Chrysotile แร่ใยหิน

จดหมายชี้แจ้งไปยังหนังสือพิมพ์บางกอกโพส เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555

เมื่อไม่นานมานี้ มีการร้องเรียนเกี่ยวมาตรการแร่ใยหินจากหลายหน่วยงานทั่วโลก เนื่องจากมีการนำเสนอมาตรการนี้ด้วยข้อมูลที่มีความคลานเคลื่อน ขาดหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอและมีการบิดเบือนโดยการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้นอกบริบท

มาตรการต่อต้านการใช้แร่ใยหินของสำนักเลขาธิการองค์การอนามัยโลกไม่สอดคล้องกับมติจากที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจสูงสุดในการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกมีมติรับรองยุทธศาสตร์การขจัดโรคจากแร่ใยหิน (WHA resolution 60.26) หรือ “สุขภาพของแรงงาน: แผนปฏิบัติการสากล” ข้อย่อยที่ 10 ในยุทธศาสตร์ดังกล่าวกำหนดว่า “กิจกรรมขององค์การอนามัยโลกหมายรวมถึงการรณรงค์การขจัดโรคจากแร่ใยหินในระดับสากล ทังนี้ ต้องใช้กลยุทธ์ที่ต่างกันโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างแร่ใยหินแต่ละประเภท กิจกรรมดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายสากลและสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อการเข้าแทรกแซงในแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ…” ยุทธศาสตร์ดังกล่าวซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการอภิปรายและการตัดสินใจของประเทศสมาชิกไม่ได้ต่อต้านการใช้แร่ใยหินทุกประเภท นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการนำเสนอทางเลือกในการดำเนินยุทธศาสตร์แร่ใยหินสำหรับประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงมาตรการควบคุมการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัย ในปัจจุบัน มาตรการควบคุมดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล อินเดีย รัสเซียและอีกหลายประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกได้เลือกที่จะบิดเบือนมติการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก

ยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลกที่จัดทำขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 เป็นเพียงเอกสารประกอบการอภิปรายภายใต้กรอบการประชุมร่วมทางด้านอาชีวอนามัยระหว่างคณะกรรมการจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลกเท่านั้น แทนที่จะถือตามมติการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก เอกสารดังกล่าวไม่เพียงต่อต้านการใช้แร่ใยหินอย่างสิ้นเชิงเท่านั้น แต่ยังไม่มีการกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างแร่ใยหินแต่ละประเภท ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการกล่าวถึงแร่ไครโซไทล์ในอุตสาหกรรมซีเมนต์อย่างเฉพาะเจาะจงอีกด้วย

ยุทธศาสตร์ดังกล่าวถูกยกขึ้นมาอภิปรายและบรรจุอยู่ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางด้านอาชีวอนามัยโดยไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวสู่สาธารณชนและไม่ผ่านการรับรองจากประเทศสมาชิกของทั้งองค์การอนามัยโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

เราเชื่อว่ามติจากการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ครั้งที่ 60 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550ควรถือเป็นนโยบายขององค์การอนามัยโลกอย่างเป็นทางการและมีการดำเนินงานตามนโยบายอย่างเหมาะสมโดยสำนักเลขาธิการองค์การอนามัยโลก เจ้าหน้าที่ประจำสำนักเลขาธิการองค์การอนามัยโลกจำเป็นต้องตอบคำถามที่ว่าทำไมไม่มีการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นที่น่าเสียดายที่จนถึงวันนี้พวกเขาก็ยังคงปฏิเสธที่จะตอบคำถามดังกล่าวและเพิกเฉยต่อมติการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ

มาตรการต่อต้านการใช้แร่ใยหินของสหภาพยุโรปถูกนำมาใช้นอกบริบท

ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะประเทศผู้บุกเบิกการนำแร่ใยหินทุกประเภทมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต อย่างไรก็ตามมาตรการควบคุมการใช้แร่ใยหินไม่ได้ถูกนำมาบังคับใช้จนกระทั่งปลายทศวรรษที่ 60 นำมาซึ่งการเปิดเผยข้อเท็จจริงจำนวนมากเกี่ยวกับแร่ใยหิน ส่งผลให้มีการจัดลำดับการควบคุมการใช้แร่ใยหินที่เป็นอันตรายและการสั่งห้ามใช้แร่ใยหินทุกประเภทโดยเด็ดขาด

 

การจำแนกประเภทสารก่อมะเร็งโดยสำนักงานวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศเกี่ยวกับอันตรายและไม่เกี่ยวกับความเสี่ยง

การจำแนกประเภทสารก่อมะเร็งโดยสำนักงานวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศเป็นเพียงการบ่งชี้อันตรายและลักษณะของสารอันตราย ส่วนผสมอันตรายและกิจกรรมที่เป็นอันตรายเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ได้รวมถึงการประเมินความเสี่ยง เช่น ความเป็นไปได้ที่สารพิษจะเกิดการรวมตัวกันภายใต้สภาวะการใช้งานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คำว่า “อันตราย” และ “ความเสี่ยง” มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การบ่งชี้ลักษณะของสารอันตรายจึงไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับการประเมินความเสี่ยงของสารอันตรายที่เกิดขึ้นจริงได้ บทความของเบิร์นสไตน์และคณะในหัวข้อ “การนำไปใช้และการนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องของการจำแนกประเภทสารก่อมะเร็งโดยสำนักงานวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาแร่ใยหิน” ได้อภิปรายประเด็นดังกล่าวไว้โดยละเอียด

เราเพียงต้องการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยุทธศาสตร์แร่ใยหินขององค์การอนามัยโลกและสหภาพยุโรป เนื่องจากบริบทและข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์อาจทำให้ประชาชนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

Please follow and like us:

ใส่ความเห็น