เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 ทางคณะกรรมการยุโรป (อียู) ได้ประกาศให้ประเทศสมาชิกสามารถอนุญาติให้ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ได้ในโรงงานผลิตสารเคมีที่ใช้วิธีการสกัดด้วยไฟฟ้า (electrolysis) ซึ่งมีการใช้ไดอาแฟรมที่มีส่วนประกอบของไครโซไทล์อยู่ สามารถอ้างอิงได้จากเอกสารแปลด้านล่าง และเอกสารฉบับภาษาอังกฤษตามรูป
ข้อบังคับของคณะกรรมการ (อียู) 2016/1005
ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2559
แก้ไขภาคผนวกที่ 17 ของข้อบังคับ (อีซี) เลขที่ 1907/2006 ของรัฐสภายุโรป
และคณะกรรมาธิการยุโรป เรื่องการจดทะเบียน การประเมิน การอนุญาต และการจำกัดสารเคมี (รีช) เกี่ยวกับเส้นใยแอสเบสตอส (ไครโซไทล์)
(เนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเทศในกลุ่มเขตเศรษฐกิจยุโรป (อีอีเอ))
เรียน คณะกรรมการแห่งสหภาพยุโรป
เรื่อง การพิจารณาสนธิสัญญาการปฏิบัติงานของสหภาพยุโรป
จากการพิจารณาข้อบังคับ (อีซี) เลขที่ 1907/2006 ของรัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียน การประเมิน การอนุญาต และการจำกัดสารเคมี (รีช) การจัดตั้งหน่วยงานจัดการเคมีภัณฑ์ของสหภาพยุโรป การแก้ไขคำสั่งเลขที่ 1999/45/อีซี และการยกเลิกข้อบังคับของคณะกรรมาธิการ (อีอีซี) เลขที่ 793/93 และข้อบังคับของคณะกรรมการ (อีซี) เลขที่ 1488/94 คำสั่งของคณะกรรมาธิการเลขที่ 76/769/อีอีซี คำสั่งของคณะกรรมการเลขที่ 91/155/อีอีซี, 93/67/อีซี, 93/105/อีอีซี 2000/21/อีซี ([1]) และเฉพาะมาตรา 68(1) นั้น
สืบเนื่องจาก
(1) รายการที่ 6 ในภาคผนวกที่ 17 ของข้อบังคับ (อีซี) เลขที่ 1907/2006 ห้ามมิให้มีการผลิต วางขายในท้องตลาด หรือใช้เส้นใยแอสเบสตอส ผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่มีการใช้เส้นใยดังกล่าวเป็นส่วนประกอบโดยตั้งใจ
(2) ประเทศสมาชิกสามารถยกเว้นให้วางขายไครโซไทล์ในท้องตลาดและใช้ไดอะแฟรมที่มีเส้นใยไครโซไทล์สำหรับโรงงานสกัดสารเคมีด้วยกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมได้ รวมถึงความเป็นไปได้ในการยกเว้นให้วางขายเส้นใยไครโซไทล์ในท้องตลาดเพื่อใช้การผลิตหรือการซ่อมบำรุงไดอะแฟรมดังกล่าวและการใช้เส้นใยไคร-โซไทล์เพื่อจุดประสงค์เหล่านี้
(3) จากโรงงานสกัดสารเคมีด้วยกระแสไฟฟ้า 5 แห่งที่ระบุในรายงานของประเทศสมาชิก ([2]) ในปี 2554 ว่าได้รับการยกเว้นนั้น มีเพียง 2 แห่งซึ่งอยู่ในประเทศสวีเดนและประเทศเยอรมนีเท่านั้นที่ยังดำเนินกิจการอยู่
(4) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 ตามข้อบังคับในย่อหน้าที่ 1 ของรายการที่ 6 คณะกรรมการยุโรปขอให้หน่วยงานจัดการเคมีภัณฑ์ของสหภาพยุโรป (‘หน่วยงาน’) เตรียมเอกสารภาคผนวกที่ 15 ตามมาตราที่ 69 (1) ของรีชซึ่งมีมุมมองว่าควรห้ามไม่ให้มีการวางขายไดอะแฟรมตามท้องตลาดหรือใช้ไดอะแฟรมที่มีไคร-โซไทล์เป็นส่วนประกอบ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2557 หน่วยงานได้สรุปเอกสารของภาคผนวกที่ 15 ซึ่งเสนอให้แก้ไขข้อกำหนดที่มีอยู่เดิมโดยจำกัดระยะเวลาการยกเว้นของประเทศสมาชิกที่อนุญาตให้วางขายไดอะแฟรมตามท้องตลาดหรือใช้ไดอะแฟรมที่มีไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบและเส้นใยไครโซไทล์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงโดยเฉพาะจนถึง 31 ธันวาคม 2568 และอนุญาตให้ประเทศสมาชิกตั้งข้อกำหนดเรื่องการรายงานเพื่อพัฒนาการควบคุมและการบังคับใช้ให้ดียิ่งขึ้น
(5) มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวในเวลาต่อมาและส่งมอบให้คณะกรรมการการประเมินความเสี่ยง (ภายหลังชื่อ ‘อาร์เอซี’) และคณะกรรมการการวิเคราะห์ทางสังคมและเศรษฐกิจ (ต่อมาชื่อ ‘เอสอีเอซี’) ตรวจสอบ
(6) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 อาร์เอซีได้ลงมติยอมรับความเห็นที่สรุปว่าไม่มีผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสไคร-โซไทล์ในโรงงานแห่งหนึ่งและที่สัมผัสไครโซไทล์ทางอื่นๆ คนใดเลยที่ถูกจำกัดการสัมผัสให้เหลือน้อยที่สุดโดยมาตรการการจัดการความเสี่ยงซึ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ไคร-โซไทล์ให้อยู่ในระดับต่ำ ความเห็นดังกล่าวยังสรุปอีกว่าไม่มีการปล่อยไครโซไทล์สู่สิ่งแวดล้อม และดังนั้นประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อมและสุขภาพของการปิดโรงงานทั้งสองแห่งในทันทีจึงไม่มีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้ เนื่องจากขั้นตอนและเทคโนโลยีรูปแบบเฉพาะของในโรงงานแห่งหนึ่งในสองแห่งทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกว่านี้
(7) เพื่อเป็นการส่งเสริมวัตถุประสงค์ของการยุติการใช้ไครโซไทล์ในสหภาพยุโรปและพัฒนาความชัดเจนและความโปร่งใสของการยกเว้นที่มีอยู่เดิม อาร์เอซีเห็นด้วยกับการแก้ไขที่มีการเสนอมาซึ่งถูกอ้างถึงในเอกสารภาคผนวกที่ 15 ความเห็นดังกล่าวยังสรุปว่าการกระทำโดยอ้างอิงจากทั้งสหภาพยุโรปเป็นเรื่องจำเป็นอีกด้วย
(8) เมื่อ 9 มีนาคม 2558 เอสอีเอซีได้ลงมติยอมรับความเห็นที่ว่าเซลล์ที่มีอยู่เดิมซึ่งมีแอสเบสตอสเป็นส่วนประกอบในโรงงานแห่งหนึ่งจะถูกรื้อถอนภายในปี 2568 และเซลล์ในอีกโรงงานอีกแห่งหนึ่ง ผู้ดำเนินกิจการอ้างว่าการทดสอบระดับการผลิตที่กำลังดำเนินอยู่โดยใช้ไดอะแฟรมที่ปราศจากไครโซไทล์ในโรงงานในปัจจุบันอาจนำไปสู่การทดแทนอย่างเต็มรูปแบบอย่างช้าที่สุดภายในปี 2568 เอสอีเอซีสรุปว่าการปิดโรงงานนี้ในทันทีอาจส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายในแง่ของค่าเสียหายเพิ่มเติมและอาชีพต่างๆ และได้มีการจดบันทึกเรื่องการยินยอมของผู้ดำเนินกิจการโรงงานอีกแห่งหนึ่งที่จะหยุดการนำเข้าไครโซไทล์ก่อนสิ้นปี 2560 จากวัตถุประสงค์ทั้งหมดของการยุติการใช้ไครโซไทล์ในสหภาพยุโรปเพื่อพัฒนาความชัดเจนและความโปร่งใสของการยกเว้นที่มีอยู่เดิม อาร์เอซีมีความเห็นว่าระยะเวลาของการยกเว้นของประเทศสมาชิกเรื่องการวางขายไดอะแฟรมและเส้นใยไครโซไทล์ในตลาดควรจำกัดให้สิ้นสุดภายในสิ้นปี 2560 และสรุปว่าการแก้ไขที่มีการเสนอมาเกี่ยวกับข้อกำหนดที่มีอยู่เดิมซึ่งถูกแก้ไขโดยเอสอีเอซีเป็นมาตรการสำหรับทั้งสหภาพยุโรปที่เหมาะสมที่สุดแล้ว
(9) การปฏิบัติการตัดสินใจของคณะกรรมการเลขที่ 2013/732/อียู ([3]) ได้กำหนดข้อสรุปเรื่องเทคนิคที่ดี
ที่สุด (แบท) ภายใต้คำสั่งเลขที่ 2010/75/อียู ของรัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรป ([4]) เกี่ยวกับการปล่อยของเสียทางอุตสาหกรรม (ไออีดี) โดยระบุเงื่อนไขว่าการใช้ไดอะแฟรมที่มีแอสเบสตอสไม่ถือว่าเป็นเทคนิคที่ดีที่สุด (แบท) และดังนั้นเงื่อนไขต่างๆ ที่อนุญาตสำหรับโรงงานคลอร์-อัลคาร์ไลที่มีการดำเนินงานในสหภาพยุโรปจะต้องมีการแก้ไขให้ทันสมัยก่อนวันที่ 12 ธันวาคม 2560 เพื่อให้โรงงานดังกล่าวไม่ใช้ไดอะแฟรมที่มีแอสเบสตอสอีกต่อไปนับตั้งแต่วันที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ไดอะแฟรมที่มีแอสเบสตอสอาจยังนำมาใช้ในโรงงานเฉพาะอย่างได้เพื่อให้เกิดช่วงเวลาการสกัดอย่างละเอียดที่นานยิ่งขึ้นและอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของไออีดีซึ่งกำหนดว่าเงื่อนไขต่างๆ และระยะเวลาการใช้งานในรูปแบบดังกล่าวจะต้องมีการระบุอย่างเฉพาะเจาะจงและมีความสอดคล้องกันทางกฎหมาย ซึ่งต่างจากเซลล์ปรอทซึ่งไม่ถือว่าเป็นเทคนิคที่ดีที่สุด (แบท) ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ใดก็ตาม
(10) สืบเนื่องจากการลงมติยอมรับความเห็นของเอสอีเอซี ผู้ดำเนินกิจการของโรงงานที่วางแผนว่าจะใช้วัสดุทดแทนอย่างเต็มรูปแบบก่อนปี 2568 ได้ทำข้อตกลงร่วมกับเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกโดยมีทัศนคติที่ยืนยันว่าจะใช้วัสดุทางเลือกที่ไม่มีแอสเบสตอสเป็นส่วนประกอบแทนไดอะแฟรมที่มีไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบให้มากขึ้นตามลำดับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา และจะใช้วัสดุทดแทนอย่างเต็มรูปแบบอย่างช้าที่สุดภายใน 30 มิถุนายน 2568 ดังนั้นการจำกัดระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นโดยประเทศสมาชิกที่อนุญาตให้ใช้ไดอะแฟรมที่มีไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบและการใช้เส้นใยไครโซไทล์เพื่อการซ่อมบำรุงโดยเฉพาะให้สิ้นสุดอย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568 จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม
(11) นอกจากนี้ แม้ว่าผู้ดำเนินกิจการตกลงจะยุติการนำเข้าเส้นใยไครโซไทล์ภายในสิ้นปี 2560 ภายใต้ข้อตกลงที่ทำร่วมกันแล้ว ต่อมามีการยืนยันว่าการนำเข้าไครโซไทล์ได้ยุติลงเรียบร้อยแล้วเนื่องจากมีปริมาณเส้นใยไครโซไทล์ที่เพียงพอสำหรับการจัดการเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การใช้วัสดุทดแทน ดังนั้นจึงสมควรหยุดความเป็นไปได้เรื่องการอนุญาตให้ประเทศสมาชิกวางขายไดอะแฟรมที่มีไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบในท้องตลาดและเส้นใยไครโซไทล์ที่ใช้สำหรับการซ่อมบำรุงโดยเฉพาะ
(12) ควรมีการจัดทำรายงานที่ระบุปริมาณไครโซไทล์ที่ใช้ในไดอะแฟรมในโรงงานซึ่งได้รับประโยชน์จากการยกเว้นและส่งมอบให้แก่คณะกรรมการแห่งสหภาพยุโรป การบัญญัติกฎหมายของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานได้กำหนดไว้แล้วว่าผู้จ้างงานจะต้องลดการสัมผัสเส้นใยไครโซไทล์ของผู้ปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดและจะต้องอยู่ต่ำกว่าค่าจำกัดสูงสุดที่กำหนดไว้ในทุกกรณี ประเทศสมาชิกอาจตั้งค่าจำกัดสูงสุดที่เข้มงวดสำหรับเส้นใยดังกล่าวที่อยู่ในอากาศและอาจกำหนดให้มีการวัดค่า/การตรวจสอบเป็นประจำ รวมทั้งจะต้องบันทึกผลการวัดค่า/การตรวจสอบลงในรายงานด้วย
(13) มีการหารือกับคณะทำงานเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องการบังคับใช้ข้อบังคับและนำคำแนะนำของคณะทำงานดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา
(14) ดังนั้น ควรแก้ไขข้อบังคับ (อีซี) เลขที่ 1907/2006 เพื่อให้สอดคล้องกัน
(15) มาตรการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นสำหรับข้อบังคับนี้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการภายใต้มาตรา 133 ของข้อบังคับ (อีซี) เลขที่ 1907/2006
การลงมติยอมรับข้อบังคับ:
มาตรา 1
มีการแก้ไขภาคผนวกที่ 17 ของข้อบังคับ (อีซี) เลขที่ 1907/2006 ให้สอดคล้องกลับภาคผนวกของข้อบังคับนี้
มาตรา 2
