Chrysotile แร่ใยหิน

คำถามที่พบบ่อย

1 – เส้นใย ไครโซไทล์ คืออะไร

เส้นใยไครโซไทล์ เป็นเส้นใยประเภทหนึ่ง ของใยหินใยหินเป็นเส้นใยจากธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม มีคุณสมบัติทางเคมีต่างกันมาก ได้แก่

เส้นใยแอมฟิโบล เป็นเส้นใยเดี่ยวรูปทรงกระบอก มีคุณสมบัติความทนทานของเส้นใย (biopersistent) สูง ระยะเวลาย่อยสลาย 50% มากกว่า 900 วัน จึงเป็นอันตรายมาก
เส้นใยไครโซไทล์ เป็นเส้นใยยาวคล้ายเส้นไหม มีคุณสมบัติความทนทานของเส้นใย (biopersistent) ต่ำ ระยะเวลาย่อยสลาย 50% น้อยกว่า 14 วัน จึงเป็นอันตรายน้อยมาก

2 – เส้นใยไครโซไทล์ เป็นอันตรายหรือไม่ อย่างไร

เส้นใยหรือฝุ่นต่าง ๆ เช่น เส้นใยหินไครโซไทล์ เส้นใยแก้ว เส้นใยสังเคราะห์ ฝุ่นหิน ไอน้ำมันเบ็นซิน ฝุ่นจากท่อไอเสีย ล้วนเป็นอันตรายทั้งสิ้นหากหายใจเข้าไปสะสมในปอด เป็นจำนวนมาก และเป็นเวลานาน
เส้นใยหินไครโซไทล์ ที่ใช้ในโรงงานผลิตมีการควบคุมสภาวะที่ทำงานตามมาตรฐาน ที่กำหนดโดย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน จึงไม่มีอันตราย ต่อพนักงาน เมื่อเส้นใยถูกยึดและคลุมด้วยซีเมนต์เป็นผลิตภัณฑ์แล้ว จะไม่เป็นอันตรายอย่างใ

3 – พนักงานที่ทำงานในโรงงานผลิต มีคนที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากใยหินหรือไม่

ผู้ผลิตจัดให้มีการตรวจสุขภาพและเอ็กเรย์ปอดพนักงานเป็นประจำทุกปี ตามข้อกำหนด ของกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข และเก็บประวัติไว้โดยเสมอมา ยังไม่มีพนักงานที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากเส้นใยไครโซไทล์

4 – มีการนำเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการผลิตหรือไม่ อย่างไร

ผู้ผลิตนำเครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่มาใช้เพื่อควบคุมสภาวะที่ทำงานให้ได้ตามมาตรฐาน ความปลอดภัย

5 – การติดตั้งกระเบื้องซีเมนต์เส้นใยไครโซไทล์ คนงานจะได้รับอันตรายจากฝุ่นหรือไม่

ไม่ ทั้งนี้จะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิต

6 – การอยู่อาศัยอยู่ใต้หลังคาที่มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์เส้นใยไครโซไทล์ จะเป็นอันตรายหรือไม่

ไม่ เนื่องจากเส้นใยจะถูกยึดและคลุมด้วยซีเมนต์ ไม่หลุดออกมาได้

7 – ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่มีเส้นใยหินในอากาศระดับหนึ่งจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพบ้างหรือไม่?

แร่ใยหินมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปมานานแล้วและมีเส้นใยบางส่วนปนอยู่ในอากาศก่อนที่จะมีมนุษย์จะนำมาใช้ทำประโยชน์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีการกัดกร่อนทางธรณีวิทยาทั่วไปบนผิวโลก จึงมีเส้นใยที่หลุดออกมาบ้างจำนวนหนึ่ง
ในบรรยากาศโดยทั่วไป ความเข้มข้นของเส้นใยพบว่ามีต่ำกว่า 0.001 เส้นใย ต่อ ลบ.ซม.
ที่ระดับความเข้มข้นต่ำมาก ๆ เช่นนี้ มีความเสี่ยงต่ำมาก ซึ่งต่ำมากกว่าการส่งรังสีของแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติเสียอีก มีการยอมรับโดยองค์กรอนามัยโลก มีการรับรองว่าความเสี่ยงไม่เป็นสาระโดยคณะกรรมการของรัฐออนตาริโอ ราชสมาคมกรุงลอนดอนมีความเห็นว่าระดับความเข้มข้นนี้ต่ำมากแล้วไม่ต้องลดลงอีก

8 – วัสดุเบรกและคลัตช์ทำด้วยแร่ใยหิน: การใช้เบรกและคลัตช์ทำด้วยแร่ใยหิน มีผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?

แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหลักในเบรกและคลัตช์ของรถยนต์เป็นเวลามากว่า 70 ปี แร่ใยหินในส่วนผสมประมาณ 25% – 65% โดยน้ำหนัก เป็นส่วนให้เกิดความแข็งแรง ทนความร้อนความฝืดและทนการสึกหรอได้ดี
การทดสอบอย่างกว้างขวางจัดทำโดยหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา ได้ผลว่า มากกว่า 99.7 เปอร์เซ็นต์ของแร่ใยหินที่หลุดออกมาจากการขัดสีและสึก กลายเป็นวัสดุฟอสเตอไรท์ ซึ่งไม่เป็นสารก่อมะเร็งต่อสัตว์ทดลอง นอกจากนั้นแร่ใยหินที่อยู่ในเศษที่หลุดมีประมาณ 1%
มีความยาวเส้นใยสั้นมาก(0.3 ไมครอน)
ผลการวัดเส้นใยในเมืองมีค่า 0.051- 0.258 นาโนกรัมต่อ ลบ.ฟุต (0.000001 – 0.000007 เส้นใยต่อ ลบ.ซม.) ที่เมืองโรเชสเตอร์ นิวยอร์ค และลอสแองเจลิส คาลิฟอรเนีย ตามลำดับ
ดังนั้นเส้นใยที่หลุดออกจากผ้าเบรกมีจำนวนน้อยมาก ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

9 – ในการสัมผัสกับเส้นใยหิน 1 เส้นใย สามารถทำให้เสียชีวิตได้หรือไม่?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทดลองสมมติฐานนี้ เส้นใยเพียง 1 เส้น ไม่สามารถทำให้อนุภาค เนื้อเยื่อ หรือร่างกายสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงได้
ในงานศึกษาทางแพทย์/วิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันว่า การสัมผัสกับเส้นใยจำนวนหลายแสนเส้นใยจึงจะมีผลที่สังเกตเห็น
ข้อมูลความจริงต่อไปนี้เชื่อว่าจะวิญญูชนจะลงความเห็นได้
1. ทุก 60 วินาที คนทั่วไปสามารถหายใจเอาอากาศเข้าปอดได้ 10 ลิตร
2.สิ่งแวดล้อมทั่วไป ในเมืองหรือในชนบท ความเข้มข้นของเส้นใยประมาณ 1 เส้นใยต่อลิตรทั่วโลก
3.ดังนั้นทุก 1 วัน คนทั่วไปมีอากาศผ่านปอด 14,000 ลิตร ซึ่งทุกลิตรมีเส้นใย 1 เส้น

10 – แร่ใยหินในน้ำประปา : การใช้ท่อซีเมนต์ใยหินได้ทำให้มีเส้นใยในน้ำประปาหรือไม่? และแร่ใยหินในน้ำประปามีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ ?

การใช้ท่อซีเมนต์ใยหิน มีมาตั้งแต่ปี 1920 ในปลายปี 1980 จะมีการวางท่อซีเมนต์ใยหินประมาณ 3 ล้าน กิโลเมตร ทั่วโลกสำหรับส่งน้ำประปา
น้ำที่มีความเป็นกรดจะสามารถกัดกร่อนท่อซีเมนต์ใยหิน ทำให้มีเส้นใยหลุดออกมาได้
ในกรณีเช่นนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ท่อซีเมนต์ใยหิน หรือต้องทาน้ำยาเคลือบพิเศษป้องกันส่วนภายในท่อจึงจะใช้ได้
จากผลการศึกษาที่ผ่านมาแสดงว่าในน้ำประปาก่อนผ่านท่อ มีแร่ใยหินอยู่แล้ว(ส่วนมากสั้นกว่า 1 ไมครอน) และเมื่อส่งผ่านระบบท่อซีเมนต์ใยหิน จำนวนเส้นใยจะไม่เพิ่มจากค่าปกติในธรรมชาติ
การทดสอบสัตว์ทดลองในห้องทดลองตลอดชีวิตเป็นเวลาหลายปีด้วยการเลี้ยงผสมด้วยเส้นใยจำนวนมาก ก็ไม่พบก้อนเนื้อในลำใส้ หรือโรคในทางเดินอาหาร
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับระดับจำนวนเส้นใยในน้ำดื่ม ก็ไม่ความเสี่ยงในการเกิดก้อนเนื้อในทางเดินอาหาร

Please follow and like us:

ใส่ความเห็น