ความเป็นมา
ที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA) เป็นผู้มีอำนาจในการตัดใจสูงสุดและกำหนดนโยบายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมติที่ 60.26 ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2007 ว่าด้วยการรณรงค์ระดับนานาชาติเพื่อกำจัดโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน โดยให้ตระหนักถึงวิธีการที่หลากหลายเพื่อกำหนดกฏเกณฑ์ควบคุมแร่ใยหินที่แตกต่างกันตามแต่ละชนิด
ในเดือนกันยายนและสิงหาคม ปี ค.ศ. 2007 คณะกรรมาธิการร่วมอาชีวอนามัย (Occupational Health) ซึ่งเป็นคณะร่วมระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ดำเนินการเผยแพร่ เค้าโครงเพื่อการพัฒนาหลักสูตรแห่งชาติสำหรับการขจัดโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน ซึ่งเค้าโครงดังกล่าวได้ระบุไว้ว่า “วิธีการขจัดโรคที่เกิดจากแร่ใยหินที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการหยุดใช้แร่ใยหินทุกชนิด” การที่เค้าโครงดังกล่าวเรียกร้องให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกชนิดนั้น ถือเป็นการแย้งมติของที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA) ซึ่งได้เรียกร้องให้คำนึงถึงความแตกต่างของรูปแบบและะวิธีการจัดการของแร่ใยหินเหล่านั้น
ข้อเท็จจริง
คำแนะนำของสำนักเลขาธิการองค์การอนามัยโลกให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินขัดกับนโยบายของที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจการตัดใจสูงสุดและเป็นผู้กำหนดนโยบายขององค์การอนามัยโลก (WHO)
จากข้อสรุปมติที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกครั้งที่ 60 ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2007 ถือเป็นการประกาศจุดยืนอย่างเป็นทางการว่าจะกำจัดโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน มติดังกล่าวเป็นมติที่เกิดจากการอภิปรายและตัดสินใจของประเทศสมาชิก ซึ่งไม่ได้แนะนำให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกชนิด แต่สนับสนุนให้มีการใช้วิธีการที่แตกต่างออกไปคือการให้แต่ละประเทศเลือกใช้วิธีการต่างๆเอง เช่น นโยบายการใช้อย่างปลอดภัย ดังนั้นคำแนะนำให้การห้ามใช้แร่ใยหินทุกชนิดนั้น เป็นการตีความของสำนักเลขาธิการองค์การอนามัยโลกที่ไม่ถูกต้อง
ไม่มีหลักฐานสนับสนุนคำกล่าวอ้างที่ว่ามีผู้เสียชีวิต 107,000 รายในแต่ละปีจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้แร่ใยหินตามที่มีการอ้างอิงในประเทศไทย
จำนวนผู้เสียชีวิต 107,000 รายนั้นเป็นตัวเลขที่สร้างความเข้าใจผิดจากการอนุมานจำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตจากแร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลซึ่งถูกห้ามใช้ในประเทศไทย ต่างจากแร่ไครโซไทล์ที่มีกฎการใช้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษาทางการแพทย์หรือสถิติใดที่แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์จากแร่ไครโซไทล์นั้นก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจากการผลิต การติดตั้ง หรือการใช้ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาในประเทศไทย
อันที่จริงแล้วจำนวนผู้เสียชีวิต 107,000 รายนั้นนำมาจากรายงาน Driscoll T et al และ Concha-Barrientos et al อย่างไรก็ตามผู้เขียนทั้งสองได้ทำการแยกแยะให้เห็นชัดเจนว่าความเสี่ยงของการใช้แร่ใยหินแต่ละชนิดแตกต่างกัน จากหน้าที่ 1,687 จากรายงานของ Concha-Barrientos et al ระบุว่า
““จากงานวิจัย 20 ชิ้นที่ศึกษาในคนงานกว่า 100,000 คนที่ทำงานกับแร่ใยหิน อัตราการเสียชีวิตที่เป็นอัตรามาตรฐานมีตั้งแต่ 1.04 สำหรับคนงานที่ทำงานกับแร่ไครโซไทล์ จนถึง4.97 สำหรับคนงานที่ทำงานกับแร่อะโมไซท์ (amosite) โดยมีอัตราความเสี่ยงสัมพัทธ์ร่วมกันที่ 2.00 เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีงานวิจัยไม่กี่ชิ้นที่รายงานเกี่ยวกับการวัด และเนื่องจากมีปัญหาในการแปลงหน่วยวัดเดิมจากล้านอนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุต มาเป็นหน่วยวัดปริมาณความถ่วง (gravimetric units) อย่างไรก็ตาม การสัมผัสกับแร่ใยหินในระดับความเข้มข้นต่ำจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดไม่มากนัก””