Chrysotile แร่ใยหิน

มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (เมโสเธลิโอมา)

Weissได้ทำการศึกษาทบทวนงานของ Yarborough (2006) พบว่าในโรงงานที่ใช้เส้นใยไครโซไทล์เพียงอย่างเดียวคนงานจะไม่เป็นโรค มะเร็งปอด ดังนี้
“การที่คนงานชายป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มมากขึ้นในระยะหลายปีมานี้ แน่ชัดว่าสาเหตุเป็นเพราะมีฝุ่นใยหินเล็ดลอดเข้าไปในร่างกาย และเป็นชนิดแอมฟิโบล (โครซิโดไลท์และอะมอไซท์) ซึ่งถูกนำมาใช้ปริมาณมากที่สุดในช่วงทศวรรษ 1960 (หลังจากนั้นจึงลดลง) ในประเทศอื่น ปรากฏว่าจำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้มีเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะว่ามีการใช้ใยหินแอมฟิโบลสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดโครซิโดไลท์ ข้อมูลของเหตุการณ์ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้นำมาใช้ประโยชน์ ผลก็คือ จำนวนคนงานที่ป่วยเป็นโรคนี้ลดจำนวนลง ตรงข้ามกันกับที่มีผู้กลัวว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตทั้งสั้น และยาว
Manfred Neuberger และ Christian Vatue ได้ทำการวิเคราะห์สภาพการณ์และความไม่แน่นอนของการทำนาย (extrapolate) ข้อมูลโรคมะเร็งปอดจากฝุ่นใยหินจากประเทศที่มีผู้ป่วยมากและน้อยดังนี้
“เปรียบเทียบกับประเทศในยุโรป ประเทศออสเตรียปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรงมะเร็งปอดน้อยกว่า รวมทั้งแนวโน้มอนาคตก็แตกต่างกัน ข้อมูลจากการศึกษาตัวอย่างผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดจำนวน 120 คน และการศึกษาคนงานในโรงงานผลิตซีเมนต์ใยหินแบบกลุ่ม (29) สรุปได้ว่า ถ้าโรงงานใช้ใยหินชนิดไครโซไทล์เป็นหลัก การผลิตภายในโรงงานและการใช้แผ่นซีเมนต์ใยหิน ไม่มีมลภาวะฝุ่นเส้นใยหรือมีน้อย จำนวนของผู้ที่ป่วยเป็นโรคจะน้อย ไม่เหมือนประเทศใกล้เคียง อาทิ เยอรมนี (มีอุตสาหกรรมผ้าใยหินและต่อเรือ) การศึกษานี้ยืนยันสมมติฐานที่ว่าชนิดของใยหินและการใช้เป็นเรื่องที่มีความ สำคัญ
“บรรดาผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมประชุมได้เห็นพ้องกันเป็นเอกฉันท์ว่าข้อมูล นี้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเส้นใยของใยหินกลุ่มแอมฟิโบลจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เยื่อหุ้มปอดได้มากกว่าเส้นใยไครโซไทล์ดังข้อมูลในรายงาน Review Document (Berman and Crump 2001) และ Re-analysis of 17 Cohort Studies (Hodgson and Darnton 2000) ซึ่งแสดงว่ามากกว่ากันถึง 500 เท่าและมีผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านได้เสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่าจากรายงานและข้อมูล ไม่พบหลักฐานว่าผู้ที่ปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องอยู่กับเส้นใย ไครโซไทล์เป็นโรคมะเร้งเยื่อหุ้มปอดซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ที่ไม่ สามารถแสดงว่าข้อสงสัยที่ว่าเส้นใยไครโซไทล์ทำให้โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เป็นความจริง (รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Report on the Peer Consultation Workshop to Discuss a Proposed Protocol to Assess Asbestos-Related Risk, EPA, 2003, page 3-13)

“โดย ประมาณ ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลจะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าเส้นใยไครโซไทล์ 4 เท่า (ไม่มาก) และทำให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดมากกว่าถึง 800 เท่า (มาก) อนึ่ง ข้อมูลนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่าเส้นใยไครโซไทล์ทำให้เกิดความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคมะเร็งหุ้มปอด = 0 (จาก(Final Draft: Technical Support Document For A Protocol To Assess Asbestos-Related Risk, EPA, 2003. page 7.50)

“หลักฐานจากการศึกษาคนงานในโรงงาน ที่ใช้ใยหินและจากผลการทดลองกับสัตว์ได้แสดงให้เห็นว่า ใยหินทุกชนิดมีอันตรายทำให้เกิดโรคอย่างเดียวกัน (มะเร็งปอด/แผลในปอด) แต่ระดับความรุนแรงจะไม่เท่ากัน

รูป 1 แสดงโอกาสมาก/น้อย การเป็นโรคจากการได้รับฝุ่นเส้นใยหินชนิดต่างๆ ปริมาณเท่ากันเข้าในร่างกาย (ข้อมูลของ Hodgson and Darnton 2,000) จะเห็นว่าโอกาสเป็นโรคจากใยหินชนิดโครซิโดไลท์มากกว่าเส้นใย ไครโซไทล์ถึง 500 เท่า แสดงว่าชนิดของฝุ่นใยหินมีความสำคัญสำหรับการเกิดโรค (จาก (“A Comparison Of The Risks From Different Materials Containing Asbestos,” HSE, 2006)
เอกสารอ้างอิง

1. Weiss W., “Mortality of a cohort exposed to chrysotile asbestos,” in Journal of Occupational Medicine, 19(11): 737-740, 1977

2. Yarborough, C. M., “Chrysotile as a Cause of Mesothelioma: An assessment based on Epidemiology,” in Critical Reviews in Toxicology, 36: 165-187, 2006

3. Weill, H., Hughes, J. M. and Churg, A. M., “Changing trends in U.S. mesothelioma incidence,” in Occup. Environ. Med., 61: 438-441, 2004

4. Neuberger, M., Vutuc, C., “Three decades of pleural cancer and mesothelioma registration in Austria where asbestos cement was invented,” in Int. Arch.Occup. Environ. Health, 76(2): 161-166, 2003

5. Berman, D.W. and Crump, K.S., Technical Support Document for a Protocol to Assess Asbestos-Related Risk, 2001

6. Hodgson, J.T. and Darnton A., “The quantitative risks of mesothelioms and lung cancer in relation to asbestos exposure,” in Annals of Occupational Hygiene, 44(8): 565-601, 2000

7.Report on the Peer Consultation Workshop to Discuss a Proposed Protocol to Assess Asbestos-Related Risk, U.S. Environmental Protection Agency, pp. 3-13, 2003

8.Final draft: Technical support document for a protocol to assess asbestos-related risk, Environmental Protection Agency, 2003, p. 7.50

9. A Comparison Of The Risks From Different Materials Containing Asbestos, Health and Safety Executive, 2006

Please follow and like us:

ใส่ความเห็น