ไครโซไทล์ใช้ที่ไหน
ในประเทศไทยแหล่งบริโภคผลิตภัณฑ์จากเส้นใยไครโซไทล์คือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆทั่วประเทศเส้นใยที่นำเข้าปริมาณ 90% จะนำไปใช้ผลิตซีเมนต์อาทิกระเบื้องหลังคาท่อฯลฯส่วนที่เหลือใช้ทำเบรกและคลัทช์ (8%) กระเบื้องไวนิลปูพื้นปะเก็นฉนวนความร้อน (2%)
จะเห็นว่าเส้นใยไครโซไทล์ส่วนมากจะถูกนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เนื้อมีความหนาแน่นสูงดังนั้นเส้นใยเหล่านี้จึงถูกฝังอยู่ภายในไม่กระจายเป็นฝุ่นฟุ้ง
ซีเมนต์จากเส้นใยไครโซไทล์รูปแบบต่างๆเป็นผลิตภัณฑ์ที่ราคาประหยัดและคุ้มค่าสำหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัยในด้านสาธารณูปโภคท่อซีเมนต์เป็นอุปกรณ์ที่การใช้งานมีประสิทธิภาพคุ้มราคาสำหรับงานประปาน้ำทิ้งชลประทานและท่อระบายโดยสรุปสำหรับประเทศไทยผลิตภัณฑ์ซีเมนต์จากเส้นใยไครโซไทล์ตอบสนองในด้านเศรษฐกิจการเพิ่มปริมาณของประชากรการสร้างชุมชนและทรัพยากรที่มีจำกัด
การใช้ใยหิน
ประเทศทางยุโรปและสหรัฐอเมริกา ประเทศไทย(ผลิตภัณฑ์ ) |
ซีเมนต์ใยหิน(วัสดุพื้นผิวความฝืด ) |
|
---|---|---|
Products | Friction MaterialsInsulation | Chrysotile- Cement roof tilesHigh Density |
Types of asbestos | ChrysotileAmositeCrocidolite | Chrysotile |
“กรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยวิธีตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกได้ทำการสำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทกระเบื้องมุงหลังคาซีเมนต์และท่อซีเมนต์ในปีพ.ศ. 2544 ผลการประเมินความเข้มข้นแร่ใยหินจากการเก็บตัวอย่างในหลายแผนกใน4 โรงงานดังกล่าวมีค่าระหว่าง0.01 – 0.77 เส้นใย/ลบ.ซม.
อุตสาหกรรมในประเทศ
เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้ากระเบื้องมุงหลังคา บริษัทกระเบื้องกระดาษไทย จำกัดได้เริ่มการผลิคกระเบื้องซีเมนต์ใยหินในประเทศเมื่อปี 2481 และได้หยุดการผลิตกระเบื้องชนิดนี้ในปลายปี 2549มีการเปลี่ยนไปผลิตกระเบื้องซีเมนต์เส้นใยโดยใช้เส้นใยทดแทน เมื่อต้นปี 2550
เทคโนโลยี่การผลิตแบบแฮทเชค(Hatschek) ได้มีการนำเข้ามาใช้ผลิตกระเบื้องซีเมนต์ใยหินเมื่อปี 2504 เนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงจึงเป็นที่นิยม ปัจจุบันผู้ผลิตส่วนใหญ่เลือกใช้เทคโนโลยี่แบบแฮทเชคนี้
ผู้ผลิตที่เหลืออีก 3 รายยังคงผลิตกระเบื้องซีเมนต์ใยหินต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้าที่นิยมของประชาชน
กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน นิยมใช้ในการมุงหลังคา เป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนนาน ทนฝน ทนแดดน้ำหนักเบา และราคาถูก เหมาะสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา รายได้ประชาชนยังไม่สูง
ผู้ผลิต กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน* รายใหญ่ ปัจจุบัน 2 รายดังนี้
บริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด
บริษัท กระเบื้องหลังคาตราเพชร จำกัด (มหาชน)