1. จริงหรือไม่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ยกเลิกการใช้แร่ไครโซไทล์
ไม่จริง ที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA) ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำวิธีการและมีนโยบายที่แตกต่างกันตามแร่ใยหินแต่ละกลุ่ม
2. จริงหรือไม่ที่มีผู้เสียชีวิต 107,000 รายต่อปีจากโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน
ไม่จริง ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่สร้างความเข้าใจผิด เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวสรุปว่าการใช้แร่ใยหินในปัจจุบันเป็นแบบเดียวกับ 50 ปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวเป็นข้อมูลที่เก็บจากประเทศในทวีปยุโรปและดำเนินการคาดเดาในส่วนของประเทศอื่นๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของสภาพการทำงานที่ไม่มีการควบคุมระดับการสัมผัสในอดีตของประเทศในยุโรปกับสภาพการทำงานที่มีการควบคุมของสถานที่ทำงานในปัจจุบัน (ต่ำกว่า 1 fibre/cc) ปัจจุบันมีการใช้เทคนิคการบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยและหลักการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของฝุ่น (dustiness) และระดับความเสี่ยงจากการสัมผัสนั้นได้ลดลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมาก
3. ในเมืองไทยมีการพบผู้เสียชีวิตหรือไม่
จากการใช้แร่ใยหินมากกว่า 50 ปีในประเทศไทย ไม่พบผู้เสียชีวิตจากแร่ไครโซไทล์เลย
4. แร่ใยหินทุกชนิดมีคุณสมบัติเหมือนกันหรือไม่
ไม่ แร่ใยหินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันและมีหลายรูปแบบทำให้ผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์มีความแตกต่างกันออกไป
5. มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันถึงความแตกต่างของแร่ใยหินหรือไม่
หลักฐานทางระบาดวิทยา (epidemiological evidence) จากการศึกษากับคนงานแร่ใยหินและการทดสอบกับสัตว์อย่างละเอียด แสดงให้เห็นผลลัพธ์ว่าแม้แร่ใยหินทุกชนิดอาจก่อให้เกิดอันตราย (เช่น โอกาสการเสียชีวิตจากมะเร็งปอด, Asbestosis และมะเร็งเยื่อหุ้มปอดหรือเมโสเธลิโอมา (Mesothelioma)) แต่อันตรายเหล่านี้ก็มีระดับความเสี่ยงหรือโอกาสความเป็นไปได้ที่จะทำให้เสียชีวิตแตกต่างกันออกไป โดยความเสี่ยงสัมพัทธ์จากแร่ใยหินโครซิโดไลท์ (crocidolite) นั้นสูงกว่าแร่ไครโซไทล์ถึง 500 เท่า และ ความเสี่ยงสัมพัทธ์ของแร่ใยหินแร่ใยหินอะโมไซท์ (Amosite) นั้นมีค่าสูงกว่าแร่ไครโซไทล์ถึง 100 เท่า ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าชนิดของแร่ใยหินในผลิตภัณฑ์นั้นมีความสำคัญต่อการประเมินความเสี่ยง
6. ตัวเลขผู้เสียชีวิตจำนวน 100,000 รายนั้นหมายความว่าอย่างไร
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์มักจะอ้างอิงระดับการสัมผัสโดยวัดจากระดับที่ต่ำเกินกว่าจะสามารถวัดค่าความเสี่ยงที่จะเกิดต่อสุขภาพได้ ซึ่งนักเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่งได้ปฎิเสธวิธีการศึกษาดังกล่าว และให้น้ำหนักการตีความจากความเสี่ยงทุกชนิดว่าเหมือนกันโดยไม่คำนึงถึงระดับการสัมผัสหรือรูปแบบของเส้นใย ข้ออ้างที่ว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิต 100,000 รายนั้นไม่ใช่จำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกนับจริง แต่เป็นการทำนายจากสถิติผู้เสียชีวิต การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับแร่ไครโซไทล์มีระดับการสัมผัสประมาณ 1fibre/cc ซึ่งไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่วัดได้
7. การยกเลิกการใช้ใยหินเปรียบเทียบกับการควบคุมความเสี่ยงต่างกันอย่างไร
แร่ไครโซไทล์เป็นสารธรรมชาติ มีรายงานว่าสามารถใช้แร่ไครโซไทล์ได้โดยไม่เป็นอันตรายกับสุขภาพ การรณรงค์ให้มีการห้ามใช้แร่ไครโซไทล์นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องหากไม่มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทดแทนหรือเส้นใยชนิดอื่น เนื่องจากยังไม่มีการประเมินทางวิทยาศาสตร์ด้านปัญหาสุขภาพที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ทดแทน นอกจากนี้การห้ามใช้แร่ไครโซไทล์จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย จากการคำนวนเพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจพบว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นกับผู้ผลิตและผู้บริโภคจะมีถึง 464 พันล้านบาท
8.คำบอกเล่าที่ว่าแร่ไครโซไทล์นั้นมีอันตราย หลายๆประเทศได้มีแนวโน้มยกเลิกการใช้แร่ไครโซไทล์ใช่หรือไม่
ไม่ใช่ ประเทศส่วนใหญ่ยังมีการใช้แร่ไครโซไทล์ รวมถึงประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอินเดีย และประเทศบราซิล