คนไทยไม่กลัว(แร่)ใยหิน

ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ เขียนจดหมายถึงบรรณาธิการวารสารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น ความว่า

ผมเคยเขียนบทความสั้นๆ เรื่อง “ใยหินไม่น่ากลัว” ลงพิมพ์ในธรรมศาสตร์เวชสารวารสาร(๑) เมื่อหลายปีมาแล้ว จากนั้นรู้สึกว่าบรรยากาศต่อต้านการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยแผ่วลง ประจวบกับจังหวะวิกฤติฝุ่น PM2.5 ในอากาศกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัด ทำให้นักวิชาการบางท่านสงสัยว่าฝุ่น PM2.5 อาจจะมีใยหินร่วมเป็นส่วนประกอบด้วยไหม  ท่านทั้งสอง(๒,๓)อ้างข้อมูลจากรายงานผลการตรวจพบเทห์ใยหินในปอดของคนไทยทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเหตุใยหินและไม่มีประวัติสัมผัสใยหินว่าพบเกิน ๑ ใน ๓ จากจำนวนคนที่ตรวจครั้งแรกโดยสมพงษ์ ศรีอำไพ พยาธิแพทย์ศิริราช เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว(๔) และการตรวจของพิมพิณ อินเจริญ พยาธิแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อสองสามปีที่แล้ว(๕)  ทั้งสองงานการศึกษานี้เกิดขึ้นจากการแนะนำของผู้เขียน จึงปรากฏชื่อผู้เขียนในทั้งสองรายงาน การให้ข้อคิดว่าใยหินในบรรยากาศเป็นผลจากการหลุดลอกของใยหินจากผลิตผลอุตสาหกรรมที่นำไปใช้เป็นเวลานานนั้น ขอเรียนว่าหากการหลุดล่วงของใยหินดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นวัฏจักรของสสารที่หวนกลับไปเป็นสินแร่ในดินตามเดิม

            ในบทความ “ใยหินไม่น่ากลัว” ของผู้เขียน ผู้เขียนอ้างเหตุผลจากข้อเท็จจริงว่า

  1. คนไทยเป็นโรคเหตุใยหินคนไทยน้อยมากๆ ทั้งที่การทำงานอาจสัมผัสใยหิน และพบว่าประชากรคนไทยทั่วไปสัมผัสฝุ่นใยหินในบรรยากาศแต่ไม่ปรากฏเป็นโรคเหตุใยหิน(๔,๕)
  2. อ้างข้อมูลในบทรายงานผลการศึกษาวิจัยอุบัติการโรคเหตุใยหินในคนงานที่มีโอกาสสัมผัสใยหินในสหรัฐฯของนายแพทย์ประธาน วาทีสาธกกิจ ขณะที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา  ที่ลงพิมพ์รายงานในวารสารทรวงอกสหรัฐฯ(๖) ได้พบผู้ป่วยโรคเหตุใยหินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีอุบัติการโรคในคนงานฝรั่งมากกว่าคนเอเซียและอัฟริกา ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ว่าคนไทยมีภูมิไวรับการเป็นโรคเหตุใยหินตฎ่มากหรือมีภูมิต้านทานการเป็นโรคเหตุใยหินสูงมาก
  3.  มีการศึกษาทางอณูเวชศาสตร์พบหน่วยพันธุกรรมไวรับ (susceptibility genes) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อเลื่อม(๗) ซึ่งถ้านำรูปแบบการศึกษามาศึกษาคนไทย น่าจะพบข้อมูลว่าคนไทยไม่มีหน่วยพันธุกรรมนี้
  4.  ผู้เขียนอ้างสาเหตุสำคัญที่ไม่พบผู้ที่ทำงานในสถานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้แร่ใยหินว่าเป็นเพราะโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้รับการควบคุมดูแลโดยฝ่านรัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณทั้งสองคุณหมอที่เป็นนักวิชาการที่นำข้อคิดเห็นไปลงพิมพ์ในวารสารวิชาการเพื่อรักการวิพากษ์เพื่อข้อเท็จจริง  ดีกว่าการเสนอเหตุผลฝ่ายเดียวในการประชุมลับที่ผู้รู้ไม่อาจเสนอข้อคิดเห็นที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ดี เมื่อมีข้อมูลเท็จจริงอย่างน้อย ๒ ข้อคือพบโรคเหตุใยหินน้อยมากๆในประเทศไทย ทั้งๆที่มีโอกาสสัมผัสใยหินจากการทำงาน   และจากฝุ่นใยหินในบรรยากาศทั่วไป ประกอบกับภูมิคุ้มกันทางเชื้อชาติและทางพันธุกรรม