ข้อบังคับนี้ควรมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 20 หลังจากมีการตีพิมพ์ข้อบังคับนี้ลงในวารสารทางการของสหภาพยุโรป
ควรรวบรวมข้อบังคับนี้เข้ากับข้อบังคับโดยรวมและนำไปใช้โดยตรงกับประเทศสมาชิกทั้งหมด
ดำเนินการเสร็จสิ้นที่กรุงบรัสเซลส์ ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2559
สำหรับคณะกรรมการ
ประธาน
ฌอง-โคลด ยุงเกอร์
____________
ภาคผนวก
ในภาคผนวกที่ 17 รายการที่ 6 ย่อหน้าที่ 1 ของคอลัมน์ที่ 2 ให้แทนด้วยข้อความดังต่อไปนี้:
‘1. ห้ามผลิต วางขายในท้องตลาด หรือใช้เส้นใย สิ่งของ และส่วนผสมต่างๆ ที่มีการใช้เส้นใยเหล่านี้เป็นส่วนประกอบโดยตั้งใจ
อย่างไรก็ตาม หากการใช้ไดอะแฟรมที่มีไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบสำหรับโรงงานสกัดสารเคมีด้วยกระแสไฟฟ้าที่ยังใช้งานอยู่ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2559 ยังได้รับการยกเว้นจากประเทศสมาชิกโดยสอดคล้องกับฉบับดังกล่าวของย่อหน้านี้ที่มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ระบุ ย่อหน้าย่อยที่หนึ่งจะไม่มีผลบังคับใช้ในเรื่องการใช้งานไดอะแฟรมประเภทดังกล่าวในโรงงานเหล่านั้นหรือการใช้ไครโซไทล์เพื่อการซ่อมบำรุงไดอะแฟรมประเภทดังกล่าวโดยเฉพาะจนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2568โดยกำหนดว่าการใช้งานดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ในข้ออนุญาตที่สอดคล้องกับคำสั่งเลขที่ 2010/75/อียู ของรัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรป (*) ผู้ใช้ในสายการผลิตคนใดที่ได้รับประโยชน์จากการยกเว้นดังกล่าวจะต้องส่งรายงานที่ระบุถึงปริมาณไครโซไทล์ที่ใช้ในไดอะแฟรมตามการยกเว้นก่อนวันที่ 31 มกราคมของทุกปีให้แก่ประเทศสมาชิกที่เป็นที่ตั้งของโรงงานสกัดสารเคมีด้วยกระแสไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง และประเทศสมาชิกจะต้องส่งสำเนารายงานฉบับดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการแห่งสหภาพยุโรป และเพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ประเทศสมาชิกจะต้องจัดให้มีการตรวจไครโซไทล์ในอากาศโดยผู้ใช้ในสายการผลิตและจะต้องบันทึกผลการตรวจลงในรายงานฉบับดังกล่าว _______________ (*) คำสั่งเลขที่ 2010/75/อียู ของรัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เกี่ยวกับการปล่อยของเสียทางอุตสาหกรรม (การป้องกันและควบคุมมลพิษแบบองค์รวม) (โอเจ แอล 334,17.12.2010, หน้า 17).’ |
([1]) โอเจ แอล 396, 30.12.2006, หน้า 1.
([2]) การยกเว้นโดยประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปและ ประเทศกลุ่ม อีอีเอ-อีเอฟทีเอ เรื่องแอสเบสตอสที่มีอยู่ในสิ่งของต่างๆ ตามรายการที่ 6 ของภาคผนวกที่ 17 ของข้อกำหนด (อีซี) เลขที่ 1907/2006 (รีช). http://ec.europa.eu/DocsRoom/documents/13170
([3]) การปฏิบัติการตัดสินใจของคณะกรรมการเลขที่ 2013/732/อียู เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ซึ่งกำหนดข้อสรุปเรื่องเทคนิคที่ดีที่สุด (แบท) ภายใต้คำสั่งเลขที่ 2010/75/อียู ของรัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับการปล่อยของเสียทางอุตสาหกรรมสำหรับการผลิตคลอร์-อัลคาไล (โอเจ แอล 332, 11.12.2013, หน้า 34).
([4]) คำสั่งเลขที่ 2010/75/อียู ของรัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เกี่ยวกับการปล่อยของเสียทางอุตสาหกรรม (การป้องกันและควบคุมมลพิษแบบองค์รวม) (โอเจ แอล 334, 17.12.2010, หน้า 17).