ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ร่อนสารถึง คสช.ขอความเป็นธรรมกรณีห้ามใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นส่วนผสมในกระเบื้องมุง หลังคา อ้างเหตุทำให้ป่วยและตายได้ ทั้งที่ไม่มีเอกสารวิชาการยืนยัน และส่งผลให้ผู้บริโภคต้องใช้สินค้าแพงขึ้น ชี้หากยกเลิกจริงอาจเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงราว 5 ล้านล้านบาท
นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ประเทศไทย (Chrysotile Information Center หรือ CIC) ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับแร่ใยหิน ไครโซไทล์ เปิดเผยว่า จาก กระแสที่มีผู้ต่อต้านขอให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในอุตสาหกรรมไทยที่ ผ่านมา โดยมีการกล่าวอ้างและโจมตีถึงความเป็นอันตรายของการใช้แร่ใยหินชนิดไค รโซไทล์มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการ หรือในทางการแพทย์ใดที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าแร่ใยหินไครโซไทล์ที่ ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในประเทศไทย เป็นสาเหตุทำให้เกิดผู้ป่วยหรือมีผู้ที่เสียชีวิตจากใยหินชนิดดังกล่าว ขณะที่สิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรตระหนักคือ เรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน หากมีการยกเลิกการใช้ใยหินไครโซไทล์ คาดว่าจะมีมูลค่าความเสียหายสูงถึงประมาณ 5 ล้านล้านบาท”ทางศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ จึงได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ผู้มีอำนาจเกี่ยวข้อง มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียดรอบคอบ และอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา หากมีการเร่งรัดดำเนินการใดๆ ด้วยการรวบรัดออกกฎหมายโดยปราศจากซึ่งการศึกษาอย่างแท้จริงและครบถ้วนแล้ว เกรงว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะกระทบกับสังคมไทยในวงกว้างทั้งหน่วยงาน องค์กรต่างๆและชาวบ้าน ซึ่งเกินกว่าจะเยียวยาได้” นายเมธี กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่มีใยหินไครโซไทล์ เป็นส่วนผสมมากกว่า 50% ของตลาดกระเบื้องมุงหลังคาทั้งหมด คิดเป็นจำนวนผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคน ทั้งนี้หากมีมาตรการห้ามใช้ จะทำให้ผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากราคากระเบื้องที่แพงขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์นั้น ใยหินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันส่วนที่เป็นอันตรายคือใยหินแอมพิบอล (Amphibol) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีเพียงใยหินไครโซไทล์เท่านั้นที่ถูกนำมาใช้ ไม่ใช่ใยหินแอมพิบอล มีประโยชน์ในด้านความแข็งแรง คงทน และทำให้สินค้าที่ผลิตนั้นมีราคาย่อมเยา แต่การพูดถึงแร่ใยหินแบบเหมารวมโดยไม่จำแนกและระบุให้ชัดเจนว่าเป็นแร่ใยหิน ประเภทใด ทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจซึ่งการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ซึ่งในประเทศไทย มีมาตรการด้านความปลอดภัยรองรับอยู่แล้ว
สำหรับแร่ใยหินนั้นมีคุณสมบัติกันความร้อนหนาวได้ดี ในอดีตประเทศแถบตะวันตกจึงนำมาฉาบผนังโดยใช้แร่ใยหินล้วนๆ เมื่อนานไปแร่ก็จะเสื่อมกลายเป็นฝุ่นผง เป็นอันตรายต่อสุขภาพจึงเลิกใช้ ส่วนการผลิตในปัจจุบันมีการพัฒนามานานแล้ว มีความปลอดภัยสูงเพราะเลือกแร่ไครโซไทล์ซึ่งเป็นแร่ใยหินที่สามารถย่อยสลาย ได้หากพลัดหลงเข้าไปในร่างกายสิ่งมีชีวิต โดยใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ และการใช้ไครโซไทล์ในการผลิตกระเบื้องก็มีการผสมซีเมนต์เข้าไปเพื่อยึดใยหิน เอาไว้ทำให้ไม่มีฝุ่นผง จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ “ปัจจุบันยังไม่มีวัสดุทดแทนใดที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าใยหินไครโซไทล์ ที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมได้ อีกทั้งวัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง เช่น ซิลิก้า โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ ก็ยังไม่มีผลการศึกษาถึงความปลอดภัยในการใช้งานและผลกระทบต่อสุขภาพอย่างแท้ จริง ขณะที่ต้นทุนเส้นใยสังเคราะห์หรือวัตถุดิบทดแทนที่นำมาใช้แทนใยหินไครโซไทล์ มีราคาสูงกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับราคาใยหินไครโซไทล์ เมื่อนำมาผสมในการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาแล้ว ราคากระเบื้องสูงขึ้นกว่า 50% เท่ากับเป็นการให้ผู้บริโภค ต้องใช้สินค้าราคาแพงขึ้นโดยไม่จำเป็น ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่รายได้น้อย ทั้งต้องเปลี่ยนหลังคาบ่อยเพราะอายุการใช้งานของกระเบื้องสั้นลง และยังกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยลดลงเพราะประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ยังคงอนุญาตให้มีการใช้ใยหินไครโซไทล์
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