่ใยหิน แต่สรุปความเห็นเอาเองว่าความเสี่ยงนั้นเท่าๆกัน ซึ่งขัดแย้งกับความคิดเห็นที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
ตามที่ระบุในงานศึกษาวิจัยด้านโรคระบาดวิทยา รวมทั้งงานวิจัยที่ได้ระบุไว้ข้างต้นนี้ คนงานที่สัมผัสกับไครโซไทล์ที่ประมาณ 1 เส้นใย/ลบ.ซม. นั้นไม่มีความเสี่ยง ถ้าปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ ไครโซไทล์นั้นไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
เมื่อเราเห็นตัวเลขการเสียชีวิต “100,000 ราย”… เราตกใจ แต่ตัวเลขนี้จริงๆ แล้วคืออะไร ?
การเสียชีวิต “100,000 ราย” ….ไม่ได้นับจากคนที่ตายจริง แต่เป็นตัวเลขการเสียชีวิตทางสถิติที่คาดเดาไว้
จูเลี่ยน เพโต ทำการคานวณเพื่อประเมินตัวเลขคนที่อาจเป็นเหยื่อของแร่ใยหิน….
คาว่า “แร่ใยหิน (asbestos)” ในการประเมินของเพโต เหมารวมเอาแร่ใยหินทุกชนิดไว้ด้วยกัน รวมทั้งแอมฟิโบล และไครโซไทล์ ด้วย
จะมีการโต้แย้งการทำนายเตือนของเพโตหรือไม่ ถ้าได้พิจารณาข้อมูลปัจจุบันที่รับรู้กันดีอยู่แล้ว ?
ตัวเลขที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา ตามที่รายงานไว้ข้างต้น ระบุว่า การใช้ไครโซไทล์ที่มีการควบคุมที่ระดับความเข้มข้นที่ ~ 1 เส้นใย / ลบ.ซม. (1 f/cc) ไม่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเนื้องอกร้ายและการเสียชีวิตที่มากเกินปรกติ
ตัวเลขการเสียชีวิตที่เพโตคานวณได้จะเป็นอย่างไร ถ้าเขานาเอาแค่ไครโซไทล์มาพิจารณาเท่านั้น ไม่เหมารวมเอาแร่ใยหินทุกชนิด รวมทั้งแอมฟิโบลด้วย ?
การจัดการความเสี่ยงในสถานที่ทางาน
ความเสี่ยงมีอยู่ทั่วไปในทุกๆสภาพแวดล้อมการทางาน (อุตสาหกรรมสารเคมี อุตสาหกรรมหนัก การก่อสร้าง และอื่นๆ)
ในหลายประเทศ อุตสาหกรรมไครโซไทล์ พร้อมทั้งคนงานและสภาพแรงงาน ต่างประสบความสาเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคที่สาคัญ เปลี่ยนแปลงกระบวนการทางาน และวิธีการผลิตและถลุงแร่ไครโซไทล์
เราไม่ควรนาเอาสภาพการทางานที่ไม่เหมาะสมในอดีตมารวมกับสถานการณ์การทางานกับไครโซไทล์ในปัจจุบัน ระดับฝุ่นไม่เหมือนกัน และวิธีการใช้แร่ใยหินแบบไม่มีการควบคุมระดับความเข้มข้นไม่ได้รับอนุญาตให้ทาได้อีกต่อไป การไม่ยอมรับการปรับปรุงสภาพและวิธีการทางานที่ดีขึ้นกว่าเดิมเหล่านี้ ถือว่าเป็นการยึดติดกับความเชื่อเก่าๆที่แย่มาก
การจัดการความเสี่ยง VS การห้ามใช้ไครโซไทล์
มีทางเลือกอะไรบ้าง ?
ห้ามวัตถุทั้งหมดที่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
หรือ ใช้วัตถุเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ ในลักษณะที่ปลอดภัย
ไครโซไทล์เป็นวัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่ได้มีการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาแล้วนับชิ้นไม่ถ้วน ดังที่อธิบายก่อนหน้า จากสามสิบปีที่ผ่านมา ได้มีการแสดงให้เห็นแล้วว่า สามารถนาไครโซไทล์มาใช้ได้ในลักษณะที่ไม่มีความเสี่ยง
ตัวเลือกอื่นที่นามาใช้ทดแทนไครโซไทล์
การรณรงค์ห้ามใช้แร่ใยหินทั่วโลก รวมทั้งไครโซไทล์ เป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดเลย ถ้าเรายังไม่ได้ถามข้อสงสัยในเรื่องความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์หรือเส้นใยชนิดอื่นที่นามาใช้ทดแทนแร่ใยหิน เนื่องจากยังไม่ได้มีการประเมินทางวิทยาศาสตร์กันอย่างจริงจังในความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากวัตถุทดแทนเหล่านี้ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ยังไม่ทราบกันแน่ชัดนัก
ในแต่ละประเทศ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทาการศึกษาวิจัยที่จาเป็นเพื่อระบุว่าบรรดาผลิตภัณฑ์และเส้นใยทดแทนนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ เช่น การศึกษาวิจัยตามที่แนะนาโดย International Convention # 162 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
ไครโซไทล์สามารถช่วยชีวิตคนได้
ไครโซไทล์ เมื่อนามาใช้ในสภาพที่ปลอดภัยและมีการควบคุม นั้นเป็นโอกาสที่มีราคาถูกและยืนยาวสาหรับประเทศกาลังพัฒนาในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านสุขาภิบาลและสุขอนามัย ซึ่งสาคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในประเทศ
คาตอบอย่างมีเหตุและผล คือ ไม่มีการห้ามใช้ไครโซไทล์ แต่ให้ช่วยเหลือและสนับสนุนประเทศต่างๆที่ใช้ไครโซไทล์อยู่ เพื่อให้การใช้ไครโซไทล์นั้นอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและมีการควบคุม
วิธีการแก้ปัญหาที่มีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ
หลายๆประเทศได้มีการร้องขอมาหลายปีแล้วทั้งในประเทศตนเองและในต่างประเทศ ให้มีการสนับสนุนวิธีการที่สามารถอนุญาตให้ใช้ไครโซไทล์ได้ในลักษณะที่มีการควบคุม ประเทศเหล่านี้ต่างชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ยังไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างแร่ใยหินชนิดต่างๆเลย เช่น ชนิดที่สามารถนามาใช้ได้โดยมีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และภายในสภาพที่มีการควบคุม กับชนิดที่ไม่สามารถนามาใช้ในลักษณะที่ปลอดภัยได้เลย
ประเทศเหล่านี้ยังชี้ให้เห็นถึงความกังวลที่เกี่ยวกับตัวแทนของกลุ่มและองค์กรต่างๆที่กดดันและเรียกร้องให้มีการห้ามใช้แร่ใยหินทั่วโลก หนึ่งในความกังวลนั้นคือ การใช้ผลิตภัณฑ์หรือเส้นใยทดแทนแร่ใยหินที่ยังไม่ได้มีการประเมินทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างจริงจังเรื่องความปลอดภัย ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงได้
หลายประเทศต้องการให้มีวิธีการแก้ปัญหาไครโซไทล์ที่ดีกว่านี้ เนื่องจากไครโซไทล์ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า เป็นวัตถุที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนามาใช้ในลักษณะที่มีการควบคุม