ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ เขียนจดหมายถึงบรรณาธิการวารสารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น ความว่า
ผมเคยเขียนบทความสั้นๆ เรื่อง “ใยหินไม่น่ากลัว” ลงพิมพ์ในธรรมศาสตร์เวชสารวารสาร(๑) เมื่อหลายปีมาแล้ว จากนั้นรู้สึกว่าบรรยากาศต่อต้านการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยแผ่วลง ประจวบกับจังหวะวิกฤติฝุ่น PM2.5 ในอากาศกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัด ทำให้นักวิชาการบางท่านสงสัยว่าฝุ่น PM2.5 อาจจะมีใยหินร่วมเป็นส่วนประกอบด้วยไหม ท่านทั้งสอง(๒,๓)อ้างข้อมูลจากรายงานผลการตรวจพบเทห์ใยหินในปอดของคนไทยทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเหตุใยหินและไม่มีประวัติสัมผัสใยหินว่าพบเกิน ๑ ใน ๓ จากจำนวนคนที่ตรวจครั้งแรกโดยสมพงษ์ ศรีอำไพ พยาธิแพทย์ศิริราช เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว(๔) และการตรวจของพิมพิณ อินเจริญ พยาธิแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อสองสามปีที่แล้ว(๕) ทั้งสองงานการศึกษานี้เกิดขึ้นจากการแนะนำของผู้เขียน จึงปรากฏชื่อผู้เขียนในทั้งสองรายงาน การให้ข้อคิดว่าใยหินในบรรยากาศเป็นผลจากการหลุดลอกของใยหินจากผลิตผลอุตสาหกรรมที่นำไปใช้เป็นเวลานานนั้น ขอเรียนว่าหากการหลุดล่วงของใยหินดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นวัฏจักรของสสารที่หวนกลับไปเป็นสินแร่ในดินตามเดิม
ในบทความ “ใยหินไม่น่ากลัว” ของผู้เขียน ผู้เขียนอ้างเหตุผลจากข้อเท็จจริงว่า
- คนไทยเป็นโรคเหตุใยหินคนไทยน้อยมากๆ ทั้งที่การทำงานอาจสัมผัสใยหิน และพบว่าประชากรคนไทยทั่วไปสัมผัสฝุ่นใยหินในบรรยากาศแต่ไม่ปรากฏเป็นโรคเหตุใยหิน(๔,๕)
- อ้างข้อมูลในบทรายงานผลการศึกษาวิจัยอุบัติการโรคเหตุใยหินในคนงานที่มีโอกาสสัมผัสใยหินในสหรัฐฯของนายแพทย์ประธาน วาทีสาธกกิจ ขณะที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ลงพิมพ์รายงานในวารสารทรวงอกสหรัฐฯ(๖) ได้พบผู้ป่วยโรคเหตุใยหินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีอุบัติการโรคในคนงานฝรั่งมากกว่าคนเอเซียและอัฟริกา ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ว่าคนไทยมีภูมิไวรับการเป็นโรคเหตุใยหินตฎ่มากหรือมีภูมิต้านทานการเป็นโรคเหตุใยหินสูงมาก
- มีการศึกษาทางอณูเวชศาสตร์พบหน่วยพันธุกรรมไวรับ (susceptibility genes) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อเลื่อม(๗) ซึ่งถ้านำรูปแบบการศึกษามาศึกษาคนไทย น่าจะพบข้อมูลว่าคนไทยไม่มีหน่วยพันธุกรรมนี้
- ผู้เขียนอ้างสาเหตุสำคัญที่ไม่พบผู้ที่ทำงานในสถานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้แร่ใยหินว่าเป็นเพราะโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้รับการควบคุมดูแลโดยฝ่านรัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอขอบคุณทั้งสองคุณหมอที่เป็นนักวิชาการที่นำข้อคิดเห็นไปลงพิมพ์ในวารสารวิชาการเพื่อรักการวิพากษ์เพื่อข้อเท็จจริง ดีกว่าการเสนอเหตุผลฝ่ายเดียวในการประชุมลับที่ผู้รู้ไม่อาจเสนอข้อคิดเห็นที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ดี เมื่อมีข้อมูลเท็จจริงอย่างน้อย ๒ ข้อคือพบโรคเหตุใยหินน้อยมากๆในประเทศไทย ทั้งๆที่มีโอกาสสัมผัสใยหินจากการทำงาน และจากฝุ่นใยหินในบรรยากาศทั่วไป ประกอบกับภูมิคุ้มกันทางเชื้อชาติและทางพันธุกรรม