ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกเรียกร้องให้เลิกใช้ใยหิน ดังนั้นจึงไม่ควรขัดขืน รวมทั้งบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิก็เรียกร้องให้เลิกใช้ด้วยเช่นกัน
บุคคลกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์อันสั้น วัตถุประสงค์ย่อมสั้นตาม เหตุผลที่ยกมาอ้างก็สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของตน จะอ้างว่าตนเป็นตัวแทนของบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิและองค์กร/สถาบันระดับสากลไม่ได้ เหตุใด Read More
ป้ายกำกับ: สำนักงานวิจัยโรคมะเร็ง
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรค้านยกเลิกใช้แร่ใยหิน
สมาคมผู้เลี้ยงสุกร ห่วงการเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ หวั่นกระทบคนจนและเกษตรกร ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาล ในขณะที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยืนยันไม่พบปัญหาสุขภาพและการเสียชีวิตจากแร่ใยหินไครโซไทล์ในไทย
Read More
โรคที่เกิดจากใยหิน: ข้อเท็จจริง
กลุ่มผู้ที่ต่อต้านการใช้ใยหินได้แถลงว่าใยหินเป็นวัตถุสำคัญที่สุดที่ทำ ให้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตถึง 100,000 คน แต่ละปี
ตัว เลข 100,000 เป็นตัวเลขที่เกินความเป็นจริงอย่างมาก ซึ่งน่าจะมากจากการนำเอาข้อมูลเพียงบางส่วนจากประเทศในยุโรปมาคาดการณ์เป็น ตัวเลขรวมทั้งโลกโดยไม่ได้พิจารณาข้อมูลประเภทของเส้นใย โครงสร้างปริมาณบริโภคโดยอุตสาหกรรมและเหตุการณ์ควบคุมการใช้ใยหินชนิด ต่างๆอย่างผิดพลาดในอดีต การคาดการณ์หรือทำนายตัวเลขด้วยวิธีง่ายๆลำพังเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง ทำให้ได้ตัวเลขที่เกินความเป็นจริง
ตัว เลข 100,000 คนดังกล่าวนำมาจากรายงานชื่อ “The global burden of disease due to occupational carcinogens” ของ Driscollt และคณะ (2005) และรายงาน“Preliminary estimate calculated from table 21.16, p.1682-1683” ของ Concha-Barrien tos และคณะ (2004) ซึ่งความจริงแล้วผู้เขียนรายงานทั้ง 2 ท่านยอมรับว่าใยหิน2 กลุ่ม ไครโซไทล์และแอมฟิโบลมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันใน หน้า 1687 Read More
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไครโซไทล์
ซีเมนต์จากเส้นใยไครโซไทล์ส่วนผสมของเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นซีเมนต์มีส่วนผสมของใยหินอยู่เพียง10-15% โดยน้ำหนักเพื่อเสริมคุณสมบัติและฝังอยู่ในเนื้อซีเมนต์ไม่หลุดรอดออกมาภายนอก
จากการศึกษาโรงงานที่ในกระบวนกรรมวิธีผลิตใช้เส้นใยไครโซไทล์เพียงอย่างเดียวพบว่ามีปริมาณฝุ่นเส้นใยในบรรยากาศต่ำ1-2 เส้นใย/ลบ.ซม. คนงานที่สูบและไม่สูบบุหรี่ทั้ง2 กลุ่มไม่เป็นโรคมะเร็งปอดอนึ่งบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิได้มีมติเห็นพ้องต้องกันว่าถ้ามีปริมาณฝุ่นในบรรยากาศเพียง0.5-1.0 เส้นใย/ลบ.ซม. คนงานจะไม่มีโอกาสเป็นโรคปอดอันเนื่องมาจากแร่ใยหิน(asbestosis) Read More
จดหมายชี้แจ้งไปยังหนังสือพิมพ์บางกอกโพส เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555
เมื่อไม่นานมานี้ มีการร้องเรียนเกี่ยวมาตรการแร่ใยหินจากหลายหน่วยงานทั่วโลก เนื่องจากมีการนำเสนอมาตรการนี้ด้วยข้อมูลที่มีความคลานเคลื่อน ขาดหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอและมีการบิดเบือนโดยการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้นอกบริบท