ข้อมูลสำหรับโพสต์หน้าเว็บ CIC และเว็บที่เกี่ยวข้องกรณียังมีการแชร์หรือส่งต่อภาพ

หลังจากกรณี เพจเฟสบุ๊คที่ใช้ชื่อ Modgazine ได้กระทำการโพสต์ภาพลักษณะคล้ายรูปภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยเถ้าสีขาว

หลังจากกรณี เพจเฟสบุ๊คที่ใช้ชื่อ Modgazine ได้กระทำการโพสต์ภาพลักษณะคล้ายรูปภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยเถ้าสีขาว และมีการกล่าวพาดพิงว่าเกิดจากแร่ใยหิน โดยใช้ข้อความหรือเนื้อหาที่มีเจตนาสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้ที่พบเห็น รวมถึงการแชร์และการแสดงความเห็นอันมีเจตนาส่อไปในการที่ไม่ถูกต้องนั้น ทั้งนี้ได้มีบรรดานักวิชาการ ออกมาแสดงความคิดเห็นและยืนยันว่าการให้ข้อมูลในภาพไม่เป็นความจริง

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า “ที่แชร์เตือนอันตรายกัน เรื่องอย่าไปเที่ยวภูเขาหิมะแร่ใยหิน (asbestos) ที่ชลบุรีนี่ … เท่าที่เช็คจากกระทู้ในพันทิป (http://m.pantip.com/topic/30385396? ) มันเป็นแค่เหมืองหินธรรมดาครับ ประมาณว่าขุดหินไปผสมกับคอนกรีต ไม่ใช่แร่ใยหิน”

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=705836866213617&set=a.348119915318649.1073741829.100003619303769&type=3&theater

นอกจากนี้ ทางศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ยังได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังเพจดังกล่าว โดยมีข้อความตามด้านล่างนี้

ข้อมูลสำหรับโพสต์หน้าเว็บ CIC และเว็บที่เกี่ยวข้องกรณียังมีการแชร์หรือส่งต่อภาพ
ข้อมูลสำหรับโพสต์หน้าเว็บ CIC และเว็บที่เกี่ยวข้องกรณียังมีการแชร์หรือส่งต่อภาพ

 

 

เรียน ท่านเจ้าของเพจเฟสบุ๊คที่ใช้ชื่อ Modgazine

 

ตามที่ท่านได้กระทำการโพสต์ภาพลักษณะคล้ายรูปภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยเถ้าสีขาว และมีการกล่าวพาดพิงว่าเกิดจากแร่ใยหิน โดยใช้ข้อความหรือเนื้อหาที่มีเจตนาสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้ที่พบเห็นเพจของท่าน รวมถึงการแชร์และการแสดงความเห็นอันมีเจตนาส่อไปในการที่ไม่ถูกต้องนั้น

 

ในนามศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความรู้เรื่องแร่ใยหินอย่างถูกต้อง และเฝ้าระวังการนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือนต่อสาธารณชน เมื่อมีการกระทำใดๆ ที่เป็นไม่เป็นความจริงหรือมีการอ้างเกินจริง เราจึงจำเป็นต้องออกมาแสดงจุดยืนและให้ข้อมูลที่ถูกต้องเนื่องจากที่ผ่านมามีความพยายามจากกลุ่มต่อต้านในการยกประเด็นบิดเบือนถึงความเป็นอันตรายของแร่ใยหินไครโซไทล์ และพยายามผลักดันให้มีมาตรการยกเลิกการนำเข้าและการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย ทำให้ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ในฐานะองค์กรที่นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์เห็นว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม จึงเป็นหน้าที่ของศูนย์ข้อมูลฯ ในการนำหลักฐานข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งมาแสดงต่อสาธารณชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบต่อไป

 

ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ขอให้ท่านใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง มานำเสนอ และหยุดการกระทำที่เป็นการบิดเบือน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงรูป การแชร์ หรือ ส่งต่อเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริง ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ซึ่งหากยังพบว่ามีการให้ข้อมูลที่บิดเบือนอยู่ ทางศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์จะขอให้ฝ่ายกฎหมายเข้ามาดำเนินการกับการกระทำดังกล่าวของท่านต่อไป

 

