ป้ายกำกับ: แร่ใยหิน
คณะผู้แทนภาครัฐจากประเทศกัมพูชา เยี่ยมชมชุมชนบ้านแพ้ว กรณีศึกษา การใช้กระเบื้องมุงหลังคาใยหินอย่างปลอดภัย
หลังจากกรณี เพจเฟสบุ๊คที่ใช้ชื่อ Modgazine ได้กระทำการโพสต์ภาพลักษณะคล้ายรูปภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยเถ้าสีขาว
หลังจากกรณี เพจเฟสบุ๊คที่ใช้ชื่อ Modgazine ได้กระทำการโพสต์ภาพลักษณะคล้ายรูปภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยเถ้าสีขาว และมีการกล่าวพาดพิงว่าเกิดจากแร่ใยหิน โดยใช้ข้อความหรือเนื้อหาที่มีเจตนาสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้ที่พบเห็น รวมถึงการแชร์และการแสดงความเห็นอันมีเจตนาส่อไปในการที่ไม่ถูกต้องนั้น ทั้งนี้ได้มีบรรดานักวิชาการ ออกมาแสดงความคิดเห็นและยืนยันว่าการให้ข้อมูลในภาพไม่เป็นความจริง
ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า “ที่แชร์เตือนอันตรายกัน เรื่องอย่าไปเที่ยวภูเขาหิมะแร่ใยหิน (asbestos) ที่ชลบุรีนี่ … เท่าที่เช็คจากกระทู้ในพันทิป (http://m.pantip.com/topic/30385396? ) มันเป็นแค่เหมืองหินธรรมดาครับ ประมาณว่าขุดหินไปผสมกับคอนกรีต ไม่ใช่แร่ใยหิน” Read More
ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ แนะองค์กรระดับชาติ ออกมาตรการควบคุมการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัย
ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ แนะองค์กรระดับชาติ
ออกมาตรการควบคุมการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัย
ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ (ซีไอซี) เผยสารก่อมะเร็งที่ระบุโดยองค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ หรือ IARC สามารถพบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันของคนเรา ล่าสุดองค์การอนามัยโลก ยืนยันเตรียมขึ้นทะเบียนอาหารแปรรูปให้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งประเภทที่ 1 เทียบเท่า บุหรี่ แอลกอฮอล์ และ แร่ใยหิน ขณะที่การวิจารณ์ผลกระทบสารแต่ละชนิดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งที่ระบุความเป็นอันตรายเท่ากัน ทั้งนี้วอนหน่วยงานระดับชาติแสดงความเป็นกลาง หยุดให้ร้ายใยหิน พร้อมแนะทางออกการใช้หรือการบริโภคควรต้องทำอย่างถูกวิธี เหมาะสม และนำมาใช้อย่างปลอดภัย จึงจะไม่ก่อให้เกิดโทษ Read More
ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ยังได้เข้าพบกรมควบคุมมลพิษ
ศูนย์ข้อมูลฯ ยังได้เข้าพบ นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะทำงาน เพื่อนำเสนอข้อมูลและหารือถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ ในขณะที่สถานการณ์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมยังไม่มีความชัดเจน นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ยังได้เข้าพบกับหน่วยงานที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงานด้วยกัน อาทิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ
สำหรับการเดินสายเข้าพบองค์กรและหน่วยงานสำคัญ ศูนย์ข้อมูลฯ มีเป้าประสงค์ชัดเจน คือ ต้องการนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อให้บุคคลที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหินไครโซไทล์ได้รับทราบข้อมูลอย่างรอบด้าน และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอย่างโปร่งใสและเป็นกลางอย่างที่สุด โดยศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์จะยังคงทำหน้าที่เฝ้าระวังและนำเสนอข้อมูลให้ทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องต่อไป
ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ร่วมแสดงความยินดีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่
เมื่อเร็วๆ นี้ นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ประจำประเทศไทย เข้ามอบดอกไม้แสดงความยินดีกับ นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ พร้อมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์แร่ใยหินไครโซไทล์ให้กับรัฐมนตรีเพื่อไว้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอีกด้วย
ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ร่วมประชุมเตรียมงานระดับนานาชาติ “รอตเตอร์ดัม คอนเวนชั่น” ค้านนำแร่ใยหินไครโซไทล์เข้ากรอบสินค้าถูกควบคุม
เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ นำโดยนายเมธี อุทโยภาส ได้มีโอกาสเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม workshop ก่อนการประชุม Rotterdam Convention ครั้งที่ 7 เพื่อรับฟังทิศทางการกำหนดกรอบแร่ใยหินไครโซ-ไทล์ในเวทีระดับโลก พร้อมเสนอความคิดเห็น แร่ใยหินไครโซไทล์ไม่ใช่ประเภทสารเคมีอันตรายที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญา รอตเตอร์ดัม หากต้องควบคุมการใช้ ควรนำข้อเท็จจริงมาหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในขณะที่กรมควบคุมมลพิษย้ำ หลักฐานความเป็นอันตรายของแร่ใยหินไครโซไทล์ไม่ชัดเจนเพียงพอ ล่าสุด…ผลสรุปจากการประชุม Rotterdam Convention ครั้งที่ 7 ในที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบให้นำไครโซไทล์เข้าไปอยู่ในภาคผนวก 3 Rotterdam Convention เนื่องจากหลักฐานความเป็นอันตรายไม่เพียงพอ ประกอบกับผลสรุปจากการประชุมในทุกครั้งๆ ที่ผ่านมาไม่ได้รับฉันทามติ มีการคัดค้านจากประเทศภาคี อาทิ รัสเซีย คาซัคสถาน บราซิล อินเดีย และ ซิมบับเว เนื่องจากยังไม่มีสารทดแทนใดที่สามารถทดแทนในด้านคุณภาพและราคา และยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าสารที่นำมาทดแทนนั้นปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริง Read More
นายกสมาคมสุขศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งเอเชีย ยืนยัน กระเบื้องใยหินปลอดภัย 100 %
ศ.ดร.นายแพทย์ เทพนม เมืองแมน นายกสมาคมสุขศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งเอเชีย ลงนามในเอกสารรายงานการศึกษาเพื่อหามาตรการป้องกันการสัมผัสใยหินไครโซไทล์ในการรื้อถอนและติดตั้งกระเบื้องหลังคา ยืนยันชัดเจนแร่ใยหินในกระเบื้องมุงหลังคาปลอดภัย 100%