Chrysotile แร่ใยหิน

การแพร่กระจาย

จาก การศึกษาด้านนี้โดย Liddell, McDonald & McDonald (1997) แสดงว่าในปัจจุบันซึ่งมีการควบคุมปริมาณฝุ่นเส้นใยในโรงงาน (~ 1 เส้นใย/ลบ.ซม. x 8 ชม.) จำนวนของผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากฝุ่นใยหินไม่มีการเพิ่มสูงขึ้น (เฉพาะโรงงานที่ใช้เส้นใย ไครโซไทล์)

วันที่ 19 ตุลาคม 2006 IARC ได้เสนอบทความในวารสาร “Occupational exposure to asbestos and man-made vitreous fibres and risk of lung cancer: a multicentercase-control study in Europe,”

ซึ่งเป็นการศึกษา ดำเนินการในปี 1998-2002 ในประเทศทวีปยุโรป 7 ประเทศ โดยศูนย์ทางวิทยาศาสตร์ 6 ศูนย์ร่วมกัน
ข้อ สรุปในบทความ : จากการศึกษานี้ ผลแสดงว่าในพื้นที่ยุโรปภาคกลางและตะวันออก การอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นใยหินและ MMVF ไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคมะเร็งปอด ซึ่งตรงกันข้ามกับในประเทศสหราชอาณาจักรพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งการที่แตกต่างกันนี้สาเหตุอาจอยู่ที่ชนิดของใยหินและสภาพแวดล้อม
ถึง แม้ว่าจากการศึกษาจะยืนยันว่า ใยหินชนิดแอมฟิโบลเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งปอด อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์กับเส้นใย ไครโซไทล์ยังไม่เป็นที่ชัดเจน จึงได้มีการตรวจสอบรายงานการศึกษาต่างๆ อย่างละเอียดในด้านชนิดของใยหิน ปริมาณที่มีอยู่ในบรรยากาศ และความสอดคล้องของข้อมูล จากข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 71 ชุด ไม่ได้สนับสนุนสมมติฐานที่ว่าโรคมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากฝุ่นเส้น ใย ไครโซไทล์ + ฝุ่นใยหินแอมฟิโบล (จาก Yarborough (2006) Chrysotile as a Cause of mesothelioma : An Assessment based on Epidemiology, Critical Reviews in Toxicology 36:165-187)
ปัจจุบัน มีคนประมาณ 125 ล้านคน ทั่วโลกที่ทำงานอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นใยหิน และอย่างต่ำที่สุดแต่ละปีมี 90,000 คนที่เสียชีวิตลงด้วยโรงมะเร็งปอด จากรายงานการศึกษาจำนวน20 โครงการกับคนงาน 100,000 คน อัตราการเสียชีวิต (mortality rate) จะ = 1.04 สำหรับเส้นใย ไครโซไทล์ และ = 4.97 สำหรับใยหินชนิด
อะมอไซท์ และอัตรารวม = 2.00 สำหรับปริมาณฝุ่น หาค่าตัวเลขได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากไม่ใคร่ปรากฏข้อมูลในรายงาน อีกประการหนึ่งมีปัญหาในการแปลงค่าจากจำนวนเม็ด/ลบ.ฟุต เป็นหน่วยน้ำหนัก ทั้งนี้ทั้งนั้นพอคาดได้ว่าถ้าปริมาณฝุ่นน้อย การเกิดโรคก็จะน้อยตาม(Concha-Barrientos M, et al., “Comparative Quantification of Health Risks: Global and Regional Burden of Disease Attributable to Selected Major Risk Factors” in: Ezzati M, Lopez AD, Rodgers A, Murray CJL, eds. Geneva: World Health Organization, chapter 21, 2004)

ใน อดีต การประมาณค่าเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากฝุ่นใยหินจะเป็นฝุ่นใยหินชนิดต่างๆ รวมกัน จนปี 2000 Hodgson & Darton จึงทำการประมาณค่าโรคเดียวกันแต่จากฝุ่นใยหินแต่ละชนิดแยกกัน

ได้ตัวเลขดังนี้
โครซิโดไลท์ (ใยหินสีฟ้า)
400/100,000/เส้นใย-ปี ต่อ ลบ.ซม.
อะโมไซท์ (ใยหินสีน้ำตาล)
45/100,000/เส้นใย-ปี ต่อ ลบ.ซม.
ไครโซไทล์ (ใยหินสีขาว)
2/100,000/เส้นใย-ปี ต่อ ลบ.ซม.
เอกสารอ้างอิง
1. Liddell, F. D. K., McDonald, A. D. and McDonald, J. C., “The 1891-1920 birth cohort of Quebec chrysotile miners and millers: development from 1904 and mortality to 1992,” in Annals of Occupational Hygiene, 41: 13-36, 1997

2. Carel, R., Olsson, A.C., Zaridze, D., et al., “Occupational exposure to asbestos and man-made vitreous fibres and risk of lung cancer: a multicenter case-control study in Europe,” in Occup. Environ. Med., 64(8): 502–508, 2007

3. Yarborough, C. M., “Chrysotile as a Cause of Mesothelioma: An assessment based on Epidemiology,” in Critical Reviews in Toxicology, 36: 165-187, 2006

4. Concha-Barrientos, M., et al., “Selected occupational risk factors,” in Comparative Quantification of Health Risks: Global and Regional Burden of Disease Attributable to Selected Major Risk Factors World Health Organization, Geneva, pp. 1651-1802, 2004

5. Hodgson, J.T. and Darnton A., “The quantitative risks of mesothelioms and lung cancer in relation to asbestos exposure,” in Annals of Occupational Hygiene, 44(8): 565-601, 2000

Please follow and like us:

ใส่ความเห็น