ข้อมูลสถิติการใช้และการใช้อย่างไม่ถูกต้อง
Jacques Dunnigan, Ph.D
ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา โลกถูกกระหน่าด้วยข้อมูลสถิติ ชนิดที่เรียกได้ว่าเป็น “ซึนามิแห่งสถิติ” ซึ่งแทบทุกเรื่องและทุกหัวข้อถูกนามารวบรวมเป็นตัวเลข ที่บางคนเรียกวิธีการนี้ว่า “การโกงด้วยตัวเลข”
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีข้อมูลสถิติทุกประเภท เช่น การนับประชาการในประเทศหรือในเมือง จานวนรถยนต์วิ่งผ่านสะพานแห่งหนึ่งในหนึ่งปี และอื่นๆ ข้อมูลสถิติอื่นๆ เช่น ที่เกี่ยวกับแนวโน้มกระบวนการวิวัฒนาการบางอย่างในช่วงหลายเดือนหรือหลายปี ที่เราทาการบันทึกไว้
ส่วนข้อมูลสถิติบางอย่าง (ที่มีการเผยแพร่แล้วในปัจจุบัน) เป็นเรื่องที่สมควรกังวล และควรเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนั้นต้องหามาตรการมาป้องกัน ตัวอย่างเช่น ในเดือนพฤศจิกายน 2006 บัณฑิตสมาคมแห่งชาติของสหรัฐ (US Na-tional Academies) ได้ระบุว่าการมีน้าดื่มไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้เด็กๆเสียชีวิต โดยระบุไว้ดังนี้:
“น้าดื่มที่ไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสาคัญอันดับสองที่ทาให้เด็กๆทั่วโลกเสียชีวิต ตามข้อมูลของรายงานชิ้นใหม่จากโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ ที่ทุกๆ ปี เด็กๆเกือบ 2 ล้านคนเสียชีวิตจากน้าดื่มที่ไม่สะอาดและไม่ถูกหลักอนามัย ผู้คนประมาณ 1.1 พันล้านคนทั่วโลกมีน้าสะอาดใช้ไม่พอเพียง และคนจานวน 2.2 พันล้านคนขาดการสุขอนามัยที่เพียงพอ รายงานชิ้นดังกล่าวระบุว่า แม้ว่าหลายๆประเทศกาลังปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคเพื่อให้ประชากรของตนมีน้าสะอาดและมีระบบระบายน้าอย่างเพียงพอ แต่หลายๆครอบครัวกลับมีห้องน้าใช้ไม่พอกับความต้องการ ซึ่งทาให้เกิดการแพร่กระจายของโรค”
(http://nationalacademies.org/headlines/20061127.html)
“ข้อเท็จจริงคือสิ่งที่ไม่ตาย แต่ข้อมูลสถิติกลับทาให้มีคนเชื่อง่ายกว่า”
Mark Twain, นักเขียนชาวอเมริกัน
สภาเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) แห่งสหประชาชาติ ประชุมกันทุกปีในนิวยอร์คและเจนีวา ซึ่งทาง ECOSOC ได้รับรายงานกิจกรรมต่างๆของ UNICEF, FAO,องค์การอนามัยโลก (WHO) และ ILO และหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งตามข้อมูลสถิติที่เผยแพร่ในปี 2007 ประชากร 36 ล้านคนเสียชีวิตจากความอดอยาก หรือผลที่เกิดจากความอดอยาก นอกจากนั้นอีก 7 ล้านคนเสียชีวิตเนื่องจากขาดแคลนน้าดื่มที่สะอาดและจากการได้รับผลกระทบจากน้าเสีย โครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNDP) ได้ระบุว่า: “ประชากรโลกกว่าหนึ่งพันล้านมีน้าดื่มสะอาดบริโภคไม่เพียงพอ และกว่า 2.4 พันล้านคนมีระบบสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ไม่เพียงพอ ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือ ทั่วโลกมี จานวนคนเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากโรคที่มากับน้า มากกว่าความเจ็บป่วยที่มาจากสาเหตุอื่นๆ เด็กๆ กว่า 2 ล้านคนเสียชีวิตทุกๆ ปี (6,000 คนต่อวัน) จากโรคที่มากับน้า” (Mark Malloch Brown, ผู้บริหาร UNDP)
เราไม่อาจปฏิเสธความจริงของตัวเลขเหล่านี้ได้
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลสถิติอื่นๆ ที่จาเป็นต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดและอย่างระมัดระวัง ตัวอย่างเช่น ในการที่จะสนับสนุนความคิดเห็นของใครบางคน เราสามารถนาตัวเลขเฉพาะบางส่วนของข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่มาแสดง ในปัจจุบัน หนึ่งในตัวอย่างนั้นคือ มีผู้ที่มีความหลงเชื่อบางคน ได้เลือกเอาบางส่วนของรายงานชิ้นหนึ่งที่จัดทาให้แก่องค์การอนามัยโลก (มติสมัชชาขององค์การอนามัยโลกที่ 58.22 เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง) โดยอ้างถึงงานเผยแพร่ชิ้นหนึ่งขององค์การอนามัยโลก (Concha-Barrientos et al., 2004) ที่ระบุว่า:
“ปัจจุบัน ประชากรกว่า 125 ล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงจากแร่ใยหินในสถานที่ทางานของตน จากการประมาณการทั่วโลก มีประชากรอย่างน้อย 90,000 คนต่อปีที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอดอันเนื่องมาจากแร่ใยหิน”
บางคนใช้ข้อมูลสถิติเหมือนคนเมาใช้เสาไฟเพื่อช่วยให้ยืนอยู่ได้ แทนที่จะใช้เสาไฟเพื่อความสว่าง
Andre Lang, กวีชาวสก็อตแลนด์
โชคไม่ดีที่มีเพียงไม่กี่คนที่สนใจตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของตัวเลขดังกล่าว แต่จากการตรวจสอบรายงาน Concha-Barrientos ดังกล่าวอย่างละเอียด พบว่าคากล่าวอ้างและตัวเลขข้างต้นเป็นความเข้าใจผิดอย่างชัดเจน เพราะว่าคากล่าวอ้างและตัวเลขนั้นเป็นเพียงแค่ข้อมูลส่วนหนึ่งที่จงใจตัดตอนมาจากรายงานดังกล่าว ซึ่งไปเข้าทางของคนบางกลุ่มที่มีเจตนาพิเศษ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและข้อสรุปที่สมบูรณ์ของรายงาน Concha-Barrientos
อันดับแรก รายงาน Concha-Barrientos et al. ยอมรับว่า มีความแตกต่างในความเสี่ยงระหว่างไครโซไทล์ กับใยหินแอมฟิโบลชนิดอื่นๆ ในบทที่ 21 หน้า 1687 ผู้เขียนรายงานระบุว่า:
“ปัจจุบัน ประชากรกว่า 125 ล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงจากแร่ใยหินในสถานที่ทางานของตน จากการประมาณการทั่วโลก มีประชากรอย่างน้อย 90,000 คนต่อปีที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอดที่ เกี่ยวพันกับแร่ใยหิน” แต่ผู้เขียนระบุเพิ่มเติมว่า “จากงานวิจัย 20 ชิ้นที่ศึกษาในคนงานกว่า 100,000 คนที่ทางานกับแร่ใยหิน อัตราการเสียชีวิตที่เป็นอัตรามาตรฐานมีตั้งแต่ 1.04 สาหรับคนงานที่ทางานกับแร่ไครโซไทล์ จนถึง 4.97 สาหรับคนงานที่ทางานกับแร่อะโมไซท์ (amosite) โดยมีอัตราความเสี่ยงสัมพัทธ์ร่วมกันที่ 2.00 เป็นเรื่องยากที่จะกาหนดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีงานวิจัยไม่กี่ชิ้นที่รายงานเกี่ยวกับการวัด และเนื่องจากมีปัญหาในการแปลงหน่วยวัดเดิมจากล้านอนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุต มาเป็นหน่วยวัดปริมาณความถ่วง (gravimetric units) อย่างไรก็ตาม การสัมผัสกับแร่ใยหินในระดับความเข้มข้นต่าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดไม่มากนัก”
รายงาน Concha-Barrientos ยังได้ย้าถึงงานวิจัยของ Hodgson และ Darnton (2000) ที่มีการพิมพ์ขึ้น และถือเป็นงานวิจัยที่ได้เกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งระบุถึงความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง นักวิจัยทั้งสองนี้คานวณความเสี่ยงจากมะเร็งเยื่อหุ้มปอด (mesothelioma) และข้อสันนิษฐานที่ว่า มีการเริ่มสัมผัสกับแร่ใยหินในช่วงอายุ 20 ถึง 45 ปี และสิ้นสุดการสัมผัสความเสี่ยงเมื่ออายุ 65 ปี โดยถือเอาว่าแร่ใยหินนั้นเป็นชนิดเส้นใยผสม ความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากมะเร็งตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 100/100,000 เส้นใย.ปี ต่อมิลลิลิตร (fiber.year per ml.) การประเมินแบบผสมรวมกันนี้ใช้ข้อมูลที่ดีที่สุดของการประเมินความเสี่ยงจากประเภทต่างๆของการสัมผัสกับแร่ใยหิน สาหรับการสัมผัสแร่ใยหินสะสมระหว่าง 10 ถึง 100 เส้นใย/มล.ปี ความเสี่ยงคือ: มีผู้เสียชีวิต 400 ราย ต่อ จานวน 100,000 คนที่สัมผัสกับแร่ใยหินในแต่ละ 1 เส้นใย/มล.ปีของแร่โครซิโดไลท์ (crocidolite), มีผู้เสียชีวิต 65/100,000 คน สาหรับผู้ที่สัมผัสกับแร่อะโมไซท์ และ 2/100,000 คน สาหรับผู้ที่สัมผัสกับแร่ไครโซไทล์
สาหรับการสัมผัสสะสมที่ปริมาณ 0.1 เส้นใย/มล.ปี ความเสี่ยงคือเสียชีวิต 100 รายต่อ 100,000 คนที่สัมผัสกับแร่โครซิโดไลท์, 15 รายต่อ 100,000 คนที่สัมผัสกับแร่อะโมไซท์ และบางทีอาจไม่มีผู้เสียชีวิตเลยจากการสัมผัสกับแร่ไครไซไทล์ (Hodgson และ Darnton. 2000, ตาราง 11)