แร่ใยหิน ไครโซไทล์

ความคงทนทางชีวภาพ

“จากการศึกษาเส้นใย ไครโซไทล์พบว่าสามารถย่อยสลายได้โดยไม่ยากในปอดเส้นใยชนิดนี้เป็นเส้นใยธรรมชาติและความสามารถในการย่อยสลายปรากฏว่ามีแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดอย่างไรก็ดีค่าความสามารถในการย่อยสลายจะอยู่ประมาณตำแหน่งปลายๆ(สามารถย่อยสลายได้ดี) โดยพิสัยจะประมาณใกล้เคียงกับเส้นใยแก้วและหินที่ค่าสุดท้ายเส้นใย ไครโซไทล์จะย่อยสลายได้ง่ายกว่าเส้นใยเซรามิกส์เส้นใยแก้วชนิดพิเศษและเส้นใยหินชนิดแอมฟิโบล

การที่เส้นใยไครโซไทล์สามารถย่อยสลายได้ง่ายเป็นผลเนื่องมาจากโครงสร้างทางเคมีทำให้ย่อยสลายจากเส้นใยต่างๆไปเป็นสสารอสัณฐาน(จากDavid m. Bernstein, Fiber Toxicology, Chapter 11 “Toxicology of the lung”, 2006 by CRC Press Taylor & Francis Group, page 467, 468)

“เนื่องจากเส้นใยไครโซไทล์สามารถย่อยสลายได้ดีกว่าเส้นใยโครซิโดไลท์ดังนั้นการตกค้างอยู่ในร่างกายมนุษย์เป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นกว่าจากการศึกษาในหลอดทดลองเส้นใยไครโซไทล์ขนาดผ่าศูนย์กลาง1 ไมครอนเมื่อเข้าไปในร่างกายมนุษย์จะย่อยสลายใช้ระยะเวลาประมาณ1 ปีแต่ถ้าเป็นเส้นใยโครซิโดไลท์จะใช้เวลา60 ปีอย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่าถึงแม้จะย่อยสลายง่ายแต่ในควีเบคเมื่อ50 ปีก่อนหลังจากมลภาวะฝุ่นใยหินลดลงจนถึงปัจจุบันก็ยังมีคนงานเสียชีวิตเนื่องจากโรคมะเร็งปอดอยู่ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะว่าเนื่องมาจากใยหินแอมฟิโบลหรือการที่จะเป็นโรคนี้เส้นใยหินที่เข้าสู่ร่างกายไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดย่อยสลายยากก็เป็นได้จาก

(Final Draft: Technical Support Document For A Protocol To Assess Asbestos-Related Risk, EPA, 2003, page 7.32)

ปอดมนุษย์สามารถกำจัดแบคทีเรียและเส้นใยที่หลุดรอดเข้าไปในร่างกายได้

เส้นใยชนิดไครโซไทล์กับชนิดแอมฟิโบลจะแตกต่างกันคือ ไครโซไทล์สามารถย่อยสลายได้ด้วยฤทธิ์กรดแต่แอมฟิโบลจะไม่ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคเมื่อมนุษย์เราหายใจฝุ่นละอองและเชื้อแบคทีเรียจะผ่านเข้าทางจมูกลำคอเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแต่ส่วนมากจะติดอยู่ที่ผนังหลอดลมซึ่งมีเมือกเหนียวๆอยู่กำจัดออกโดยการไอหรือถ่มน้ำลายหรืออาจกลืนลงกระเพาะไปกรณีหลุดรอดเข้าไปถึงปอดก็จะมีเซลล์เม็ดโลหิตขาวมาทำหน้าที่กำจัดเซลล์เม็ดโลหิตขาวนี้จะเดินทางเคลื่อนที่ไปตามช่องว่างในปอดทำหน้าที่เก็บกวาดทำลายอนุภาคฝุ่นและเชื้อโรคที่พบเจอโดยกินย่อยหรือทำออกนอกเส้นทางอย่างไรก็ดีเส้นใยหินจะมีขนาดยาวซึ่งเซลล์เม็ดโลหิตขาวไม่สามารถย่อยกำจัดได้

เซลล์เม็ดโลหิตขาวเมื่อกลืนอนุภาคแปลกปลอมจะปล่อยน้ำย่อยออกมาเหมือนกับกระเพาะของมนุษย์ปล่อยน้ำย่อยเพื่อย่อยอาหารที่กินเข้าไปน้ำย่อยของเซลล์เม็ดโลหิตขาวจะมีฤทธิ์เป็นกรดpH = 4

เส้นใยไครโซไทล์มีคุณสมบัติสามารถละลายได้ในกรดแต่ชนิดแอมฟิโบลจะไม่เนื่องจากเส้นใยค่อนข้างยาวจะต้องใช้เม็ดโลหิตขาวจำนวนมากในการกินกระบวนการทำลายจะเกิดซ้ำอย่างต่อเนื่องจนถูกกินหมดแต่ถ้าหากเป็นเส้นใยหินโครซิโดไลท์/อะโมไซท์จะไม่สามารถกินได้คงอยู่ในปอดตลอดไปทั้งนี้ทั้งนั้นเซลล์เม็ดโลหิตขาวทำลายสิ่งแปลกปลอมจะมีอยู่ปริมาณเพียงสมควร 

 

อกสารอ้างอิง

Bernstein, D. M., “Fiber Toxicology,” in Toxicology of the lung, Donald E. Gardner, 4th edition, CRC Press, Boca Raton, 2006, pp. 467-468
Final Draft: Technical Support Document For A Protocol To Assess Asbestos-Related Risk, Environmental Protection Agency, 2003, p. 7.50

Please follow and like us:

ใส่ความเห็น