1. The International Agency for Research on Cancer (IARC-WHO) ได้ให้การรับรองว่าใยหินเป็นสารเคมีก่อมะเร็งประเภท 1 ดังนั้นห้ามนำมาใช้ในทุกกรณี
ในอดีตการใช้ใยหินไม่ว่าชนิดใด วิธีการเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง รายงานนี้ทราบว่าใยหินถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็งประเภท 1 เช่นเดียวกันกับแคดเมียม-โครเมียม สารนิเกิล ซิลิกา แสงจากดวงอาทิตย์ ไวนิลคลอไลด์ เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ ปลาเค็ม ควันจากบุหรี่ ขี้เลื่อย กระบวนการผลิตและซ่อมรองเท้า/เครื่องเรือน กระบวนการหล่อเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมยางhttp://monographs.iarc.fr/ENG/Classification/crthgr01.php
สิ่งที่ WHO ระบุคืออันตรายที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งของหรือสารนั้นๆ ดังนั้นไม่ได้หมายความว่าห้ามใช้ แต่เป็นการควบคุมการใช้ไม่ให้เกิดอันตรายที่ระบุต่างหาก
2. อันตรายของใยหินเป็นเรื่องที่ทราบกันทั่วไปโดยได้มีการจัดทำเป็นเอกสารหลักฐานมาตั้งแต่ศตวรรษที่20 จากการศึกษาวิจัยพบว่า
ก) ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดทราบว่าปริมาณเท่าใดจึงยังไม่เป็นอันตราย
ข) เส้นใยไครโซไทล์ก่อให้เกิดโรคระบบหายใจอักเสบมะเร็งปอดและมะเร็งปอดจากใยหิน(mesothelioma) แล้วแต่ปริมาณฝุ่นใยหินที่ร่างกายได้รับ
ค) ความเสี่ยงในการที่จะเกิดโรคมะเร็งปอดขึ้นอยู่กับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์/วัสดุที่มีส่วนผสมใยหินรวมทั้งผู้ที่ได้รับฝุ่นใยหินเข้าไปในร่างกาย
ผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องมาจากใยหินเป็นเรื่องที่รู้กันแพร่หลายและมีเอกสารหลักฐาน มีข้อมูลว่าใยหินกลุ่ม แอมฟิโบลเป็นอันตรายกว่าเส้นใยไครโซไทล์ 100-500 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งปอด ผู้ที่สนับสนุนว่าการใช้ใยหินไม่ปลอดภัยอาจเนื่องมาจากรู้ข้อมูลข้างต้นสับสน ซึ่งความจริงแล้วข้อมูลใยหินแต่ละกลุ่มแตกต่างกันชัดเจนเกี่ยวกับปริมาณที่ปลอดภัย ถึงแม้ยังไม่ได้มีมาตรฐานชัดเจน แต่ก็มีค่าประมาณที่ได้รับการยอมรับ จากการศึกษา/สำรวจคนงานจำนวนหลายหมื่นคนที่ได้รับ
ฝุ่นเส้นใยไครโซไทล์ในปริมาณที่ต่ำกว่า 2 เส้นใย/ลบ.ซม.แบบแยกกลุ่ม พบว่าอัตราการเป็นมะเร็งไม่ได้มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นโรคที่เกิดขึ้นกับสุขภาพอันเนื่องมาจากใยหินจึงน่าจะมีสาเหตุมาจากการได้รับเส้นใยไครโซไทล์เข้าสู่ร่างกายปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานจนเกินไป หรือได้ใยหินแอมฟิโบลซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลว่าเหตุใด ILO จึงระบุว่าเรื่องของใยหินเป็น
เรื่องที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม่ใช่ประชาชนทั่วไป เนื่องจากยังไม่ได้มีการศึกษากันอย่างจริงจังและแพร่หลาย ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็ง/ระบบทางเดินหายในเนื่องจากใยหินที่มักมีการยกมาอ้างอิงจึงเป็นข้อมูลค่อนข้างเก่า ซึ่งไม่น่าจะสามารถนำมาใช้ได้กับปัจจุบัน
3 – ใยหินทุกชนิดล้วนแต่มีอันตราย ดังนั้นการแบ่งใยหินออกเป็น2 กลุ่มไครโซไทล์และแอมฟิโบลจึงเป็นเรื่องของการจัดประเภทเท่านั้นไม่ได้มีความหมายใดๆเกี่ยวกับอันตราย
สิ่งแรกสุด – การตั้งค่าควบคุมใยหิน 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันเป็นเรื่องที่กระทำกันมานานแล้ว ไม่ใช่สิ่งใหม่ ดังจะพบหลักฐานใน Convention 162 เกี่ยวกับการใช้ใยหินอย่างปลอดภัยของ ILO อนึ่งคำว่า ใยหิน (asbestos) เป็นคำรวมหรือศัพท์ทางการค้า การระบุข้อแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม จึงถือเป็นเรื่องสมควร จากการศึกษาและสัมมนาระดับสากล มีข้อมูลที่แสดงชัดเจนว่าเส้นใยไครโซไทล์มีอันตรายน้อยกว่ากลุ่มแอมฟิโบล ซึ่งใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับ ILO รวมทั้งประเทศต่างๆ ส่วนมากใน
โลก จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ที่ผ่านมาไม่นานได้มีข้อมูลดังนี้ (1) นักวิทยาศาสตร์กลุ่มสิ่งแวดล้อม (EPA) ได้มีมติเอกฉันท์ว่า จากข้อมูลสาธารณสุข กลุ่มใยหินแอมฟิโบลสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้มากกว่า เส้นใยไครโซไทล์ 100 เท่า (2) จากการศึกษาผู้ที่มีฝุ่นใยหินอยู่ในเนื้อเยื่อปอดเป็นระยะเวลานานๆ พบว่าผลที่เกิดจากฝุ่นใยหิน 2 ชนิดนี้แตกต่างกัน
(ข้อมูลจนถึงปัจจุบัน) ซึ่งข้อมูลนี้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ WHO กลุ่มนี้ได้เสนอว่าสำหรับเส้นใยไครโซไทล์ สามารถกำหนดค่าปลอดภัยได้ = 1 เส้นใย/ลบ.ซม. แต่สำหรับใยหินกลุ่มแอมฟิโบลจะไม่มีค่าปลอดภัยใดๆ จากมาตรฐานที่ตั้งนี้ ประเทศกว่า 60 ประเทศในโลกได้นำไปใช้ในการควบคุมการใช้ใยหินเพื่อความปลอดภัย
4 – การใช้ใยหินอย่างปลอดภัยเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เนื่องจากเหตุผลคือ
ก) ประชาชนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีใยหินมีโอกาสได้รับอันตรายเนื่องจากมีใยหินอยู่ด้วย
ข) การนำเอามาตรการควบคุมมาบังคับใช้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเป็นไปได้
ได้มีพิสูจน์ผลิตภัณฑ์จากใยหิน (สำเร็จรูปพร้อมใช้) มามากครั้งแล้วว่าไม่เกิดอันตรายต่อสาธารณชน การนำมาใช้งาน ใยหินจะอยู่ในแผ่นซีเมนต์/พลาสติก ปัจจุบันภาวะที่อ้างเพื่อไม่ให้มีการนำใยหินมาใช้ไม่มีบังเกิดขึ้นมาแล้วหลายปี สำหรับเส้นใยไครโซไทล์ ถ้าจะยกเหตุผลจะต้องสำหรับวัสดุทดแทน 20 ปี หรือไม่ใช่ใยหินเท่านั้น รวมทั้งสาร/วัตถุอันตรายอื่นๆ ที่ไม่มีมาตรการควบคุม การเรียกร้องให้เลิกใช้ใยหินเป็นสิ่งที่เกิดมาจากความฝังใจในสิ่งที่ปัจจุบันไม่มีเกิดขึ้นอีกแล้ว มีประมาณ 60
ประเทศที่ได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมให้การใช้ใยหินมีความปลอดภัย ซึ่งเส้นใยไครโซไทล์สามารถควบคุมได้ไม่ยากเนื่องจากจำนวนแหล่งผลิตมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง จึงสามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ ฉะนั้นจึงควรที่จะไปดูแลสารหรือเส้นใยอื่นที่นำมาใช้ทดแทนใยหินจะดีกว่า เพราะแท้จริงแล้วเส้นใยทดแทนเหล่านี้ก็มีอันตราย และไม่เคยพิสูจน์ได้ว่าเกิดความปลอดภัยมากกว่าใยหิน อนึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ปรากฏว่ามีการควบคุมเพื่อความปลอดภัยแก่คนงานในอุตสาหกรรมนั้นๆ
ภาวะที่กลุ่มผู้ที่เรียกร้องให้เลิกใช้ใยหินยกมาอ้างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1970 ซึ่งส่งผลกระทบด้านสุขภาพของคนงานในอุตสาหกรรมที่ใช้ใยหินค่อนข้างกว้างขวางและจนถึงปัจจุบันก็ยังมีการวิเคราะห์/