โรคที่เกิดจากใยหิน: ข้อเท็จจริง

กลุ่มผู้ที่ต่อต้านการใช้ใยหินได้แถลงว่าใยหินเป็นวัตถุสำคัญที่สุดที่ทำ ให้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตถึง 100,000 คน แต่ละปี

ตัว เลข 100,000 เป็นตัวเลขที่เกินความเป็นจริงอย่างมาก ซึ่งน่าจะมากจากการนำเอาข้อมูลเพียงบางส่วนจากประเทศในยุโรปมาคาดการณ์เป็น ตัวเลขรวมทั้งโลกโดยไม่ได้พิจารณาข้อมูลประเภทของเส้นใย โครงสร้างปริมาณบริโภคโดยอุตสาหกรรมและเหตุการณ์ควบคุมการใช้ใยหินชนิด ต่างๆอย่างผิดพลาดในอดีต การคาดการณ์หรือทำนายตัวเลขด้วยวิธีง่ายๆลำพังเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง ทำให้ได้ตัวเลขที่เกินความเป็นจริง
ตัว เลข 100,000 คนดังกล่าวนำมาจากรายงานชื่อ “The global burden of disease due to occupational carcinogens” ของ Driscollt และคณะ (2005) และรายงาน“Preliminary estimate calculated from table 21.16, p.1682-1683” ของ Concha-Barrien tos และคณะ (2004) ซึ่งความจริงแล้วผู้เขียนรายงานทั้ง 2 ท่านยอมรับว่าใยหิน2 กลุ่ม ไครโซไทล์และแอมฟิโบลมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันใน หน้า 1687 

http://www.who.int/publications/cra/chapters/volume2/1651-1802.pdf

Section – Asbestos ของรายงาน “Preliminary estimate calculated from table 21.16” ของ Concha – Barrien tos และคณะ (2004) ได้มีข้อความดังนี้
“จากการศึกษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื่องจากใยหินจำนวน 6 โครงการ จำนวนตัวอย่างประมาณ 6,000 คนได้ค่า Standardized mortality rate = 3.5 – 9. 1 ค่า Combined relative risk = 5.9 และจากการศึกษาจำนวน 20 โครงการ จำนวนตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่กับใยหินมากกว่า 100,000 คน ได้ค่า Standardized mortality rate = 10.4 สำหรับเส้นใยไครโซไทล์ และ = 4.97 สำหรับใยหินอะโมไซท์ ค่า Combined relative risk = 2.0 จากรายงานข้างต้น การหาปริมาณในสิ่งแวดล้อม (exposure) เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากมีเพียงบางโครงการเท่านั้นที่มีตัวเลขการวัดด้วย รวมทั้งปัญหาในการแปลงตัวเลข จำนวนเม็ดฝุ่น (ล้าน)/ลบ.ฟุต เป็นหน่วยน้ำหนัก อย่างไรก็ดี สามารถคาดได้ว่าสถานที่ใดที่มีปริมาณเม็ดฝุ่นต่ำ สถานที่นั้นจำนวนผู้ที่เป็นโรคมะเร็งปอดจะไม่มาก
ค่า SMR = 1.04 สำหรับเส้นใยไครโซไทล์ (WHO) มาจากข้อมูลเมื่อ 30-50 ปีในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการควบคุมจำนวนผู้ป่วยจึงไม่มากเหมือนอดีต ข้อสังเกตประการหนึ่งคือค่าSMR = 10. ระบุว่าสำหรับเส้นใยไครโซไทล์ ซึ่งในปัจจุบันมีแต่เพียงเฉพาะเส้นใยชนิดนี้ชนิดเดียวเท่านั้นที่มนุษย์นำ มาใช้
“สำหรับค่าตัวเลขจะคำนวณเฉพาะสำหรับโรค มะเร็งเยื่อหุ้มปอดโดยตั้งสมมติฐานว่า ผู้ที่จะได้รับใยหินเข้าสู่ร่างกายจะอยู่ในวัย 20-45 ปี และการรับจะหยุดโดยสิ้นเชิงเมื่ออายุ 65 ปีเมื่อรวมใยหินทุกชนิดคำนวณค่า Lifetime Risk of Death ด้วยโดยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดได้ = 100 per 100,000/fiber-year per ml. (ประมาณการจากค่า = 400 per 100,000/fiber-year per ml. ของใยหินโครซิโดไลท์ ค่า = 65 per 100,000/fiber-year per ml. ของใยหินอะโมไซท์ และค่า = 2 per 100,000/fiber-year per ml. ของเส้นใยไครโซไทล์ และการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนปริมาณการใช้ของใยหิน 2 กลุ่ม ซึ่งทำให้ปริมาณได้รับเข้าสู่ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในช่วงระยะ 20-50 ปีที่ผ่านมา) – จากรายงาน The global burden of disease due to occupational carcinogens – 2005 page 7 ของ Driscoll T และคณะ

http://www.who.int/quantifying_ehimpacts/global/2carcinogens.pdf

สำหรับโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ควรทราบว่าเกือบทุกรายที่เป็นโรคนี้เนื่องมาจากใยหินกลุ่มแอมฟิโบล ดังหลักฐานข้างใต้ 

