เหตุใดผลิตภัณฑ์จาก “แร่ใยหินไครโซไทล์” จึงใช้ได้อย่างปลอดภัย

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า แร่ใยหินเป็นชื่อสามัญสำหรับแร่ซิลิเกต มีชนิดที่แตกต่างกันถึง 6 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ เซอร์เพนทีน (ไครโซไทล์) และ แอมฟิโบล (คลอซิโดไลท์, อะโมไซท์, แอนโธฟิลไลท์, ทรีโมไลท์, และ แอคทิโนไลท์)

แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์มีเส้นใยที่ละเอียดอ่อน ยืดหยุ่น และแข็งแรงมาก สามารถพบได้ตามธรรมชาติเพราะเป็นชั้นหินที่อยู่บนพื้นผิวโลกของเรา สามารถละลายได้ในกรดไฮโดรคลอริก ทำให้ปลอดภัยในการนำมาใช้งานมากกว่า

แตกต่างจากแร่ใยหินแอมฟิโบลเป็นกลุ่มของไฮโดรซิลิเกตที่มีความซับซ้อนของแมกนีเซียม เหล็ก และแคลเซียม มีโครงสร้างของผลึกจับกันเป็นสายโซ่คู่ เป็นแท่งปริซึม เหมือนเข็ม ไม่มีความยืดหยุ่น ทนต่อการกัดกร่อนของกรด เมื่อมีการแตกตัวจะกลายเป็นเศษแหลม ๆ ก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันจึงได้มีการห้ามให้ใช้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ที่ตอนนี้จะใช้อยู่เพียงแค่ชนิดไครโซไทล์ที่สามรถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ และออกคำแนะนำให้ควบคุมความเข้มข้นของไครโซไทล์ที่ไม่เกิน 1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม.

บางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและไทย มีกฎหมายควบคุมความเข้มข้นของปริมาณใยหินอยู่ที่ไม่เกิน 0.1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ในสถานที่ที่คนงานต้องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง

ซึ่งจากการทดสอบการทำงานของคนงานก่อสร้างที่ต้องมีการสัมผัสกับแร่ไครโซไทล์พบว่า ปริมาณมากที่สุดที่พบมีแค่ 0.06 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ซึ่งต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และนับได้ว่าเป็นการทำงานอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์แห่งรัสเซีย สาขาทรัพยากรแร่ ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า แร่ใยหินไครโซไทล์มีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถละลายได้ในกรด จึงสามารถละลายได้ง่ายเมื่อเข้าไปในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ นอกจากนี้เส้นใยจะถูกขับออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และด้วยลักษณะเส้นใยที่เรียบ อ่อนนุ่ม และยืดหยุ่นของแร่ใยหินไครโซไทล์ ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อภาวะที่จะทำให้ปอดได้รับการบาดเจ็บ

จากทั้งผลการวิจัยของรัสเซียที่สรุปได้ว่าเส้นใยของแร่ไครโซไทล์สามารถละลายได้ในกรด ต่อให้เล็ดรอดเข้าสู่ร่างกายก็สามารรถละลายเองได้อย่างไม่เป็นอันตราย ขณะที่ในกระบวนยการติดตั้งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดฝุ่นที่เกิดกว่ามาตรฐาน และไม่มีฝุ่นเล็ดลอดออกมาจากผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาใช้งาน จึงทำให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ติดตามอ่านความรู้เรื่องแร่ไครโซไทล์ ได้ที่ https://www.facebook.com/ChrysotileThailand

Please follow and like us:

กว่า 180 ประเทศยังใช้งานเส้นใยธรรมชาติไครโซไทล์อยู่

ทราบหรือไม่: มีประเทศที่ยังใช้งานเส้นใยธรรมชาติไครโซไทล์อยู่ กว่า 180 ประเทศ และมีเพียง 67 ประเทศ ที่ยกเลิกอย่างมีเงื่อนไข 

แผนที่โลกระบุประเทศที่ยังมีการใช้งานแร่ไครโซไทล์อยู่

ประเทศไทยมีการใช้งานแร่ไครโซไทล์มานานกว่า 80 ปีแล้ว ในผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันเช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแผ่นเรียบ ท่อซีเมนต์ และผ้าเบรก

Please follow and like us:

คนไทยไม่กลัว(แร่)ใยหิน

ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ เขียนจดหมายถึงบรรณาธิการวารสารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น ความว่า

ผมเคยเขียนบทความสั้นๆ เรื่อง “ใยหินไม่น่ากลัว” ลงพิมพ์ในธรรมศาสตร์เวชสารวารสาร(๑) เมื่อหลายปีมาแล้ว จากนั้นรู้สึกว่าบรรยากาศต่อต้านการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยแผ่วลง ประจวบกับจังหวะวิกฤติฝุ่น PM2.5 ในอากาศกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัด ทำให้นักวิชาการบางท่านสงสัยว่าฝุ่น PM2.5 อาจจะมีใยหินร่วมเป็นส่วนประกอบด้วยไหม  ท่านทั้งสอง(๒,๓)อ้างข้อมูลจากรายงานผลการตรวจพบเทห์ใยหินในปอดของคนไทยทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเหตุใยหินและไม่มีประวัติสัมผัสใยหินว่าพบเกิน ๑ ใน ๓ จากจำนวนคนที่ตรวจครั้งแรกโดยสมพงษ์ ศรีอำไพ พยาธิแพทย์ศิริราช เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว(๔) และการตรวจของพิมพิณ อินเจริญ พยาธิแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อสองสามปีที่แล้ว(๕)  ทั้งสองงานการศึกษานี้เกิดขึ้นจากการแนะนำของผู้เขียน จึงปรากฏชื่อผู้เขียนในทั้งสองรายงาน การให้ข้อคิดว่าใยหินในบรรยากาศเป็นผลจากการหลุดลอกของใยหินจากผลิตผลอุตสาหกรรมที่นำไปใช้เป็นเวลานานนั้น ขอเรียนว่าหากการหลุดล่วงของใยหินดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นวัฏจักรของสสารที่หวนกลับไปเป็นสินแร่ในดินตามเดิม

            ในบทความ “ใยหินไม่น่ากลัว” ของผู้เขียน ผู้เขียนอ้างเหตุผลจากข้อเท็จจริงว่า

  1. คนไทยเป็นโรคเหตุใยหินคนไทยน้อยมากๆ ทั้งที่การทำงานอาจสัมผัสใยหิน และพบว่าประชากรคนไทยทั่วไปสัมผัสฝุ่นใยหินในบรรยากาศแต่ไม่ปรากฏเป็นโรคเหตุใยหิน(๔,๕)
  2. อ้างข้อมูลในบทรายงานผลการศึกษาวิจัยอุบัติการโรคเหตุใยหินในคนงานที่มีโอกาสสัมผัสใยหินในสหรัฐฯของนายแพทย์ประธาน วาทีสาธกกิจ ขณะที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา  ที่ลงพิมพ์รายงานในวารสารทรวงอกสหรัฐฯ(๖) ได้พบผู้ป่วยโรคเหตุใยหินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีอุบัติการโรคในคนงานฝรั่งมากกว่าคนเอเซียและอัฟริกา ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ว่าคนไทยมีภูมิไวรับการเป็นโรคเหตุใยหินตฎ่มากหรือมีภูมิต้านทานการเป็นโรคเหตุใยหินสูงมาก
  3.  มีการศึกษาทางอณูเวชศาสตร์พบหน่วยพันธุกรรมไวรับ (susceptibility genes) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อเลื่อม(๗) ซึ่งถ้านำรูปแบบการศึกษามาศึกษาคนไทย น่าจะพบข้อมูลว่าคนไทยไม่มีหน่วยพันธุกรรมนี้
  4.  ผู้เขียนอ้างสาเหตุสำคัญที่ไม่พบผู้ที่ทำงานในสถานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้แร่ใยหินว่าเป็นเพราะโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้รับการควบคุมดูแลโดยฝ่านรัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณทั้งสองคุณหมอที่เป็นนักวิชาการที่นำข้อคิดเห็นไปลงพิมพ์ในวารสารวิชาการเพื่อรักการวิพากษ์เพื่อข้อเท็จจริง  ดีกว่าการเสนอเหตุผลฝ่ายเดียวในการประชุมลับที่ผู้รู้ไม่อาจเสนอข้อคิดเห็นที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ดี เมื่อมีข้อมูลเท็จจริงอย่างน้อย ๒ ข้อคือพบโรคเหตุใยหินน้อยมากๆในประเทศไทย ทั้งๆที่มีโอกาสสัมผัสใยหินจากการทำงาน   และจากฝุ่นใยหินในบรรยากาศทั่วไป ประกอบกับภูมิคุ้มกันทางเชื้อชาติและทางพันธุกรรม

Please follow and like us:
จดหมายเปิดผนึก แร่ใยหิน

จดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

จดหมายเปิดผนึกถึง

ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 

เรื่อง  โปรดพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์

เรียน  ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา Read More

Please follow and like us: