ผู้บริโภคอาจจะยังไม่ทราบว่า ปัจจุบันมาตรฐานอุตสาหกรรมความแข็งแรงของกระเบื้องระหว่างผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทดแทนแร่ใยหินนั้นมีมาตรฐานที่แตกต่างกันอยู่มาก
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารทดแทนแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบมีความแข็งแรงต่ำกว่า ดังนั้นในแง่ของคุณภาพจึงยืนยันได้ว่าไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์
กระเบื้องมุงหลังคาลอนคู่ที่ไม่มีแร่ใยหิน จะมีความแข็งแรงน้อยกว่า ดังนั้น หากนำกระเบื้องที่ไม่มีความแข็งแรง มาทดแทนกระเบื้องมุงหลังคาแบบเดิม ย่อมทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขึ้นเหยีบหลังคา ดังที่เห็นได้ชัดในตารางมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) นี้
วัสดุที่ใช้ | มีแร่ใยหิน (ไครโซไทล์) | ไม่มีแร่ใยหิน |
มาตรฐานอุตสาหกรรมความแข็งแรงของกระเบื้อง | มอก. 79-25294,250 นิวตันต่อตารางเมตร | มอก.1407-25401,500 นิวตันต่อตารางเมตร |
ความแข็งแรงต่อเส้นใย | 320 กิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร | 160 กิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร |
อยู่ในตลาดคนไทย | 70 ปี | 3 ปี |
ชนิดของเส้นใย | ธรรมชาติ | สังเคราะห์ |
อายุการใช้งาน | 30 ปี | 10 ปี |
ปัจจุบันยังไม่มีวัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าแร่ใยหินไครโซไทล์ที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมได้ อีกทั้งวัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง เช่น ซิลิก้า (Silica) โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (Polyvinyl alcohol : PVA) หรือหินบะซอลต์ (Basalt) ก็ยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัยในการใช้งานและผลกระทบต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เคยมีการห้ามใช้แร่ใยหินไครโซไทล์อย่างเด็ดขาด แต่ในภายหลังกลับต้องอนุญาตให้ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์นั้นในบางอุตสาหกรรม เนื่องจากไม่สามารถหาวัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ามาใช้งานได้ ดังนั้นการลดคุณภาพจึงสร้างผลกระทบโดยตรงไปที่ผู้บริโภคซึ่งต้องรับความเสี่ยงในความปลอดภัยจากการใช้หลังคาที่มีความทนทานน้อยกว่าผลิตภัณฑ์จากแร่ใยหินไครโซไทล์