ฝุ่นใยหินชนิดอะโมไซท์และโครซิโดไลท์เมื่อเข้าไปในปอดเปรียบเทียบกับเส้น ใยไครโซไทล์ โอกาสเกิดโรคจะมีมากกว่า 100 และ 500 เท่าตามลำดับ สำหรับโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมากกว่า 10 และ 50 เท่า ตามลำดับ สำหรับมะเร็งปอด การที่อันตรายมาก-น้อยต่างกันสาเหตุเนื่องมาจากโครงสร้างและความ สามารถในการละลายตัว (biodurability) ของเส้นใยหินแต่ละชนิด ดังมีข้อความในรายงานของ EPA ตอนหนึ่งที่ยกมาแสดงข้างใต้
“บรรดา ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมประชุมได้เห็นพ้องกันเป็นเอกฉันท์ว่าข้อมูลนี้ เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเส้นใยของใยหินกลุ่มแอมฟิโบลจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เยื่อหุ้มปอดได้มากกว่าเส้นใยไครโซไทล์ดังข้อมูลในรายงาน Review Document (Berman and Crump 2001) และ Re-analysis of 17 Cohort Studies (Hodgson and Darnton 2000) ซึ่งแสดงว่ามากกว่ากันถึง 500 เท่าและมีผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านได้เสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่าจากรายงานและข้อมูล ไม่พบหลักฐานว่าผู้ที่ปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องอยู่กับเส้นใยไครโซไทล์เป็นโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ที่ไม่สามารถแสดงว่าข้อสงสัยที่ว่าเส้นใย ไครโซไทล์ทำให้โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดเป็นความจริง (รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Report on the Peer Consultation Workshop to Discuss a Proposed Protocol to Assess Asbestos-Related Risk, EPA, USA, 2003, page 3-13)
Hodgson and Darnton (2000) ได้ทำการศึกษาโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากใยหินชนิด ต่างๆโดยเก็บตัวอย่างจำนวนมาก ได้สรุปว่าใยหินชนิดอะโมไซท์ และโครซิโดไลท์ทำให้เกิดโรคดังกล่าวมากกว่าเส้นใยไครโซไทล์ 100 และ 500 เท่าตามลำดับ โดยสำหรับมะเร็งปอด ข้อมูลถึงแม้ไม่ชัดเจนมาก แต่พอสรุปได้ว่าใยหินชนิดแอมฟิโบล (อะโมไซท์และ โครซิโดไลท์) ทำให้เกิดโรคมากกว่าเส้นใยไครโซไทล์ 10-50 เท่า (Final Draft: Technical Support Document For A Protocol To Assess Asbestos-Related Risk, EPA, USA, 2003, page 8.5)
เส้นใยไครโซไทล์เป็นใย หินธรรมชาติและมีพิสัยความสามารถถูกละลายหรือสลายตัว (Solubility) สูงมากและคุณสมบัติความทนทานของเส้นใย (biopersistent fiber) พิสัยจะอยู่ที่ค่าต่ำสุดจนถึงค่าความทนทานของเส้นใยแก้วและหิน
เส้น ใยไครโซไทล์จะมีค่าความทนทาน biopersistence ต่ำกว่าเส้นใยเซรามิกส์หรือเส้นใยแก้วชนิดพิเศษ (ข้อมูลจาก Hesterberg และคณะ – 1998) และต่ำกว่าของใยหินกลุ่มแอมฟิโบลค่อนข้างมาก เพื่อตรวจสอบทฤษฎีดังกล่าว EC ได้จัดตั้งคณะทำงานทำการศึกษาการได้รับฝุ่นใยหินในระบบหายใจเป็นระยะเวลา 5 วัน หลังจากนั้นการตรวจสอบสภาพของปอดเป็นระยะๆ เป็นเวลา 1 ปี (รายงานของ Bernstein & Riego – Sintes 1999) พบว่าสำหรับเส้นใยที่ความยาวมากกว่า 20 ไมครอน จะใช้ระยะเวลาการย่อยสลาย 50% ตั้งแต่ 2-3 วันจน 100 วันโดยประมาณ
ตาราง: เปรียบเทียบระยะเวลาการย่อยสลาย 50% สำหรับเส้นใยไครโซไทล์ เส้นใยเซรามิกส์สังเคราะห์ และเส้นใยหินชนิดแอมฟิโบล ความยาวเกิน 20 ไมครอน และ 5-20 ไมครอน