ประเทศไทย
ประเทศไทยได้นำเข้าใยหินจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลานานกว่า 70 ปี โดยส่วนใหญ่จะเป็นชนิดเส้นใย ไครโซไทล์ ส่วนใยหินโครซิโดไลท์ทางการได้สั่งห้ามนำเข้า ตามพ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (1992) ปัจจุบันจึงมีเพียงเส้นใย ไครโซไทล์ เท่านั้น โดย 90% นำไปใช้ผลิตซีเมนต์ใยหิน อาทิ กระเบื้องหลังคา ท่อ ฯลฯ 8% นำไปใช้ผลิตเบรคและคลัทช์ และ 2% ที่เหลือนำไปใช้ผลิตกระเบื้อง พื้นไวนิล แผ่นปะเก็น วัสดุฉนวน ฯลฯ จากสถิติ ในปี 2001 ประเทศไทยมีโรงงานเกี่ยวกับใยหินที่จดทะเบียนจำนวนทั้งสิ้น 17 โรงงาน จำนวนคนงาน 1,710 คนต่อไปนี้จากบทความ “Asbestos in Thailand” โดยนายสมเกียรติ ศรีรัตนาพฤกษ์ และศศิธร ทัพทกาภรณ์ กระทรวงสาธารณสุข
“โรค แผลในปอดหรือโรคอื่นๆ ที่เกิดจากใยหินไม่เคยมีการแจ้งให้ทางการหรือกองทุนชดเชยสวัสดิการคนงานใน ประเทศไทยได้ทราบ คงมีเพียงข้อมูลอาการอักเสบในปอด (pleura/thickening) ของคนงานเพียงไม่กี่รายเท่านั้นจากการสำรวจโรงงาน 24 และของกระทรวงสาธารณสุขในปี 1987 คนเป็นโรคนี้ และใน 13 คนดังกล่าว 8 คน ทำงานเกี่ยวกับใยหินมานานกว่า 10 ปี อย่างไรก็ดีไม่ได้มีการติดตามผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป หลังจากการสำรวจ ได้มีการทำการสำรวจอื่นอีก 3 โครงการต่อมา ซึ่งไม่พบว่ามีผู้ป่วยถึงแม้ปริมาณฝุ่นจะสูงก็ตาม ซึ่งสาเหตุอาจเนื่องจากคนงานคลุกคลีเป็นช่วงระยะอันสั้นๆ (โดยเฉลี่ย = 5.2 ปี)
เอกสารอ้างอิง
- Selected occupational risk factors
Concha-Barrientos et al., 2004 - A comparison of the risks from different materials containing asbestos
Health and Safety Executive (HSE), UK, 2006 - Annex 2 to Paper HSC/06/55
Health and Safety Executive (HSE), UK, 2006 - Occupational exposure to asbestos and man-made vitreous fibres and risk of lung cancer: a multicentre case-control study in Europe
Carel, R. et al., 2006 - Three decades of pleural cancer and mesothelioma registration in Austria where asbestos cement was invented
Neuberger, M. and Vutuc, C., 2003 - The risk of mesothelioma from exposure to chrysotile asbestos
Yarborough, C. M. (2007) - The expected burden of mesothelioma mortality in Great Britain from 2002 to 2050
Hodgson, J.T. et al. (2005) - Asbestos in water: How to Address Non-standard Samples of Industrial and Other Effluents
Ehrenfeld, F. (2009)