เหตุใดผลิตภัณฑ์จาก “แร่ใยหินไครโซไทล์” จึงใช้ได้อย่างปลอดภัย

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า แร่ใยหินเป็นชื่อสามัญสำหรับแร่ซิลิเกต มีชนิดที่แตกต่างกันถึง 6 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ เซอร์เพนทีน (ไครโซไทล์) และ แอมฟิโบล (คลอซิโดไลท์, อะโมไซท์, แอนโธฟิลไลท์, ทรีโมไลท์, และ แอคทิโนไลท์)

แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์มีเส้นใยที่ละเอียดอ่อน ยืดหยุ่น และแข็งแรงมาก สามารถพบได้ตามธรรมชาติเพราะเป็นชั้นหินที่อยู่บนพื้นผิวโลกของเรา สามารถละลายได้ในกรดไฮโดรคลอริก ทำให้ปลอดภัยในการนำมาใช้งานมากกว่า

แตกต่างจากแร่ใยหินแอมฟิโบลเป็นกลุ่มของไฮโดรซิลิเกตที่มีความซับซ้อนของแมกนีเซียม เหล็ก และแคลเซียม มีโครงสร้างของผลึกจับกันเป็นสายโซ่คู่ เป็นแท่งปริซึม เหมือนเข็ม ไม่มีความยืดหยุ่น ทนต่อการกัดกร่อนของกรด เมื่อมีการแตกตัวจะกลายเป็นเศษแหลม ๆ ก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันจึงได้มีการห้ามให้ใช้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ที่ตอนนี้จะใช้อยู่เพียงแค่ชนิดไครโซไทล์ที่สามรถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ และออกคำแนะนำให้ควบคุมความเข้มข้นของไครโซไทล์ที่ไม่เกิน 1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม.

บางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและไทย มีกฎหมายควบคุมความเข้มข้นของปริมาณใยหินอยู่ที่ไม่เกิน 0.1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ในสถานที่ที่คนงานต้องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง

ซึ่งจากการทดสอบการทำงานของคนงานก่อสร้างที่ต้องมีการสัมผัสกับแร่ไครโซไทล์พบว่า ปริมาณมากที่สุดที่พบมีแค่ 0.06 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ซึ่งต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และนับได้ว่าเป็นการทำงานอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์แห่งรัสเซีย สาขาทรัพยากรแร่ ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า แร่ใยหินไครโซไทล์มีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถละลายได้ในกรด จึงสามารถละลายได้ง่ายเมื่อเข้าไปในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ นอกจากนี้เส้นใยจะถูกขับออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และด้วยลักษณะเส้นใยที่เรียบ อ่อนนุ่ม และยืดหยุ่นของแร่ใยหินไครโซไทล์ ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อภาวะที่จะทำให้ปอดได้รับการบาดเจ็บ

จากทั้งผลการวิจัยของรัสเซียที่สรุปได้ว่าเส้นใยของแร่ไครโซไทล์สามารถละลายได้ในกรด ต่อให้เล็ดรอดเข้าสู่ร่างกายก็สามารรถละลายเองได้อย่างไม่เป็นอันตราย ขณะที่ในกระบวนยการติดตั้งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดฝุ่นที่เกิดกว่ามาตรฐาน และไม่มีฝุ่นเล็ดลอดออกมาจากผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาใช้งาน จึงทำให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ติดตามอ่านความรู้เรื่องแร่ไครโซไทล์ ได้ที่ https://www.facebook.com/ChrysotileThailand

Please follow and like us:

กระเบื้องโอฬารแข็งแรงกว่าถึง 3 เท่า หลังคาธรรมดาจะอุ้มน้ำเวลาฝนตกไม่แข็งแรง

กระเบื้องโอฬารแข็งแรงกว่าถึง 3 เท่า หลังคาธรรมดาจะอุ้มน้ำเวลาฝนตกไม่แข็งแรง

Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ปลอดภัยไว้ก่อน

สมชัย บวรกิตติ

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

ในบทความ “มุมมองบ้านสามย่าน” ของคุณปกรณ์ เลิศสเถียรชัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๑๐ มกราคม พ.. ๒๕๕๖ หน้า ๑๑ มีข้อคิดข้อแนะนำที่ดี น่าสนใจ ผมจึงขอเขียนมาร่วมวงด้วย เพราะผมอาจถูกพาดพิง แม้ไม่ตรงเผงก็เฉียดมาก Read More

Please follow and like us:
แร่ใยหิน ใยหินแอมฟิโบล

ใยหินแอมฟิโบล

ส่วนผสมของแร่/สารเคมีใยหินกลุ่มแอมฟิโบลจะซับซ้อนกว่าของใยหินเซอร์เพนไทน์ สำหรับสูตรส่วนผสมของใยหินในกลุ่มนี้ทั้ง 5 ชนิด ดังแสดงในตารางข้างใต้ ในกลุ่มนี้โครงสร้างของเส้นใยจะเหมือนกัน แต่ส่วนผสมทางเคมีจะไม่เหมือนกันเนื่องจากแร่ซิลิเกตจะสามารถเกิดการรวมตัว/ผสมกันของอนุภาคได้หลายแบบ (ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลัก) แล้วแต่แนวของซิลิเกตซึ่งเส้นใยเกิดขึ้น (Speil & Leineweber, 1969) Read More

Please follow and like us:
CIC Radio

CIC Radio แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิต เพราะ…..แร่ใยหิน!!

CIC Radio แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิต เพราะ…..แร่ใยหิน!!

ข้อเท็จจริงแร่ไครโซไทล์ (chrysotile) สามารถเข้ามาหาข้อมูลเพิ่มเติ่มได้ที่ Read More

Please follow and like us:
แร่ไครโซไทล์

ดร.เดวิด เบอร์นสตีน และ ศ.ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ เปิดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดเกี่ยวกับแร่ไครโซไทล์

ดร.เดวิด เบอร์นสตีน และ ศ.ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ เปิดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดเกี่ยวกับแร่ไครโซไทล์

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2554 สถาบันไครโซไทล์และศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ‘ทัศนะทางวิทยาศาสตร์เรื่องแร่ไครโซไทล์: หลักฐานล่าสุด และกรณีศึกษาระเบียบการควบคุมที่ดีในต่างประเทศ’ Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ข้อมูลสถิติ VS การรับรู้

แนวคิดค่าเริ่มต้น…
งานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์มักอ้างอิงถึงระดับการสัมผัสที่ต่ากว่าระดับที่ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ นักรณรงค์การห้ามใช้แร่ใยหินบางคนปฏิเสธที่รับรู้ข้อเท็จจริงนี้ และไม่ยอมรับความจริงเรื่องระดับความเข้มข้นและชนิดของแร่ใยหิน แต่สรุปความเห็นเอาเองว่าความเสี่ยงนั้นเท่าๆกัน ซึ่งขัดแย้งกับความคิดเห็นที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
ตามที่ระบุในงานศึกษาวิจัยด้านโรคระบาดวิทยา รวมทั้งงานวิจัยที่ได้ระบุไว้ข้างต้นนี้ คนงานที่สัมผัสกับไครโซไทล์ที่ประมาณ 1 เส้นใย/ลบ.ซม. นั้นไม่มีความเสี่ยง ถ้าปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ ไครโซไทล์นั้นไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

ประเทศไทย

ประเทศไทยได้นำเข้าใยหินจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลานานกว่า 70 ปี โดยส่วนใหญ่จะเป็นชนิดเส้นใย ไครโซไทล์ ส่วนใยหินโครซิโดไลท์ทางการได้สั่งห้ามนำเข้า ตามพ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (1992) ปัจจุบันจึงมีเพียงเส้นใย ไครโซไทล์ Read More

Please follow and like us:

โรคที่เกิดจากใยหิน: ข้อเท็จจริง

กลุ่มผู้ที่ต่อต้านการใช้ใยหินได้แถลงว่าใยหินเป็นวัตถุสำคัญที่สุดที่ทำ ให้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตถึง 100,000 คน แต่ละปี

ตัว เลข 100,000 เป็นตัวเลขที่เกินความเป็นจริงอย่างมาก ซึ่งน่าจะมากจากการนำเอาข้อมูลเพียงบางส่วนจากประเทศในยุโรปมาคาดการณ์เป็น ตัวเลขรวมทั้งโลกโดยไม่ได้พิจารณาข้อมูลประเภทของเส้นใย โครงสร้างปริมาณบริโภคโดยอุตสาหกรรมและเหตุการณ์ควบคุมการใช้ใยหินชนิด ต่างๆอย่างผิดพลาดในอดีต การคาดการณ์หรือทำนายตัวเลขด้วยวิธีง่ายๆลำพังเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง ทำให้ได้ตัวเลขที่เกินความเป็นจริง
ตัว เลข 100,000 คนดังกล่าวนำมาจากรายงานชื่อ “The global burden of disease due to occupational carcinogens” ของ Driscollt และคณะ (2005) และรายงาน“Preliminary estimate calculated from table 21.16, p.1682-1683” ของ Concha-Barrien tos และคณะ (2004) ซึ่งความจริงแล้วผู้เขียนรายงานทั้ง 2 ท่านยอมรับว่าใยหิน2 กลุ่ม ไครโซไทล์และแอมฟิโบลมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันใน หน้า 1687  Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

สาเหตุความกังวลของประชาชน

นับแต่ทศวรรษ1940 และอีก2-3 ทศวรรษต่อมามนุษย์เราได้นำเอาใยหินทุกชนิดมาใช้อย่างมากมายมหาศาลโดยไม่ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพส่งผลให้มีจำนวนคนงานนับล้านที่ได้รับฝุ่นใยหินปริมาณเกินมาตรฐานปลอดภัยเข้าไปในร่างกายปัจจุบันในประเทศยุโรปจึงมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื่องจากใยหินจำนวนมาก Read More

Please follow and like us: