astv

เล็งยื่น คสช.ค้านเลิกใช้แร่ใยหิน ยกเคสศึกษาสธ.ไม่พบอันตราย

ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ เตรียมยื่นหนังสือ คสช. ค้านแนวคิดการยกเลิกใช้-ห้ามนำเข้าแร่ใยหิน “ไครโซไทล์” หลังกลุ่มสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ยื่นหนังสือ คสช.ให้ออกประกาศเลิกใช้และห้ามนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ อ้างเป็นสารอันตราย อาจะก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ด้านศูนย์ข้อมูลฯ ยกกรณี สธ.ตั้งคณะกรรมการศึกษาระบุยังไม่พบสาเหตุการเกิดโรคและอันตรายจากการใช้แร่ไครโซไทล์ แม้มีการใช้งานในประเทศไทยกว่า 70 ปี

นายเมธี อุทโยภาศ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไคร์โซไทล์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ “ไครโซไทล์” หรือ แร่ใยหิน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคมีแผนจะเข้ายื่นหนังสือคัดค้านการผลักดันให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศยกเลิกการใช่แร่ไคโซลไทล์ เป็นส่วนผสมในการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา และวัสดุก่อสร้าง รวมถึงการห้ามนำเข้าแร่ดังกล่าวในประเทศไทย

เนื่องจากก่อนหน้านี้ กลุ่มสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อผลักดันให้ออกประกาศควบคุมให้มีการห้ามนำเข้า และเลิกใช้แร่ไครโซไทล์ หรือใยหิน เป็นส่วนผสมในการผลิตวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะในกระเบื้องมุงหลังคา โดยกล่าวอ้างว่า แร่ไครโซไทล์ เป็นแร่อันตรายที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค และอาจก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจจะมีอันตรายถึงชีวิตของผู้ใช้ได้

“ในปี 54 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อ ครม.เพื่ออนุมัติให้ยกเลิกการใช่แร่ดังกล่าว แต่ยังไม่มีการบังคับใช้ออกมา และก่อนหน้านั้น เคยได้มีการผลักดันให้บรรจุแร่ไครโซไทล์ เข้าสู่กลุ่มวัตถุมีพิษประเภทที่ 4 ในกฎหมายวัตถุมีพิษของกรมโรงงาน ซึ่งจะทำให้ แร่ไครโซไทล์ เป็นกลุ่มวัตถุมีพิษที่ห้ามมิให้มีไว้ในครอบครอง จากที่มีการบรรจุในประเภทที่ 3 ใน กม.ดังกล่าว”

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผลักดันให้มีการเลิกใช้ แร่ไครโซไทล์ อย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลก็ยังไม่มีการประกาศให้มีการเลิกใช้แร่ไครโซไทล์ เป็นส่วนผสมในการผลิตวัสดุก่อสร้างออกมา เนื่องจากยังไม่พบหลักฐาน และยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าแร่ดังกล่าวก่อให้เกิดอันตราราย หรือก่อให้เกิดโรคร้ายตามที่กลุ่มผู้ผลักดันให้เลิกใช่แร่ไครโซไทล์กล่าวอ้าง แม้ว่าก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาและตรวจสอบผลกระทบจากการใช้แร่ไครโซไทล์ ขึ้นมาทำการศึกษา และตรวจสอบอย่างจริงจัง แต่ผลสรุปจากคณะกรรมการตรวจสอบที่มีรายงานออกมา ปรากฏว่า ยังไม่มีผลกระทบ หรือมีข้อมูลใดชี้ชัดว่ามีการเกิดอันตราย หรือเกิดโรคจากการใช้แร่ดังกล่าวเกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการใช้แร่ไครโซไทล์ เป็นส่วนประกอบในการผลิตกระเบื้องมุงหลังคามานานกว่า 70 ปี

นายเมธี กล่าวว่า สารไครโซไทล์ มีการถูกยกเลิกการใช้ไปกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และยังมีการใช้อยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 190 ประเทศทั่วโลก โดยกลุ่มประเทศที่มีการยกเลิกการใช้ไปส่วนใหญ่คือ กลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐฯ ภายหลังจากที่เหมืองแร่ไทรโซไทล์ ในประเทศดังกล่าวถูกใช้หมดและปิดไป ประกอบกับก่อนหน้านั้น พบว่ามีการเกิดโรคจากการใช้แร่ใยหินในกลุ่มแร่แอมฟิโบลส์ (Amphiboles) ซึ่งมีผลให้เกิดโรคมะเร็งในระบบหายใจได้ โดยในอดีต กลุ่มประเทศในทวีปอเมริกา และยุโรปใช้ฉีดพ่นในการเคลือบฝ้า ผนัง และหลังคา เพื่อรักษาอุณหภูมิในตัวบ้านในเมืองหนาว และยังเป็นฉนวนกันไฟได้อย่างดี

“แม้จะเป็นแร่ใยหินเหมือนกัน แต่ในด้านของการก่อให้เกิดโรค หรืออันตรายต่อสุขภาพนั้น จากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ พบว่า ค่าความเป็นอันตรายของแร่ดังกล่าวเทียบเท่ากับระดับอันตรายของฝุ่นละอองในอากาศ เช่น ฝุ่นผง ฝุ่นทราย ที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไปเท่านั้น นอกจากนี้ วิธีการนำมาใช้ดังกล่าวยังมีความแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากในการใช้แร่ไคร์โซไทล์ ในการผลิตกระเบื้องหลังคานั้น เพียงใช้เป็นส่วนผสมซึ่งจะถูกซีเมนต์ห่อหุ้มไว้ทำให้ไม่เกิดการฟุ้งกระจาย หรือละอองในอากาศได้จึงมีโอกาสน้อยมากที่ผู้บริโภคจะสูดดมเข้าสู่ระบบหายใจได้”

ดังนั้น จึงอยากให้ คสช. มีการทบทวน และศึกษาข้อเท็จริง รวมถึงพิจารณาถึงผลกระทบต่อประชาชน และความเสียหายทางเศรษฐกิจ หากมีการยกเลิกการใช้ และนำเข้าแร่ไครโซไทล์ในประเทศไทย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการผลักดันให้แร่ไครโซไทล์ เข้าสู่วัตถุมีพิษประเภทที่ 4 ตาม กม. ของกรมโรงงาน จะทำให้ต้องมีการรื้อหลังคาบ้านของประชาชนทั่วประเทศ เพื่อนำไปทำลายทิ้ง และต้องมีการเปลี่ยนมาใช้หลังคาที่มีส่วนผลสมจากวัสดุทดแทน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจากการรื้อและทำลาย รวมถึงการที่ประชาชนต้องเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ โดยประมาณมูลค่ากว่า 400,000 ล้านบาท

“วัสดุทดแทนที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ โพลี, ไวนิล, แอลกอลฮอล์, ซิลิกา (ทรายบด) และเยื่อกระดาษ เองก็ยังไม่มีการศึกษาและวิจัยว่ามีอันตรายหรือไม่ เมื่อนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตกระเบื้อง”

ที่มา : ASTV

Please follow and like us: