ใยแก้ว อันตรายต่อสุขภาพ
คนงานในกระบวนกรรมวิธีผลิตใยแก้วมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอด(3) ถูกจัดว่าเป็นสาร/วัตถุ IARC Class 2B“น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์” ประเทศสหรัฐอเมริกาบอกว่า “เป็นวัตถุซึ่งน่าเป็นเป็นสารก่อมะเร็ง” MAK Commission ประเทศสหพันธรัฐเยอรมันระบุว่า“เป็นวัตถุเท่าเทียมกับสารก่อมะเร็ง”
ข้อสรุป
จาการตรวจสอบการเป็นสารก่อมะเร็งของใยแก้วเปรียบเทียบกับใยหินสรุปว่ามีความเป็นสารก่อมะเร็งเท่ากันหรือใยแก้วอาจสูงกว่า (Infante et al, Am.J, Ind. Med. 1994)
ไส้ตะเกียงซิลิกอนคาร์ไบด์ อันตรายต่อสุขภาพ
ไส้ตะเกียงซิลิกอนคาร์ไบด์เป็นวัตถุที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อปอดในระดับที่ชัดเจนทั้งเฉียบพลันและระยะยาว พบว่าระดับของอันตรายสูงกว่าใยหินชนิดโครซิโดไลท์(Vanghan และคณะ En.V. Res 1993
ใยแก้วและใยหิน อันตรายต่อสุขภาพ
พบว่าคนงานในโรงงานผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดนี้ มีจำนวนมากที่เป็นมะเร็งที่ลำคอ หลอดลม และปอด จัดเป็นสาร/วัตถุIARC Class 2B “น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์”
ข้อสรุป
“ทำให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดได้เท่าเทียมกับใยหิน เมื่อเทียบกับปริมาณเส้นใยต่อพื้นทีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ”
(Pelin และคณะ Environment and Molecular Mutagenesis, 1995)
ใยอะรามิด อันตรายต่อสุขภาพ
จากการทดลองกับสัตว์ (หนู)พบว่าเมื่อหายใจเข้าไปในปอดจะเกิดมะเร็ง (1) “ควรมีการควบคุมให้ปริมาณเข้าสู่ร่างกายไม่เกินที่กำหนดสำหรับใยหินจนกว่าจะปรากฎข้อมูลว่าสามารถเกินได้”(2)
ข้อสรุป
จากการทดสอบ Cytotoxicity test พบว่าใยอะรามิดเป็นอันตรายต่อต่อมไทรอยด์ และเซลล์ปอดของหนูในระดับเดียวกันกับใยหินชนิดโครซิโดไลท์และเส้นใยไครโซไทล์ในปริมาณเข้าสู่ร่างกายเท่าๆกันทั้งน้ำหนักและจำนวนเส้นใย (March และคณะ Drug andChem. Toxic, 1994)
เส้นใยเซรามิกส์ทนไฟ (RCF) อันตรายต่อสุขภาพ
จากการทดสอบกับสัตว์ มีหลักฐานพบว่าสามารถทำให้เกิดแผลและก่อมะเร็งที่ปอด จัดเป็นสาร/วัตถุ IARC Class 2B“น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์” MAK Commission ประเทศสหพันธรัฐเยอรมันระบุว่า “เป็นวัตถุเท่าเทียมกับสารก่อมะเร็ง” ประเทศสหรัฐอเมริกาบอกว่า “เป็นวัตถุซึ่งน่าเป็นเป็นสารก่อมะเร็ง”
ข้อสรุป
“เมื่อให้หนูทดลองได้รับเส้นใยเข้าไปในร่างกาย พบว่าการเพิ่มปริมาณของเซลล์มะเร็งขึ้นอยู่กับปริมาณเส้นใยที่ได้รับ” (Rutten และคณะ Fund Appl. Tox, 1994)
เส้นใยจากแมกนีเซียมซัลเฟต/แคลเซียมซัลเฟตและใยแก้ว อันตรายต่อสุขภาพ
“มีทฤษฎีว่าเส้นใยสังเคราะห์บางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าเส้นใยหิน”(Adachi และคณะ Environ, Reseach, 1991)
เส้นใยคาร์บอน/กราไฟท์ อันตรายต่อสุขภาพ
มีหลักฐานแสดงว่ามีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดเสื่อมลง (1)
เส้นใยฟอสเฟท อันตรายต่อสุขภาพ
เมื่อทำการทดลองกับหนูโดยฝังที่ปอดพบว่าทำให้เกิดอาการโคม่า (4)
เส้นใยแอตตาพัลไจต์ อันตรายต่อสุขภาพ
ทำให้เกิดอาการมะเร็งที่ปอดเมื่อทดลองกับสัตว์(7)
เส้นใยโวลาสโทไนส์ อันตรายต่อสุขภาพ
มีหลักฐานที่แสดงว่าทำให้เกิดแผลที่ปอด เยื่อหุ้มปอดหนาและอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังในมนุษย์(6)
เอกสารอ้างอิง
- ILO Safety in the use of mineral and sythetic fibres, p. 40, 1989
- IPCS Environmental Health Criteria 151, Selected Synthetic Organic Fibres, WHO, 1993
- Saracci, R. et al., Brit J Ind Med. 41:425-436, 1984
- U.S. EPA, Status Report FTI-OTS-0386-0486, 1986
- Davis, JMG et al., Biological effects of man-made mineral fibres, Euro Reports and Studies: 81:p. 124, 1983
- Huuskonen, M.S. et al., Environ. Res. 30:291-304, 1983
- Pott, F. et al., Ann. Anat. Pathol. 21:237-246, 1976