งานศึกษาวิจัยชิ้นต่างๆที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วในช่วงประมาณสามสิบปี ต่างสรุปว่าไม่สามารถวัดระดับความเสี่ยง ที่เกิดจากการใช้ไครโซไทล์ได้ เมื่อระดับความเข้มข้นในอากาศอยู่ในระดับมาตรฐาน คือ ≤ 1 เส้นใย / ลบ.ซม. (≤ 1FIBER /CC)
ซึ่งข้อสรุปของนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
Weill, H., uges, J. and Waggenspack, C. (1997). ผลกระทบปริมาณและชนิดเส้นใยต่อความเสี่ยงของโรคร้ายทางเดินระบบหายใจในการผลิตซีเมนต์แร่ใยหิน (Influence of dose and fiber type on respiratory malig-nancy risk in asbestos cement manufacturing). Amer-ican Review of Respiratory Disease 120(2): 345-354.
จากการตรวจสอบคนงานผลิตซีเมนต์แร่ใยหิน 5,645 คน พบว่าไม่มีจานวนการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอันมีสาเหตุมาจากการสัมผัสกับไครไซไทล์มากว่า 20 ปี ที่ระดับความเข้มข้นเท่ากับหรือต่ากว่า 100 MPPC.ปี (หรือเท่ากับประมาณ 15 เส้นใย/มล.ปี) ผู้วิจัยกล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม การทางานที่สัมผัสกับไครไซไทล์ในระดับความเข้มข้นที่ต่าและในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ทาให้เกิดความเสี่ยงจากโรคร้ายทางเดินระบบหายใจ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการมีนโยบายควบคุม เนื่องจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้และข้อมูลเหล่านี้ ยืนยันว่าการสัมผัสไครโซไทล์ในระดับความเข้มข้นต่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงใดๆ”
Thomas, H.F., Benjamin,’ I.T., Elwood, P.C. and Sweetnam, P.M. (1982).
งานวิจัยติดตามผลเพิ่มเติมในคนงานจากโรงงานซีเมนต์แร่ใยหิน (Further follow-up study of workers from and asbestos cement factory). British Journal of Industrial Medicine 39(3): 273-276.
ในโรงงานซีเมนต์แร่ใยหินที่ใช้เฉพาะไครโซไทล์เท่านั้น มีการเฝ้าติดตามคนงาน 1,970 คน และตรวจสอบจานวนการเสียชีวิตของคนงานดังกล่าว พบว่า ไม่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเกินมาตรฐาน และมีการตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิต รวมทั้งสาเหตุทั่วๆไปของการเสียชีวิต เนื้องอกทุกประเภท มะเร็งปอดและเยื่อหุ้มปอด และมะเร็งในลาไส้และระบบทางเดินอาหาร ผู้วิจัยระบุว่า: “จากการสารวจจานวนการเสียชีวิตนี้ ชี้ให้เห็นว่า คนงานในโรงงานซีเมนต์แร่ไครโซไทล์แห่งนี้ที่ได้ทาการวิจัย ไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากอัตราการเสียชีวิตตามปรกติ อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งทุกประเภท มะเร็งปอดและเยื่อหุ้มปอด หรือมะเร็งลาไส้และทางเดินอาหาร ”
Berry, G. and Newhouse, M.L. (1983). จานวนการเสียชีวิตของคนงานผลิตวัสดุขัดสีที่ใช้แร่ใยหิน (Mortality of workers manufacturing friction materi-als using asbestos). British Journal of Industrial Medicine 40(1): 1-7.
งานศึกษาจานวนการเสียชีวิต (ตั้งแต่ปี 1942-1980) ชิ้นหนึ่ง ที่ทาการศึกษาในโรงงานผลิตวัสดุขัดสี ที่ใช้ไครโซไทล์เกือบทั้งหมด โดยเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตทั่วประเทศ ไม่พบว่ามีจานวนการเสียชีวิตเนื่องมาจากมะเร็งปอด มะเร็งลาไส้และทางเดินอาหาร หรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่มากเกินมาตรฐานปรกติระดับความเข้มข้นของไครโซไทล์ในอากาศนั้นต่า มีเพียงแค่ร้อยละ 5 ของคนงานชายเท่านั้นที่สัมผัสกับไครโซไทล์สะสมที่ปริมาณ 100 เส้นใย-ปี/มล. (100 fiber-years/ml.) ผู้วิจัยระบุว่า: “จากประสบการณ์กว่า 40 ปีที่โรงงานแห่งนี้ พบว่า การนาแร่ไครโซไทล์มาผ่านกระบวนการที่โรงงานแห่งนี้ ไม่ได้ทาให้อัตราการเสียชีวิตของคนงานนั้นมากเกินปรกติ”
Gardner, M.J., Winter, P.D., Pannett, B. and Powell, C.A. (1986). งานวิจัยติดตามผลเพิ่มเติมในคนงานจากโรงงานซีเมนต์แร่ใยหิน (Further follow-up study of workers from and asbestos cement factory). British Journal of Industrial Medicine 43: 726-732.
จากการศึกษาคนงานจานวน 2,167 คน ที่ทางานระหว่างปี 1941 ถึง 1983 ไม่พบอัตราการเกิดมะเร็งปอด หรืออัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับแร่ใยหินที่เกินปรกติ ที่ระดับความเข้มข้นเฉลี่ยของเส้นใยต่ากว่า 1 เส้นใย/มล. (1 f/ml) แม้ว่า บางทีระดับความเข้มข้นอาจสูงกว่านี้ในบางพื้นที่ของโรงงานซีเมนต์แร่ใยหินแห่งนี้ก็ตาม
Newhouse, M.L. and Sullivan, K.R. (1989). A mortal-ity study of workers manufacturing friction materials: 1941-86. (งานศึกษาจานวนการเสียชีวิตของคนงานผลิตวัสดุขัดสี). British Journal of Industrial Medicine 46(3): 176-179.
งานศึกษาวิจัยที่อ้างอิงข้างต้น (Berry and Newhouse, 1983) ได้ดาเนินการศึกษาต่อเนื่องถึงเจ็ดปี ผู้วิจัยยืนยันว่าไม่พบอัตราการเสียชีวิตเกินปรกติจากมะเร็งปอด หรือเนื้องอกที่เกี่ยวกับแร่ใยหิน หรือจากโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง หลังปี 1950 โรงานแห่งนี้ได้ปรับปรุงระบบควบคุมสุขอนามัยอย่างต่อเนื่อง และจากปี 1970 ระดับความเข้มข้นแร่ใยหินในอากาศนั้นไม่เกิน 005-1.0 เส้นใย/มล. ผู้วิจัยสรุปว่า : “สรุปว่าการควบคุมสภาพแวดล้อมการทางานที่ดี อาจนาแร่ไครโซไทล์มาใช้ผลิตสิ่งของได้โดยไม่ทาให้เกิดอัตราการเสียชีวิตเกินปรกติ”
Liddell F.D.K., McDonald J.C. and McDonald A. (1997). The 1891-1920 birth cohort of Quebec chryso-tile miners and millers: Development form 1904 and mortality to 1992 (การเกิดของคนงานเหมืองแร่และคนงานโรงถลุงแร่ไครโซไทล์ที่คิวเบกระหว่างปี 1891-1920: การพัฒนาตั้งแต่ปี 1904 และการเสียชีวิตจนถึงปี 1992). Ann. Occup. Hyg. 41:13-35.
งานศึกษาวิจัยโรคระบาดวิทยาในกลุ่มคนงานไครโซไทล์ที่อาจเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดที่เคยทาการวิจัยกันมา ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่พบหลักฐานการเกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของการเป็นมะเร็งจากการสัมผัสกับไครโซไทล์ ที่ระดับความเข้มข้นที่มีการควบคุมอย่างในปัจจุบัน (~ 1 เส้นใย/มล., ถัวเฉลี่ยน้าหนักที่เวลาเฉลี่ย 8-ชั่วโมง ต่อวัน) ซึ่งเป็นระดับที่แนะนาโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมที่จัดโดยองค์การอนามัยโลกที่อ็อกซฟอร์ดในปี 1989
Paustenbach D.J., Finley B.L., Lu E.T., Brorby G.P., and Sheehan P.J. (2004). Environmental and occupational health hazards associated with presence of asbestos in brake linings and pads (1900 to pre-sent): A “state-of-the-art view” ( อันตรายต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อมและการทางานที่เกี่ยวกับการสัมผัสกับแร่ใยหินในผ้าเบรคและแผ่นเบรค (ปี 1900-ปัจจุบัน): การวิเคราะห์ด้วย “เทคนิควิธีการสมัยใหม่และทันสมัย”). J Toxicol Environ Health, Part B7: 33-110
เป็นการตรวจสอบความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการใช้แร่ใยหินในการผลิตวัสดุขัดสี และการนามาใช้ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ทั่วไป ซึ่งการตรวจสอบนี้ ซึ่งใช้เทคนิคและวิธีการที่ทันสมัย ซึ่งครอบคลุมงานศึกษาวิจัยต่างๆและการสังเกตต่างๆที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นว่า มีระดับการปนเปื้อนในอากาศที่ต่ามาก เมื่อมีการใช้ไครโซไทล์ และไม่พบความเสี่ยงใดๆ ส่วนความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เพิ่มขึ้น จากตัวอย่างที่พบ มักเกี่ยวข้องกับการใช้แร่ใยหินในกลุ่มแอมฟิโบลเสมอ
Yarborough C.M. (2006). Chrysotile as a Cause of Mesothelioma: An Assessment Based on Epidemiolo-gy (ไครโซไทล์ สาเหตุของมะเร็งเยื่อหุ้มปอด: ประเมินผลด้วยวิธีการโรคระบาดวิทยา). Critical Re-views in Toxicology 36: 165-187
เป็นการตรวจสอบระดับลึกในงานศึกษาวิจัยชิ้นต่างๆที่ได้ทาการวิจัยกลุ่มคนงานเพื่อประเมินหลักฐานความเสี่ยงของไครโซไทล์ที่ไม่มีการควบคุมระดับความเข้มข้น โดยการตรวจสอบนี้ยังได้เน้นเฉพาะในส่วนของแร่ใยหินชนิดอื่น ความเข้มข้นในสถานที่ทางาน และความสอดคล้องและตรงกันของสิ่งที่ค้นพบด้วย จากการตรวจสอบคนงาน 71 กลุ่ม ที่สัมผัสกับแร่ไครโซไทล์ที่ไม่มีการควบคุมระดับความเข้มข้น พบว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนสมมุติฐานที่ว่าไครโซไทล์ ที่ไม่มีการปนเปื้อนด้วยแร่ใยหินชนิดอื่นในกลุ่มแอมฟิโบล นั้นเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอด
Mangold, C., Clark K., Mald A., and Paustenbach D. (2006). An exposure study of bystanders and workers dur-ing the installation and removal of asbestos gaskets and packings (งานศึกษาการสัมผัสแร่ใยหินของคนที่อยู่ข้างเคียงและคนงานระหว่างการติดตั้งปะเก็นแร่ใยหินและการบรรจุหีบห่อ)
J Occup Environ Health 3: 87-98
เป็นงานศึกษาวิจัยที่ทาขึ้นระหว่างปี 1982 ถึง 1991 เพื่อประเมินความเข้มข้นในอากาศของแร่ไครโซไทล์ในระหว่างการเปลี่ยนปะเก็น และการบรรจุหีบห่อปะเก็น และเพื่อคลายความกังวลต่างๆตามที่ระบุไว้ในรายงานชิ้นหนึ่งที่ยื่นต่อกองทัพเรือสหรัฐ เรื่องการสัมผัสกับแร่ใยหินที่เกี่ยวกับการทางานกับปะเก็น ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้สรุปว่า ความเข้มข้นถัวเฉลี่ยน้าหนัก (TWA) ที่ 8 ชั่วโมงต่อวัน อยู่ที่ระหว่าง 0.01 ถึง 0.03 เส้นใย/ลบ.ซม. (fiber/cc.)
L. Sichletidis D., Chloros D., Spyrotos A.-B, Haidich I., Fourkiotou M. Kakoura, D., Patakas (2008). Mortality from Occupational Exposure to Relatively Pure Chrysotile: A 39-Year Study. (จานวนการเสียชีวิตจากการทางานที่สัมผัสกับไครโซไทล์ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์: งานศึกษาที่ใช้ระยะเวลา 39 ปี). Respiration, Published Online: October 9, 2008. http://content.karger.com/ProdukteDB/produkte.asp?Aktion=Acceptedpaper&ProduktNr=224278
เป็นงานตรวจสอบที่มีขอบเขตครอบคลุมอัตราการเสียชีวิตในช่วงเกือบ 40 ปี ของคนงานที่สัมผัสกับไครโซไทล์ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ในโรงงานซีเมนต์แร่ใยหินแห่งหนึ่งในกรีซ ที่เปิดกิจการในปี 1968 โรงงานแห่งนี้ใช้ไครโซไทล์ประมาณ 2,000 ตันต่อปีจนถึงปี 2005 มีการวัดความเข้มข้นของเส้นใยในอากาศอยู่เรื่อยๆ และพบว่าอยู่ในระดับที่ต่ากว่าระดับที่อนุญาตให้มีได้เสมอ มีการบันทึกวันที่และสาเหตุการเสียชีวิตของคนงานที่ยังทางานอยู่และผู้ที่เกษียณอายุหรือลาออกไปแล้ว ซึ่งรายงานว่าการเสียชีวิตไม่พบในกรณีของมะเร็งเยื่อหุ้มปอด และอัตราการเสียชีวิตโดยรวมนั้นต่ากว่าอัตราการเสียชีวิตของประชากรชาวกรีซโดยทั่วไป ผู้วิจัยสรุปว่า: “การทางานที่สัมผัสกับไครโซไทล์ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ภายในระดับความเข้มข้นที่กาหนดไว้ไม่ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด หรือ มะเร็งเยื่อหุ้มปอด”