เหตุใดผลิตภัณฑ์จาก “แร่ใยหินไครโซไทล์” จึงใช้ได้อย่างปลอดภัย

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า แร่ใยหินเป็นชื่อสามัญสำหรับแร่ซิลิเกต มีชนิดที่แตกต่างกันถึง 6 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ เซอร์เพนทีน (ไครโซไทล์) และ แอมฟิโบล (คลอซิโดไลท์, อะโมไซท์, แอนโธฟิลไลท์, ทรีโมไลท์, และ แอคทิโนไลท์)

แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์มีเส้นใยที่ละเอียดอ่อน ยืดหยุ่น และแข็งแรงมาก สามารถพบได้ตามธรรมชาติเพราะเป็นชั้นหินที่อยู่บนพื้นผิวโลกของเรา สามารถละลายได้ในกรดไฮโดรคลอริก ทำให้ปลอดภัยในการนำมาใช้งานมากกว่า

แตกต่างจากแร่ใยหินแอมฟิโบลเป็นกลุ่มของไฮโดรซิลิเกตที่มีความซับซ้อนของแมกนีเซียม เหล็ก และแคลเซียม มีโครงสร้างของผลึกจับกันเป็นสายโซ่คู่ เป็นแท่งปริซึม เหมือนเข็ม ไม่มีความยืดหยุ่น ทนต่อการกัดกร่อนของกรด เมื่อมีการแตกตัวจะกลายเป็นเศษแหลม ๆ ก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันจึงได้มีการห้ามให้ใช้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ที่ตอนนี้จะใช้อยู่เพียงแค่ชนิดไครโซไทล์ที่สามรถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ และออกคำแนะนำให้ควบคุมความเข้มข้นของไครโซไทล์ที่ไม่เกิน 1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม.

บางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและไทย มีกฎหมายควบคุมความเข้มข้นของปริมาณใยหินอยู่ที่ไม่เกิน 0.1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ในสถานที่ที่คนงานต้องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง

ซึ่งจากการทดสอบการทำงานของคนงานก่อสร้างที่ต้องมีการสัมผัสกับแร่ไครโซไทล์พบว่า ปริมาณมากที่สุดที่พบมีแค่ 0.06 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ซึ่งต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และนับได้ว่าเป็นการทำงานอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์แห่งรัสเซีย สาขาทรัพยากรแร่ ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า แร่ใยหินไครโซไทล์มีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถละลายได้ในกรด จึงสามารถละลายได้ง่ายเมื่อเข้าไปในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ นอกจากนี้เส้นใยจะถูกขับออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และด้วยลักษณะเส้นใยที่เรียบ อ่อนนุ่ม และยืดหยุ่นของแร่ใยหินไครโซไทล์ ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อภาวะที่จะทำให้ปอดได้รับการบาดเจ็บ

จากทั้งผลการวิจัยของรัสเซียที่สรุปได้ว่าเส้นใยของแร่ไครโซไทล์สามารถละลายได้ในกรด ต่อให้เล็ดรอดเข้าสู่ร่างกายก็สามารรถละลายเองได้อย่างไม่เป็นอันตราย ขณะที่ในกระบวนยการติดตั้งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดฝุ่นที่เกิดกว่ามาตรฐาน และไม่มีฝุ่นเล็ดลอดออกมาจากผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาใช้งาน จึงทำให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ติดตามอ่านความรู้เรื่องแร่ไครโซไทล์ ได้ที่ https://www.facebook.com/ChrysotileThailand

Please follow and like us:

กว่า 180 ประเทศยังใช้งานเส้นใยธรรมชาติไครโซไทล์อยู่

ทราบหรือไม่: มีประเทศที่ยังใช้งานเส้นใยธรรมชาติไครโซไทล์อยู่ กว่า 180 ประเทศ และมีเพียง 67 ประเทศ ที่ยกเลิกอย่างมีเงื่อนไข 

แผนที่โลกระบุประเทศที่ยังมีการใช้งานแร่ไครโซไทล์อยู่

ประเทศไทยมีการใช้งานแร่ไครโซไทล์มานานกว่า 80 ปีแล้ว ในผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันเช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแผ่นเรียบ ท่อซีเมนต์ และผ้าเบรก

Please follow and like us:

ไขข้อกังวลแร่ไครโซไทล์ มหันตภัยร้ายจริงหรือ?

ไขข้อกังวลใจเกี่ยวกับปริมาณฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการติดตั้ง รื้อถอน กระเบื้องมุงหลังคาที่มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์ รวมถึงกรณีที่กระเบื้องแตกหัก หรือมีการทุบทำลาย

แร่ไครโซไทล์เป็นอันตรายจริงหรือไม่? สามารถหาคำตอบได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้

Please follow and like us:

ใยหินกับศาลสหรัฐ

ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้อง

ของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA)

ในการห้ามการใช้แร่ใยหิน

TSCA

นับเป็นความพยายามอย่างไร้เหตุผล

ในการผลักดันแร่ใยหินทุกชนิด ให้อยู่ในกฏหมายการควบคุมสารเคมี (TSCA)

สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) มีความพยายามที่จะกำหนด ให้แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารเคมีต้องห้ามมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

“แร่ใยหิน” เคยเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนสูงและยังเป็นส่วนผสมหลักที่สำคัญของวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ กระเบื้องหลังคา กำแพง ฉนวนความร้อน แผ่นกระเบื้อง รวมถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงยานอวกาศ

อย่างไรก็ตาม แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลถูกนำมาใช้น้อยลง เนื่องจากมีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพ เมื่อสูดลมหายใจเอาแร่ใยหินเข้าไป อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ โรคมะเร็งปอด โรคปอดจากแร่ใยหิน และ มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (ทั้งนี้ แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบล มีลักษณะเป็นเส้นยาวและบาง สามารถฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้)

3518ในปี ค.ศ.1991 สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(EPA) จึงเสนอให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินทั้งหมด ทั้งๆ ที่ในสหรัฐอเมริกา มีความนิยมในการใช้แร่ใยหินกลุ่มไครโซไทล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่สั้นกว่าและหนากว่า มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเข้าไปฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้น้อยกว่า

โดยศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้พิเคราะห์ถึงคำร้องของ สำนักงานป้องกัน สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาและได้ให้คำตอบไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า “เราสามารถทำเช่นนั้นได้และเราก็ทำอยู่” ในการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัยจึง ปฏิเสธคำร้องที่ให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินของ EPA

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผ้าเบรกในรถยนต์ โดยศาลได้ชี้แจงว่าข้อเสนอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ที่ห้ามไม่ให้ใช้แร่ใยหินในการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ นั้นอาจก่อให้เกิดอันตราย ทำให้อัตราการเบรกล้มเหลวเพิ่มสูงขึ้นและทำให้มีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนจำนวนมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น แร่ใยหินในกลุ่มไครโซไทล์ที่สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ต้องการจะให้เป็นสารเคมีต้องห้ามนั้น เป็นส่วนผสมสำคัญที่อยู่ในผ้าเบรกฃซึ่งผู้ใช้ไม่ได้ รับการสัมผัสแต่อย่างใด

บทความของสภาวิทยาศาสตร์และสุขภาพสหรัฐอเมริกา (ACSH) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ความเสี่ยงของช่างยนต์และคนงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตที่ใช้ใยหินเป็นส่วนประกอบได้มีการวางระบบการจัดการอย่างดี จึงมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมาก

 

ผ้าเบรกในรถยนต์มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์เพื่อช่วยให้ระบบเบรกทำงานได้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ศาลได้ระงับยับยั้งคำขอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ไว้เนื่องจากผู้แทนของสำนักงานฯ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารเคมี (TSCA) ที่ระบุว่า ผู้แทนจะต้องเลือกกำหนดกฎเกณฑ์ที่สร้าง “ความยุ่งยากน้อยที่สุด” เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย โดยศาลอธิบายว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับแร่ใยหินที่เสนอขึ้นมานั้นยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว

 

แหล่งอ้างอิง : http://nochrysotileban.com/archives/349#more-349

**********************************************

Please follow and like us:

ข้อบังคับของคณะกรรมการ (อียู) 2016/1005

 

 

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 ทางคณะกรรมการยุโรป (อียู) ได้ประกาศให้ประเทศสมาชิกสามารถอนุญาติให้ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ได้ในโรงงานผลิตสารเคมีที่ใช้วิธีการสกัดด้วยไฟฟ้า (electrolysis) ซึ่งมีการใช้ไดอาแฟรมที่มีส่วนประกอบของไครโซไทล์อยู่ สามารถอ้างอิงได้จากเอกสารแปลด้านล่าง และเอกสารฉบับภาษาอังกฤษตามรูป