ข้อมูลเกี่ยวกับแร่ใยหิน แร่ใยหินเป็นเส้นใยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เซอร์เพนไทน์ และแอมฟิโบล โดยแร่ใยหินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งในด้านโครงสร้างทางเคมีและด้านคุณสมบัติ ปัจจุบันประเทศไทยได้ห้ามใช้แร่ใยหินประเภทแอมฟิโบลแล้ว เนื่องจากมีผลการศึกษาว่าก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ในขณะที่ยังคงให้ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ (สีขาว) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเซอร์เพนไทน์ได้ต่อไป เนื่องจากไม่มีรายงานการก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพที่ชัดเจนทั้งที่มีการใช้มานานกว่า 70 ปี

 

กรณีการอ้างความเป็นอันตรายที่มีสาเหตุมาจากแร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทยนั้น ที่ผ่านมาศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ที่เฝ้าติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ไม่เคยพบรายงานหรือมีข้อมูลใดที่เป็นหลักฐานยืนยันชัดเจนถึงกรณีการพบผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด ตลอดจนนักวิชาการจากหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องได้เปิดเผยข้อมูลไว้ในจดหมายเหตุเสวนา “นานาทัศนะการใช้ใยหินในอุตสาหกรรมไทย” โดยราชบัณฑิตยสถาน มีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุชัดเจนว่า “แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นใยหินประเภทที่ก่ออันตรายน้อยมาก ใช้กันมากว่า 70 ปี ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบใยหินที่รู้จักกันดี ได้แก่ กระเบื้องซีเมนต์มุงหลังคา ท่อน้ำซีเมนต์ชลประทานและท่อประปา ขนาดใหญ่ ฉนวนต่างๆและผ้าห้ามล้อและจานครัทช์ คนไทยดื่มน้ำฝนจากหลังคาและน้ำประปาจากท่อน้ำใยหินมาหลายสิบปี ยังไม่ปรากฏว่ามีใครเป็นโรคจากใยหิน การอ้างว่าแพทย์ไทยไม่สามารถวินิจฉัยโรคจากใยหินคงไม่ถูก เพราะแพทย์ไทยในช่วงยี่สิบปีมานี้มีความรู้ความสามารถไม่ด้อยไปกว่าแพทย์ตะวันตกแล้ว” ในขณะที่ด้านอดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ ได้เคยให้ข้อมูลไว้ว่าจากผลการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพจากแร่ใยหินของคณะทำงาน สรุปได้ว่ายังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถยืนยันได้ว่าแร่ใยหินไครโซไทล์เป็นสารก่อมะเร็ง 

ที่ผ่านมาศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ตีแผ่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ยืนยันนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย พร้อมแสดงข้อมูลที่ประชุมใหญ่สมัชชาองค์การอนามัยโลก (World Health Assembly : WHA) มีมติยอมรับว่าแร่ใยหินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน อีกทั้งองค์กรแรงงานระหว่างประเทศยังระบุว่าแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีการใช้แร่ใยหินเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย พร้อมหยิบยกถึงความจำเป็นของคนไทยที่ยังต้องใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในชีวิตประจำวัน อาทิ กระเบื้องมุงหลังคา ท่อน้ำซีเมนต์ ผ้าเบรค ฯลฯ ที่ยังไม่มีวัสดุใดมาทดแทนได้ทั้งในด้านคุณภาพความคงทนและราคาดังนั้นศูนย์ข้อมูลฯ จึงจำเป็นต้องตั้งคำถามฝากไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องว่าเหตุใดจึงมุ่งเป้าที่จะกำจัดแร่ใยหินไครโซไทล์และวิงวอนให้ทุกภาคส่วนพิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นธรรมและโปร่งใส นอกจากนี้ในที่ประชุมใหญ่สมัชชาองค์กรอนามัยโลก(World Health Assembly) ครั้งที่ 60 วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ณ เมืองเจนีวา มีมติว่าแร่ใยหินแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จึงควรจัดให้มีการดูแลที่แตกต่างกันไม่มีมติให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแต่อย่างใด ในขณะที่องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ก็มีการระบุชัดเจนว่าแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

 

อย่างไรก็ตาม หากท่านต้องการให้ศูนย์ข้อมูลฯ ชี้แจงในประเด็นใดๆ ทางศูนย์ข้อมูลฯ ยินดีให้ความร่วมมือทุกประการ โดยท่านสามารถติดต่อ นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร โทร. 089-816-4031

 

 

 

Please follow and like us: