ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ย้ำจุดยืนเดินหน้าเสนอข้อเท็จจริง “แร่ใยหิน” ในประเทศไทย
ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ (Chrysotile Information Center) เดินหน้าชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการนำแร่ใยหินขาว (ไครโซไทล์) มาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน มีการใช้แร่ใยหินดังกล่าวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 70 ปี และไม่เคยมีหลักฐานใดที่ยืนยันชัดเจนถึงตัวเลขการเสียชีวิตหรือผู้ป่วยที่ได้รับสาเหตุมาจากแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ พร้อมนำเสนองานวิจัยและข้อมูลสนับสนุนจากสถาบันและหน่วยงานภาครัฐที่เป็นกลางออกมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนต่อไป
นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ หรือ ซีไอซี ในฐานะผู้ทำหน้าที่เสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินขาว(ไครโซไทล์)ที่ใช้ในประเทศไทย และได้ติดตามความเคลื่อนไหวกรณีการกล่าวอ้างความเป็นอันตรายของแร่ใยหินมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาพบว่าบางกรณีมีการกล่าวอ้างแต่ปราศจากหลักฐานยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ ศูนย์ข้อมูลฯ จึงจำเป็นต้องออกมาชี้แจงและให้ข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องสิทธิ์การถูกกล่าวหาจากการให้ข้อมูลข่าวสารเรื่อง แร่ใยหินไครโซไทล์ให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างถูกต้องต่อไป
“ที่ผ่านมาเราแสดงจุดยืนชัดเจนในการให้ข้อเท็จจริงเรื่องการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย พร้อมมีหลักฐานและงานวิจัยมากมายที่ระบุชัดเจนว่าแร่ใยหินที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยนั้นไม่ได้มีผลกระทบด้านสุขภาพที่ร้ายแรงตามที่เป็นข่าว โดยทางศูนย์ฯ พร้อมที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องที่ยืนยันได้ว่าสามารถนำแร่ใยหินไครโซไทล์มาใช้ได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ศูนย์ข้อมูลฯ มีการรวมรวบบทความ ผลงานวิจัยของนักวิชาการจากหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อมูลการไม่พบผู้เสียชีวิตหรือผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากแร่ใยหินไครโซไทล์ โดยราชบัณฑิตยสถาน ข้อมูลการศึกษาการนำแร่ใยหินไครโซไทล์ไปใช้อย่างปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้รับเหมาและผู้บริโภค โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจหากมีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย โดย นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ ข้อมูลผลการตรวจวัดฝุ่นใยหินในอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานความเป็นอันตรายตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดย สมาคมสุขศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งเอเชีย เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ล้วนเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือที่มาจากสถาบันและหน่วยงานภาครัฐต่างๆและมีแหล่งที่มาชัดเจน และเป็นข้อมูลสำคัญอีกด้านที่ประชาชนควรรู้ ทั้งนี้ผู้สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสืบค้นเพื่อดูรายละเอียดได้จากแหล่งที่มาที่ระบุไว้ตามเอกสารแนบท้ายนี้” นายเมธี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ได้เตรียมเอกสารบทความทางวิชาการต่างๆ พร้อมยืนยันความจริงไว้แล้วด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ทางศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์จะยังคงยืนยันการทำหน้าที่เสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง และหากมีข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างไร ทางศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์จะขอนำเรียนมายังท่านสื่อมวลชนอีกครั้งหนึ่ง
เอกสารอ้างอิง
• จดหมายเหตุเสวนา นานาทัศนะการใช้ใยหินในอุตสาหกรรมไทย โดยราชบัณฑิตยสถาน ระบุชัด ใยหินที่ใช้ในอุตสาหกรรมไทยเป็นใยหินขาวไครโซไทล์ ใช้กันมานานกว่า 70 ปี และยังไม่ปรากฏว่ามีใครเป็นโรคใยหิน (เอกสารแนบจดหมายเหตุฯที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ หน้า 72 ย่อหน้าสุดท้าย)
• กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันข้อมูลยังไม่มีความชัดเจนที่จะสรุปความเป็นอันตรายของใยหินต่อสุขภาพคนไทย
(เอกสารแนบจดหมายเหตุฯที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ หน้า 64-65)
• ผลวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เผยข้อมูลจากการศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ หากมีการเลิกใช้แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์อาจส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจประเทศ (ที่มา: “โครงการวิเคราะห์ทบทวนและข้อเสนอแนะในการจัดการและความเป็นไปได้ของการนำแร่ใยหินชนิด ไครโซไทล์ไปใช้อย่างปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้รับเหมา และผู้บริโภคอย่างถูกวิธี ประจำปี 2556” http://www.amc.kmitl.ac.th)
• นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ชี้ข้อมูลการศึกษาผลกระทบหากมีการยกเลิกการใช้ร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย ภาคครัวเรือนในฐานะผู้ใช้รับภาระสูงสุดกว่า 4 แสนล้านบาท ในขณะที่สถานที่ราชการทั่วประเทศต้องเตรียมงบประมาณรื้อถอน-ติดตั้งวัสดุทดแทน อีกกว่าหมื่นล้านบาท (ที่มา : ข้อมูลการศึกษาผลกระทบที่มีต่อการยกเลิกการใช้แร่ไครโซไทล์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์กระเบื้องใยหิน โดย ดร. อิงเหวย หวัง หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ)
• สมาคมสุขศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งเอเชียแสดงผลการศึกษาการตรวจวัดฝุ่นใยหินในอากาศจากการรื้อถอนวัสดุใยหิน พบว่าปริมาณฝุ่นใยหินที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยความเป็นอันตรายตามมาตรฐานกำหนดของกกระทรวงมหาดไทย (ที่มา : ผลการศึกษาเพื่อหามาตรการป้องกันการสัมผัสใยหินไครโซไทล์ในการรื้อถอนและติดตั้งกระเบื้องหลังคา โดย สมาคมสุขศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งเอเชีย ปี 2555)