 

ข้อบังคับของคณะกรรมการ (อียู) 2016/1005

ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2559
แก้ไขภาคผนวกที่ 17 ของข้อบังคับ (อีซี) เลขที่ 1907/2006 ของรัฐสภายุโรป
และคณะกรรมาธิการยุโรป เรื่องการจดทะเบียน การประเมิน การอนุญาต และการจำกัดสารเคมี (รีช) เกี่ยวกับเส้นใยแอสเบสตอส (ไครโซไทล์)
(เนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเทศในกลุ่มเขตเศรษฐกิจยุโรป (อีอีเอ))

 

เรียน คณะกรรมการแห่งสหภาพยุโรป

เรื่อง การพิจารณาสนธิสัญญาการปฏิบัติงานของสหภาพยุโรป

จากการพิจารณาข้อบังคับ (อีซี) เลขที่ 1907/2006 ของรัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียน การประเมิน การอนุญาต และการจำกัดสารเคมี (รีช) การจัดตั้งหน่วยงานจัดการเคมีภัณฑ์ของสหภาพยุโรป การแก้ไขคำสั่งเลขที่ 1999/45/อีซี และการยกเลิกข้อบังคับของคณะกรรมาธิการ (อีอีซี) เลขที่ 793/93 และข้อบังคับของคณะกรรมการ (อีซี) เลขที่ 1488/94 คำสั่งของคณะกรรมาธิการเลขที่ 76/769/อีอีซี คำสั่งของคณะกรรมการเลขที่ 91/155/อีอีซี, 93/67/อีซี, 93/105/อีอีซี 2000/21/อีซี ([1]) และเฉพาะมาตรา 68(1) นั้น Read More

Please follow and like us:

กฎหมายและข้อบังคับของสหภาพยุโรปยืนยันว่าสามารถใช้ไครโซไทล์อย่างปลอดภัยได้

กฎหมายและข้อบังคับของสหภาพยุโรปยืนยันว่าสามารถใช้ไครโซไทล์อย่างปลอดภัยได้

 

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 สหภาพยุโรปยึนยันว่าจะมีการใช้เส้นใยไครโซไทล์ในอุตสาหกรรมคลอรีนต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2568 เป็นอย่างน้อย

 

นับเป็นชัยชนะเหนือข้อมูลชวนเชื่อที่เผยแพร่ออกมาอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อเชิญชวนให้ต่อต้านแอสเบส-ตอสและการสร้างเรื่องของธุรกิจด้านการดำเนินคดีความที่ตั้งใจจะบิดเบือนข้อมูลว่าเส้นใยเพียงเส้นเดียวก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เมื่อยุโรปได้ออกมายืนยันอีกครั้งว่าสามารถใช้ไครโซไทล์ได้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบภายใต้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ได้รับการควบคุมดูแล การตัดสินใจครั้งนี้เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่าสถานะของสมาคมไครโซไทล์นานาชาติ (ไอซีเอ) ได้รับการปกป้องมาเป็นระยะเวลานานหลายปี Read More

Please follow and like us:

ปิดคดีการ์ล็อก แต่ทนายแร่ใยหินยังไม่พ้นข้อหาฉ้อโกง

บริษัทที่ตกเป็นเป้าของทนายความคดีแร่ใยหินอยู่บ่อยครั้งกำลังกุมบังเหียนในการยื่นฟ้องทนายความหลายคน โดยกล่าวอ้างว่าทนายความเหล่านี้เป็นผู้อยู่เบื้องหลังระบบที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในการตกลงและการพิจารณาคำวินัจฉัยในศาลสูงขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท จอห์น เครน จำกัด ยื่นฟ้องบริษัทแร่ใยหินอย่างน้อย 2 แห่ง พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีทุจริต (Racketeer Influenced and Corrupt Organizations Act) โดยมีมูลเหตุในการฟ้องจากหลักฐานที่บริษัท การ์ล็อก ซีลลิง เทคโนโลยี พบเมื่อ 3 ปีก่อน ระหว่างการพิจารณาคดีล้มละลายของบริษัท Read More

Please follow and like us: