หลังคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 คณะทำงานขึ้นมาศึกษารวบรวมข้อมูลเรื่องแร่ใยหินใหม่นั้น
ล่าสุด นายศักดา พันธืกล้า รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังจากนายมานพ เจริญจิตต์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ (ซีไอซี) เข้าพบว่าขณะนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งคระทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาและตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการใช้แร่ใยหินตามมติ ครม.แล้ว โดยมีผุ้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมศึกษา ส่วนข้อเสนอเดิมที่จะทยอยยกเลิกการใช่แร่ใยหินในสินค้า 6 รายการหลักภายใน 2-5 ปี ต้องนำกลับมาทบทวนใหม่
“เรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขเองยอมรับว่า ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการก่อให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด การยกเลิกไปโดยไม่มีข้อมูลที่เพียงพออาจถูกฟ้องร้องได้ รวมถึงการศึกษาการใช้แร่บะซอลต์ทดแทนยังไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าจะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าไครโซไทล์หรือจะมีอันตรายมากหรือน้อยกว่าหรือไม่”
นายเมธีอุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรซีไอซีกล่าวว่า ตนพร้อมด้วยนายมานพได้มายื่นหนังสือคัดค้านการยกเลิกการใช้แร่ใยหินต่อ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเห็นว่าคนไทยมีการใช้สินค้าจากแร่ใยหินมากว่า 70 ปีแล้ว โดยไม่มีผลการศึกษาทางวิชาการที่น่าเชื่อถือยืนยันถึงผลกระทบของแร่ใยหินไครโซไทล์ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและต่อผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบ สำหรับผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า การใช้แร่ใยหินส่งผลกระทบต่อสุขภาพนั้นออกมาตั้งแต่ปี 2550 ถ้ามีผู้ป่วยจำนวนมากจริงต้องมีข้อมูลออกมาตลอด แต่เท่าที่ทราบแทบจะไม่ได้รับข้อมูลผู้ป่วย จึงไม่เห็นด้วยที่จะประกาศยกเลิก และได้เสนอให้กระบวนการใช้ที่ปลอดภัย โดยการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นละออง ส่วนการเสนอให้มีการใช้วัสดุอื่นทดแทน ไม่มีผลการศึกษาทางวิชาการ ยืนยันว่าวัตถุดิบดังกล่าวจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