Chrysotile แร่ใยหิน

การทำนายของเพโต : การใช้ข้อมูลผิดๆ และผลกระทบต่อความเข้าใจของสาธารณชน

ข้อมูลสถิติมักถูกใช้เพื่อทำนายเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นในเชิงปริมาณ ตามเกณฑ์ของการอนุมานจากข้อมูลในอดีต ในที่นี้ ทั้งคุณภาพและความเกี่ยวเนื่องของข้อมูลในอดีตดังกล่าวนั้นเป็นหัวใจสาคัญ ตัวอย่างหนึ่งของการใช้ข้อมูลในอดีตที่ไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่เหมาะสม คือ การทำนายจานวนการเสียชีวิตที่เกี่ยวพันกับ “แร่ใยหิน” โดยนักวิชาโรคระบาดวิทยา จูเลี่ยน เพโต (Julian Peto) ในปี 1995 ซึ่งเพโตได้คานวณจานวนการเสียชีวิตในอนาคตที่เกี่ยวพันกับ “แร่ใยหิน” ตามเกณฑ์การสัมผัสกับ “แร่ใยหิน” การใช้ “แร่ใยหิน” ในการคานวณนี้ ได้เหมารวมแร่ใยหินทุกชนิดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ไครโซไทล์ และแร่ใยหินในกลุ่มแอมฟิโบล เช่น โครซิโดไลท์ และ อะโมไซท์ จานวนการเสียชีวิตที่เกี่ยวกันกับ “แร่ใยหิน” ตามที่ทานายไว้ (หลายพันคนต่อปี) ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทาให้เกิดความกังวลไปทั่วโลก และการทานายนี้ถูกผู้ที่มีความหลงเชื่อบางคนนาไปใช้ แล้วด่วนสรุปเอาเองว่าควรห้ามการใช้แร่ใยหินทุกชนิดทั่วโลก

ตัวอย่างนี้อธิบายว่าความเกี่ยวเนื่องของข้อมูลในอดีตที่ถูกต้องนั้นมีความสาคัญอย่างไรในการนาไปสู่การทานาย ซึ่งแน่นอนว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงผลที่จะทาให้สาธารณชนตื่นตระหนก
เราขออ้างคาพูดของศาสตราจารย์ริชาร์ด วิลสัน แห่งมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด:
“การรับรู้ต่างๆ มักเป็นในลักษณะการตีโพยตีพาย ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดต่อประสบการณ์ของคนงานที่ทางานกับแร่ใยหินที่สัมผัสกับแร่ใยหินในระดับที่สูงในช่วงปีทศวรรษ 1930 ถึง 1960”

ในการวิจารณ์ของวิลสันในหัวข้อ “การเสนอให้ห้ามใช้แร่ใยหิน” (คณะอนุกรรมการวุฒิสภาว่าด้วยความปลอดภัยในการจ้างงานและสถานที่ทางาน ภายใต้คณะกรรมการวุฒิสภาว่าด้วยเรื่อง สุขภาพ การศึกษา แรงงาน และเบี้ยบานาญ, 1 มีนาคม 2007) ;วิลสันพูดเสริมว่า:“ตอนนี้การค้าขายแร่ใยหินในกลุ่มแอมฟิโบล ถูกยกเลิกแล้วอันเนื่องจากแรงต่อต้านทางเศรษฐกิจ ทาให้การบริโภคแร่ใยหินในสหรัฐลดลงถึงร้อยละ 99.75 คือเหลือการใช้เฉพาะแร่ไครโซไทล์เพียงอย่างเดียว และระดับการสัมผัสกับแร่ใยหินในสถานที่ทางานลดลงหลายร้อยเท่า ไม่มีการให้เหตุผลสาหรับการห้ามใช้แร่ไครโซไทล์แม้จะใช้ในลักษณะมีการควบคุมก็ตาม ซึ่งการใช้แร่ใยหินในปะเก็น แหวนรูปตัว O และชิ้นส่วนอื่นๆที่คล้ายๆกันนี้ แทบไม่มีความเสี่ยงต่อผู้ใด และการจากัดการใช้แร่ใยหินโดยปราศจากเหตุผลนั้นมีผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของชาวสหรัฐโดยรวม”

หากวิเคราะห์การทานายแบบเพโตประกอบแล้ว นักวิชาการโรคระบาดด้านบริหารสุขภาพและความปลอดภัยของอังกฤษสองท่าน ได้ตีพิมพ์เผยแพร่รายงานชิ้นหนึ่งในปี 2000 ในหัวข้อ คนงานที่สัมผัสกับแร่ใยหิน ซึ่งให้ข้อมูลระดับการสัมผัสใยหิน ซึ่งเป็นระดับที่สามารถประเมินการสัมผัสสะสมโดยเฉลี่ยของคนงานแต่ละคนได้ จากระดับการสัมผัสแร่ใยหินของคนงานที่มองเห็นได้ ได้ข้อสรุปว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอด (mesothelioma) จากการสัมผัสแร่ใยหินสามชนิดหลักที่มีการค้าขายกันนั้นมีอัตราส่วนที่กว้าง คือ 1:100:500 สาหรับไครโซไทล์, อะโมไซท์ และ โครซิโดไลท์ ตามลาดับ สาหรับมะเร็งปอดความแตกต่างในความเสี่ยงระหว่าง ไครโซไทล์ และแร่ใยหินในกลุ่มแอมฟิโบลทั้งสองชนิดดังกล่าวอยู่ที่ 1:10 และ 1:50 (Hodgson JT & Darnton A) และจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือคนใดออกมาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ว่าผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากแร่ไครโซไทล์ และแร่ใยหินในกลุ่มแอมฟิโบลนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ

 

 

Please follow and like us:

ใส่ความเห็น