“โดยประมาณ ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลจะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าเส้นใยไครโซไทล์ 4 เท่า (ไม่มาก) และทำให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดมากกว่าถึง 800 เท่า (มาก) อนึ่ง ข้อมูลนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่าเส้นใยไครโซไทล์ทำให้เกิดความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคมะเร็งหุ้มปอด = 0 (จากFINAL DRAFT: TECHNICAL SUPPORT DOCUMENT FOR A PROTOCOL TO ASSESS ASBESTOS-RELATED RISK, EPA, 2003. page 7.50 http://www.aeolusinc.com/Protocol_TBD_2003.pdf )

“ปัญหาที่ว่าเส้นใยไครโซไทล์ทำให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อปอดหรือไม่เป็นเรื่อง ที่ถกเถียงกันมานานแล้ว ถึงแม้ว่าจากการศึกษาจะยืนยันว่าใยหินที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นคือ กลุ่มแอมฟิโบลแต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าไม่ใช่กลุ่มไครโซไทล์แน่ จากการทบทวนรายงานและข้อมูลในโครงการศึกษาต่างๆ จำนวน 71 โครงการ เพื่อหาหลักฐานในด้านชนิดของเส้นใย ปริมาณการรับเข้าสู่ร่างกาย และความสอดคล้องของข้อมูล พบว่าไม่ได้มีข้อมูลสนับสนุนว่าเส้นใยไครโซไทล์ (บริสุทธิ์) ทำให้เกิดโรคดังกล่าว ทั้งนี้ปัจจุบันการตัดสินเกี่ยวกับเส้นใยไครโซไทล์ดังในระเบียบ/กฎหมาย ต่างๆ จะขึ้นอยู่กับนโยบายประชาชนเป็นส่วนมาก ไม่ใช่ข้อมูลจากการศึกษา (Charls M. Yarborough, “Chrysotile As A Cause of Mesotheliome : An Assessment Based on Epidemology, 2006, page 1)

“ผลลัพธ์ : จากข้อมูลผู้ป่วยชายโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดของประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงว่า หลังจากที่จำนวนมีปริมาณมากในระยะเวลา 2 ทศวรรษ ต่อมาตั้งแต่ปี 1990 มีแนวโน้มว่าลดลงจากการที่มีการควบคุม
ข้อสรุป : การที่ปริมาณผู้ป่วยมีมากในช่วงระยะเวลา 20 ปี เป็นผลเนื่องมาจากการได้รับฝุ่นใยหินเข้าสู่ร่างกายซึ่งส่วนมากจะเป็นใยหิน กลุ่มแอมฟิโบล (โครซิโดไลท์ และอะโมไซท์)ซึ่งปริมาณที่นำมาใช้สูงที่สุดในช่วงทศวรรษ 1960 หลังจากนั้นต่อมาจึงลดลง ในประเทศอื่น ข้อมูลโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจะแตกต่างกับประเทศสหรัฐอเมริกา (เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง) อาจเนื่องมาจากยังคงใช้ใยหินแอมฟิโบลอยู่โดยเฉพาะชนิดโครซิโดไลท์ ทั้งนี้จากการที่รู้สภาพการณ์ความเป็นไป ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงสามารถลดปริมาณของผู้ป่วยโรคร้ายนี้ลบล้างความหวาด กลัวที่ว่าโรคร้ายนี้จะลุกลามต่อไป (จากH Weill, J M Hughes and A M Churg, “Changing trends in US mesothelioma incidences”, OccupEnviron Med 2004;61:438:41. doi: 10.1136/oem.2003.010165, page 1) 

โรคปอดเนื่องจากแร่ใยหิน (asbestosis)

ปกติผู้ที่ได้รับฝุ่นใยหินเข้าไปในร่างกายปริมาณ 5-20 เส้นใย/ลบ.ซม.เป็นระยะเวลานานๆ จะมีอาการเป็นแผลที่ปอด ถ้าหากได้รับปริมาณต่ำกว่านี้จะมีอาการดังกล่าวหรือไม่ยังไม่เป็นที่ทราบ แน่นอน อย่างไรก็ดี การทราบก็อาจไม่เกิดประโยชน์ ถึงแม้ว่าอาจนำข้อมูลมาใช้เพื่อการควบคุมได้ก็ตาม ทั้งนี้ โรคนี้ถึงแม้เป็นก็จะไม่พัฒนาไปจนถึงขั้นมะเร็งเยื่อหุ้มปอด
จากข้อมูลที่มีอยู่แสดงว่าสามารถที่จะลดปริมาณเข้าสู่ร่างกายและมีมาตรการควบคุมให้อยู่ในระดับที่ต่ำมากๆ ได้
“จาก ข้อมูลของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปและญี่ปุ่น ในช่วงปี 1930 ปริมาณฝุ่นใยหินในเหมือง โรงงาน ฯลฯ อยู่ในระดับที่สูงมาก จนปี 1970 จึงลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ที่เหมืองและโรงงานใยหินในมลรัฐ ควีเบค ในช่วงปี 1970 ปริมาณฝุ่นใยหินในบรรยากาศมักสูงกว่า 20 เส้นใย/ลบ.ซม. แต่ปัจจุบันจะต่ำกว่า 1 เส้นใย/
ลบ.ซม. ในประเทศญี่ปุ่น

Please follow and like us:

ใส่ความเห็น