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

กฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง

กรณีศึกษาของประเทศไทย

การนำเข้าใช้และเก็บ รักษาใยหินจะอยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยใยหินชนิดโครซิโดไลท์ได้ถูกสั่งห้ามนำเข้า เนื่องจากเป็นวัตถุที่มีอันตรายตาม พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังมีพรบ. คุ้มครองแรงงานของกระทรวงแรงงานอีกฉบับหนึ่งที่ควบคุมเกี่ยวกับใยหิน ซึ่งทั้งหมดแสดงว่าในประเทศไทยมีมาตรการและกำหนดมาตรฐานเพื่อคุ้มครอง สุขภาพของคนงาน
กฎหมายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหิน Read More

Please follow and like us:
กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์กระเบื้องแร่ใยหินไครโซไทล์

การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ ข้อเสนอการยกเลิกการใช้สารไครโซไทล์ในประเทศไทย

 

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์กระเบื้องแร่ใยหินไครโซไทล์ โดย

ดร. อิงเหวย หวัง
สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางในการห้ามนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไครโซไทล์เฉพาะกรณี และห้ามผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไครโซไทล์ที่ใช้วัตถุดิบอื่นหรือผลิตภัณฑ์อื่นทดแทนได้ โดยได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปจัดทำแผน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป  Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (เมโสเธลิโอมา)

Weissได้ทำการศึกษาทบทวนงานของ Yarborough (2006) พบว่าในโรงงานที่ใช้เส้นใยไครโซไทล์เพียงอย่างเดียวคนงานจะไม่เป็นโรค มะเร็งปอด ดังนี้
“การที่คนงานชายป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มมากขึ้นในระยะหลายปีมานี้ แน่ชัดว่าสาเหตุเป็นเพราะมีฝุ่นใยหินเล็ดลอดเข้าไปในร่างกาย และเป็นชนิดแอมฟิโบล (โครซิโดไลท์และอะมอไซท์) ซึ่งถูกนำมาใช้ปริมาณมากที่สุดในช่วงทศวรรษ 1960 (หลังจากนั้นจึงลดลง) ในประเทศอื่น ปรากฏว่าจำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้มีเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะว่ามีการใช้ใยหินแอมฟิโบลสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดโครซิโดไลท์ ข้อมูลของเหตุการณ์ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้นำมาใช้ประโยชน์ ผลก็คือ จำนวนคนงานที่ป่วยเป็นโรคนี้ลดจำนวนลง ตรงข้ามกันกับที่มีผู้กลัวว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตทั้งสั้น และยาว Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

การแพร่กระจาย

จาก การศึกษาด้านนี้โดย Liddell, McDonald & McDonald (1997) แสดงว่าในปัจจุบันซึ่งมีการควบคุมปริมาณฝุ่นเส้นใยในโรงงาน (~ 1 เส้นใย/ลบ.ซม. x 8 ชม.) จำนวนของผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากฝุ่นใยหินไม่มีการเพิ่มสูงขึ้น (เฉพาะโรงงานที่ใช้เส้นใย ไครโซไทล์)

วันที่ 19 ตุลาคม 2006 IARC ได้เสนอบทความในวารสาร “Occupational exposure to asbestos and man-made vitreous fibres and risk of lung cancer: a multicentercase-control study in Europe,” Read More

Please follow and like us:
แร่ใยหิน ไครโซไทล์

ความคงทนทางชีวภาพ

“จากการศึกษาเส้นใย ไครโซไทล์พบว่าสามารถย่อยสลายได้โดยไม่ยากในปอดเส้นใยชนิดนี้เป็นเส้นใยธรรมชาติและความสามารถในการย่อยสลายปรากฏว่ามีแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดอย่างไรก็ดีค่าความสามารถในการย่อยสลายจะอยู่ประมาณตำแหน่งปลายๆ(สามารถย่อยสลายได้ดี) โดยพิสัยจะประมาณใกล้เคียงกับเส้นใยแก้วและหินที่ค่าสุดท้ายเส้นใย ไครโซไทล์จะย่อยสลายได้ง่ายกว่าเส้นใยเซรามิกส์เส้นใยแก้วชนิดพิเศษและเส้นใยหินชนิดแอมฟิโบล Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

ประเทศไทย

ประเทศไทยได้นำเข้าใยหินจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลานานกว่า 70 ปี โดยส่วนใหญ่จะเป็นชนิดเส้นใย ไครโซไทล์ ส่วนใยหินโครซิโดไลท์ทางการได้สั่งห้ามนำเข้า ตามพ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (1992) ปัจจุบันจึงมีเพียงเส้นใย ไครโซไทล์ Read More

Please follow and like us: