ชี้ภาคอุตสาหกรรม-ปศุสัตว์แบกภาระอ่วม 5 แสนล้าน
ประชาชาธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม 2555
4 องค์กรฟื้นปมยกเลิกใช้ ‘แร่ใยหินไครโซไทล์’ หวั่นภาคเกษตร อุตสาหกรรม ครัวเรือน แบกภาระอ่วมกว่า 5 แลนล้านบาท หลังสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติย้อนรอยบทเรียนในอังกฤษหลังปล่อยให้บังคับใช้กฎหมาย ผู้ขาย ร้านค้าปลีก เดือดร้อนถ้วนหน้า
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากกระแสการยกเลิกแร่ใยหินไครโซไทล์เพื่อการผลิตหลังคาและท่อน้ำซีเมนต์ในไทย ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมผู้เลี้ยงสุกรและปศุสัตว์ทั่วประเทศจะต้องรับภาระเพิ่มขึ้น 1.2 แสนล้านบาท และยังสะเทือนไปถึงภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนต้องเดือดร้อนอีกไม่ต่ำกว่า 3.8 แสนล้านบาท หากต้องรื้นถอนโรงเรือนเลี้ยงสุกรทั้งหมดเพื่อหันมาใช้กระเบื้องผสมพลาสติกพีวีซีแทน
เมื่อเร็วๆนี้ทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้รับเชิญจากกลุ่มสหภาพเกษตรกรแห่งชาติของอังกฤษประจำสาขาบักกิงแฮมเชอร์ตอนใต้และมิดเดิลเสกซ์ ไปเยี่ยมชมฟาร์มและแลกเปลี่ยนประเด็นผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรหลังจากประเทศอังกฤษมีการห้ามนำเข้าและห้ามใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นองค์ประกอบในการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่ปี2552 ส่งผลให้ฟาร์มสุกรกว่า 160 แห่ง เพราะไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและสร้างโรงเรือนใหม่ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ตามข้อกำหนดของทางการ ผู้แทนกลุ่มสหภาพฯได้ให้ตัวเลขผลกระทบต่อเกษตรกรทั่วประเทศอังกฤษถึง 6,000 ล้านปอนด์ ขณะที่ทั่วโลกยังใช้แร่ไครโซไทล์ถึง 85%
เกษตรกรในอังกฤษที่ใช้กระเบื้องแร่ใยหินเดือดร้อนมาก เพราะห้ามขายหมูชำแหละ ไก่ ไข่ในร้านขายปลีก ต้องนำมาขายในพื้นที่ทั่วไปแทน ส่วนของไทยทราบว่าหลังประกาศห้ามใช้จะให้เวลาฟาร์มหมู ไก่ ไข่เตรียมตัวเพียง 2 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นจะใช้มาตราการแบนการขายหนักขึ้นทุกปี ซึ่งหมูเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่การยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์นั้นยังมีผลถึงประชาชนทั่วไป โรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร ฟาร์มเกษตรต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐ ที่สำคัญสุดคือในไทยยังไม่มีหลักฐาน ข้อบ่งชี้ที่มีการสำรวจระดับชาติหรือการร้องเรียนใดๆ จากพนักงานเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจากหารใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เลย
ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ สมชัย บวรกิตติ แพทย์ระบบทางหายใจ โรงพยาบาลศิริราช และผู้เชียวชาญเรื่องแร่ใยหิน กล่าวว่า กรณีการถกเถียงเรื่องประเด็นสุขภาพและอันตรายที่เกิดจากแร่ใยหินไครโซไทล์นั้น ที่ผ่านมามีการทำวิจัยและศึกษาถึงผลกระทบที่แท้จริงต่อเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบว่าตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่มีการนำเข้าแร่ใยหินมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทย ยังไม่เคยมีการรายงานผู้ป่วยด้วยเหตุแร่ใยหินที่มีหลักฐานทางวิชาการออกมายืนยันแต่อย่าง
ด้านนางศรีจันทร์ อุทโยภาส อดีตผู้อำนวยการสำนักควบคุมวัตถุอันตราย และอดีตผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีน้ำและสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรมกล่าวว่า ไทยยังใช้แร่ใยหินไครโซไทล์กันมากกว่า 70 ปี มีงานวิจัยจำนวนมากสนับสนุนว่าระดับที่ผลิตภัณฑ์แร่ไครโซไทล์ซีเมนต์อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำงานและสาธารณชนนั้นเป็นระดับที่ต่ำมาก หากต้องเปลี่ยนไปใช้วัสดุทดแทนอย่างพีวีเอก็น่าเห็นใจเพราะอายุการใช้งานได้เพียง 10 ปี
ขณะที่นายประยงค์ เลี้ยงอยู่ ตัวแทนเครือข่ายชุมชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กล่าวว่า ภาคประชาชนไม่เคยรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการยกเลิกแร่ใยหินมาก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานของรัฐออกมาให้ข้อมูลหรือความชัดเจนแต่อย่างใด จนกระทั่งมีกระแสให้ยกเลิกการใช้วัสดุที่มีแร่ใยหิน ควรจะมีการประชาพิจารณ์แก่ผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ใช่เรียกแต่ผู้ผลิตมาหารือแล้วแก้กฎหมาย โดยเฉพาะกระเบื้องมุงหลังคาที่มีการห้ามใช้และต้องรื้นถอน ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนตื่นตระหนกและกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากชุมชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลแทบทั้งหมดมุงหลังคาด้วยกระเบื้องที่มีแร่ไครโซไทล์ทั้งหมด
ทั้งนี้ภายในเดือนตุลาคมนี้ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมจะสรุปเพื่ออกประกาศยกเลิกการใช้แร่ใยหนไครโซไทล์อย่างเป็นทางการ โดยจะให้เวลารื้นถอนให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี