ใยหินกับศาลสหรัฐ

ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้อง

ของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA)

ในการห้ามการใช้แร่ใยหิน

TSCA

นับเป็นความพยายามอย่างไร้เหตุผล

ในการผลักดันแร่ใยหินทุกชนิด ให้อยู่ในกฏหมายการควบคุมสารเคมี (TSCA)

สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) มีความพยายามที่จะกำหนด ให้แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารเคมีต้องห้ามมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

“แร่ใยหิน” เคยเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนสูงและยังเป็นส่วนผสมหลักที่สำคัญของวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ กระเบื้องหลังคา กำแพง ฉนวนความร้อน แผ่นกระเบื้อง รวมถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงยานอวกาศ

อย่างไรก็ตาม แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลถูกนำมาใช้น้อยลง เนื่องจากมีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพ เมื่อสูดลมหายใจเอาแร่ใยหินเข้าไป อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ โรคมะเร็งปอด โรคปอดจากแร่ใยหิน และ มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (ทั้งนี้ แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบล มีลักษณะเป็นเส้นยาวและบาง สามารถฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้)

3518ในปี ค.ศ.1991 สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(EPA) จึงเสนอให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินทั้งหมด ทั้งๆ ที่ในสหรัฐอเมริกา มีความนิยมในการใช้แร่ใยหินกลุ่มไครโซไทล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่สั้นกว่าและหนากว่า มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเข้าไปฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้น้อยกว่า

โดยศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้พิเคราะห์ถึงคำร้องของ สำนักงานป้องกัน สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาและได้ให้คำตอบไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า “เราสามารถทำเช่นนั้นได้และเราก็ทำอยู่” ในการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัยจึง ปฏิเสธคำร้องที่ให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินของ EPA

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผ้าเบรกในรถยนต์ โดยศาลได้ชี้แจงว่าข้อเสนอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ที่ห้ามไม่ให้ใช้แร่ใยหินในการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ นั้นอาจก่อให้เกิดอันตราย ทำให้อัตราการเบรกล้มเหลวเพิ่มสูงขึ้นและทำให้มีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนจำนวนมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น แร่ใยหินในกลุ่มไครโซไทล์ที่สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ต้องการจะให้เป็นสารเคมีต้องห้ามนั้น เป็นส่วนผสมสำคัญที่อยู่ในผ้าเบรกฃซึ่งผู้ใช้ไม่ได้ รับการสัมผัสแต่อย่างใด

บทความของสภาวิทยาศาสตร์และสุขภาพสหรัฐอเมริกา (ACSH) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ความเสี่ยงของช่างยนต์และคนงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตที่ใช้ใยหินเป็นส่วนประกอบได้มีการวางระบบการจัดการอย่างดี จึงมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมาก

 

ผ้าเบรกในรถยนต์มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์เพื่อช่วยให้ระบบเบรกทำงานได้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ศาลได้ระงับยับยั้งคำขอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ไว้เนื่องจากผู้แทนของสำนักงานฯ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารเคมี (TSCA) ที่ระบุว่า ผู้แทนจะต้องเลือกกำหนดกฎเกณฑ์ที่สร้าง “ความยุ่งยากน้อยที่สุด” เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย โดยศาลอธิบายว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับแร่ใยหินที่เสนอขึ้นมานั้นยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว

 

แหล่งอ้างอิง : http://nochrysotileban.com/archives/349#more-349

**********************************************

Please follow and like us:

กระเบื้องน้ำโขง

เรือขนส่งวัสดุก่อสร้างไปลาวล่มกลางลำน้ำโขง

บทพิสูจน์ความคงทนของกระเบื้องมุงหลังคาที่มีใยหินยังแข็งแกร่ง

คงทนใช้งานได้ดังเดิมแม้แช่อยู่ในน้ำกว่า 1 วัน

ในขณะที่กระเบื้องปลอดใยหิน ซึมน้ำ เปื่อยยุ่ย เสียหายหนัก

เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุเรือขนส่งสินค้าชนโขดหิน ทำให้เรือล่มกลางลำแม่น้ำโขง ขณะเดินทางไปยังหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ทั้งนี้เรือขนส่งสินค้าดังกล่าว บรรทุกวัสดุก่อสร้าง อาทิ ปูน กระเบื้องมุงหลังคาจากหลายยีห้อ ทั้งทีเป็นกระเบื้องผสมใยหินธรรมชาติ และที่ปลอดใยหิน     อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้สินค้าทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลากว่า 1 วัน จึงสามารถเก็บกู้ได้ ปูนซิเมนต์ เปียกน้ำเสียหายหมด   แต่ที่น่าทึ่งคือกระเบื้องมุงหลังคาชนิดที่มีส่วนผสมของใยหินธรรมชาติยังมีสภาพดังเดิม เพียงล้างทำความสะอาดเอาคราบโคลนออกก็สามารถนำไปใช้งานได้ ในขณะที่ กระเบื้องปลอดใยหินเมื่อนำขึ้นมา จากน้ำ พบว่ามีสภาพเปื่อยยุ่ย เนื่องจากถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานและโครงสร้างเป็นเยื่อกระดาษ ทำให้แตกหักได้ง่ายและเสียหายจำนวนมาก

 

1472438905157ภาพชาวบ้านช่วยกันขนสินค้าที่จมอยู่ในน้ำขึ้นมาจากอุบัติเหตุการขนส่งทางเรือ

1472438893048สภาพหลังจากเก็บกู้ พบว่ากระเบื้องปลอดใยหินเมื่อถูกน้ำหรือความชื้น จะแตกหักง่าย เปื่อย ยุ่ย อย่างเห็นได้ชัดเจน

Untitled-100ในขณะที่กระเบื้องที่มีใยหินธรรมชาติผสมอยู่ คนงานเพียงล้างทำความสะอาดคราบโคลนก็สามารถนำไปใช้งานได้

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

เครือข่ายภาคประชาชนสนับสนุนการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์อย่างปลอดภัย

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 56 ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชนกว่า 500 คน ร่วมชุมนุม ณ วัดหลักสองราษฎร์บำรุง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสนับสนุนการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์อย่างปลอดภัยและจัดสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในชุมชน Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

จดหมายถึงบรรณาธิการ

ปลอดภัยไว้ก่อน

โดย : สมชัย บวรกิตติ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

ในบทความ “มุมมองบ้านสามย่าน” ของคุณปกรณ์ เลิศสเถียรชัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ

ฉบับวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 หน้า 11 มีข้อคิดข้อแนะนำที่ดี น่าสนใจ ผมจึงขอเขียนมาร่วมวงด้วย เพราะผมอาจถูกพาดพิง แม้ไม่ตรงเผงก็เฉียดมาก Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ทราบหรือไม่ว่า

1. ในประเทศไทยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใยหินเป็นส่วนผสมคือเส้นใยไครโซไทล์เท่านั้น

2. ปริมาณเส้นใยไครโซไทล์ในซีเมนต์จะเพียง8-9% และฝังอยู่ในเนื้อซีเมนต์ไม่ฟุ้งกระจายออกมาภายนอก Read More

Please follow and like us:
แร่ใยหิน

บทเรียนราคาแพง!! เกษตรกรอังกฤษอ่วม สูญ 6 พันล้านปอนด์ ยกเลิกแร่ใยหิน

บทเรียนราคาแพง!! เกษตรกรอังกฤษอ่วมสูญ 6 พันล้านปอนด์ ยกเลิกแร่ใยหิน

“ตอนประกาศยกเลิกการใช้แร่ใยหินเมื่อสิบปีที่แล้ว พวกเราคิดว่ามันไมได้มีผลอะไรกับพวกเรา แต่ตอนนี้ มันได้สร้างความสูญเสียอย่างมากมาย จึงไม่อยากให้เกษตรกรไทยผิดพลาดเช่นนี้อีก” มร.ไบรอัน เอดจ์ลี ประธานกลุ่มสหภาพเกษตรกรแห่งชาติฯ Read More

Please follow and like us:
แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิต เพราะ…..แร่ใยหิน

แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิต เพราะ…..แร่ใยหิน!!

แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิตเพราะ…..แร่ใยหิน!!

“ทีแรกรู้สึกดีใจว่าวงการแพทย์ไทยจะได้พบโรคเหตุใยหินจริงจังเสียที แต่เมื่อได้อ่านรายงานที่อ้างในวารสารแล้ว จึงมีความเห็นว่า ข้อมูลของผู้ป่วย ที่วินิจฉัยว่าเสียชีวิตจากแร่ใยหินนั้น เป็นแต่เพียงมีประวัติเคยทำงานในโรงงาน ใช้ใยหินเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าโรคที่มีสาเหตุจากใยหิน ดังนั้นจะไม่ขอรับว่าผู้ป่วย ๒ รายนั้นเป็นโรคเหตุใยหิน” Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

Swine industry opposes asbestos ban, citing costs

A ban on asbestos by the government would cost the swine industry 125 billion baht if implemented, says the Swine Raisers Association of Thailand.

Repercussions would be most felt across the country by livestock raisers, farmers and the poor who would have to shoulder total costs of more than 500 billion baht in total, said the association’s president Surachai Sutthitham. Read More

Please follow and like us:
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรค้านยกเลิกใช้แร่ใยหิน

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรค้านยกเลิกใช้แร่ใยหิน

สมาคมผู้เลี้ยงสุกร ห่วงการเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ หวั่นกระทบคนจนและเกษตรกร ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาล ในขณะที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยืนยันไม่พบปัญหาสุขภาพและการเสียชีวิตจากแร่ใยหินไครโซไทล์ในไทย
Read More

Please follow and like us: